ในเดือนตุลาคม 2556 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 178,477 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 11,216 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 21.4) โดยการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษีสังกัดกระทรวงการคลังสูงกว่าเป้าหมาย 5,845 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.8 สาเหตุสำคัญมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสุรา และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ สะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังเข้มแข็ง โดยเฉพาะการบริโภคที่ยังขยายตัว ประกอบกับการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตสุราในเดือนกันยายน 2556 ที่ส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล นอกจากนี้ การจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานอื่นและการนำส่งรายได้รัฐวิสาหกิจสูงกว่าเป้า หมาย 1,482 และ 1,294 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.5 และ 3.7 ตามลำดับ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ในเดือนตุลาคม 2556 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 178,477 ล้านบาท สูงกว่าเป้าหมาย 11,216 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 21.4) โดยการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษีสังกัดกระทรวงการคลังสูงกว่าเป้าหมาย 5,845 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.8 สาเหตุสำคัญมาจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสุรา และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ สะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจในประเทศที่ยังเข้มแข็ง โดยเฉพาะการบริโภคที่ยังขยายตัว ประกอบกับการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตสุราในเดือนกันยายน 2556 ที่ส่งผลดีต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล นอกจากนี้ การจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานอื่นและการนำส่งรายได้รัฐวิสาหกิจสูงกว่าเป้าหมาย 1,482 และ 1,294 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.5 และ 3.7 ตามลำดับ
ทั้งนี้ นายสมชัยฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า “แม้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศขณะนี้จะส่งสัญญาณชะลอตัว แต่ภายใต้นโยบายการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจผ่านการลงทุนของภาครัฐที่จะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2557 จึงทำให้มั่นใจว่าในปีงบประมาณ 2557 นี้ รัฐบาลจะสามารถจัดเก็บรายได้ตามเป้าหมายที่ 2.275 ล้านล้านบาท”
ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือนตุลาคม 2556
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 178,477 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 11,216 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.7 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 21.4) โดยการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษีสังกัดกระทรวงการคลังสูงกว่าประมาณการ 5,845 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.8 ประกอบกับการจัดเก็บรายได้ของหน่วยงานอื่นและการนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจสูงกว่าเป้าหมาย 1,482 และ 1,294 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.5 และ 3.7 ตามลำดับ
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
1. กรมสรรพากร จัดเก็บรายได้รวม 112,448 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 7,357 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.0 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.3) โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ 1) ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,464 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.0 สะท้อนถึงการบริโภคภายในประเทศที่ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสาขาค้าส่งค้าปลีก 2) ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2,185 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.0 สะท้อนถึงรายได้ภาคครัวเรือน โดยเฉพาะฐานเงินเดือนและฐานเงินฝากที่ขยายตัวได้ดี 3) ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 1,182 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.2 และ 4) ภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 603 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.0 จากธุรกรรมในภาคธนาคารและอสังหาริมทรัพย์ที่ขยายตัวได้ดี
2. กรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้รวม 36,625 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 155 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.4 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.7) สาเหตุสำคัญมาจากภาษีสรรพสามิตรถยนต์จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2,606 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.2 ขณะที่ ภาษีน้ำมันจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 2,382 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.4 อย่างไรก็ดี ภาษีสุราและภาษีเบียร์จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 2,387 และ 1,590 ล้านบาท หรือร้อยละ 51.0 และ 26.7 เป็นผลจากการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตสุราเมื่อเดือนกันยายน 2556
3. กรมศุลกากร จัดเก็บรายได้รวม 9,543 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 1,357 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.4 (ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.1) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,310 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.2 เนื่องจากมีมูลค่าการนำเข้าที่น้อยกว่าประมาณการ (ซึ่งย่อมส่งผลดีต่อภาวะดุลการค้าของประเทศ)
4. รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้ 36,633 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,294 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 3.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 176.5) โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้/เงินปันผลสูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ การท่าเรือแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง
5. หน่วยงานอื่น จัดเก็บรายได้รวม 6,038 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,482 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.5 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.0) สาเหตุสำคัญมาจากการจัดเก็บรายได้สัมปทานปิโตรเลียมที่สูงกว่าประมาณการ นอกจากนี้ กรมธนารักษ์จัดเก็บรายได้สูงกว่าประมาณการ 133 ล้านบาท หรือร้อยละ 117.7 เนื่องจากการนำส่งค่าเช่าเหมาจ่ายของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ที่เหลื่อมมาจากปีงบประมาณที่แล้ว
ข่าวเด่น