ขณะนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า การชุมนุมทางการเมืองที่เกิดขึ้นมาในช่วงเกือบ 1 เดือนที่ผ่านมา และสถานการณ์ก็เริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น จนถึงขั้นมีการใช้ก๊าซน้ำตากับผู้ชุมนุม ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจากการรวบรวมผลกระทบขององค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว
ด้านการท่องเที่ยวแหงประเทศไทย (ททท.) นายศุกรีย์ สิทธิวาณิช รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด ททท. เปิดเผยว่า ยอดอัตราการจองบริการท่องเที่ยว(ฟอร์เวิร์ดบุ๊คกิ้ง) ในเดือนธันวาคม 2556 เติบโตในอัตราที่ลดลง เหลือเพียง 2.2% เท่านั้น จากเดิมที่แนวโน้มเติบโตเป็นตัวเลข 2 หลัก
โดย เอเชียเหนือ เติบโต 3.6% เอชียใต้เติบโต 9.6% นอกจากนี้ยังมีสัญญาณว่าจะลดลงต่อเนื่องอีกในเดือนมกราคม 2557 และหากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมือง ยังคงยืดเยื้อ จะยิ่งทำให้สัดส่วนนักท่องเที่ยวแบบการท่องเที่ยวด้วยตัวเอง (เอฟไอที) ลดลงด้วย
และขณะนี้มีอีก 2 ประเทศ ที่ประกาศเตือนนักท่องเที่ยวเพิ่มเติมในระดับ 2 คือ โรมาเนีย และนิวซีแลนด์ ทำให้ขณะนี้ มี 30 ประเทศที่ประกาศเตือนในระดับ 2 ที่ให้หลีกเลี่ยงพื้นที่การชุมนุม คือ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส สวีเดน ญี่ปุ่น ไต้หวัน แคนาดา ออสเตรีย บราซิล สิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ เยอรมนี ฮังการี อิตาลีฟินแลนด์ เบลเยี่ยม สเปน เดนมาร์ก จีนเกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ ฮ่องกง ลักเซมเบิร์ก อินเดีย เม็กซิโก สาธารณรัฐเช็ก ฟินแลนด์และอิตาลี
อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน ได้มีอีก 1 ประเทศ ที่ยกระดับการเตือนเป็นระดับที่ 3 คือ ให้ระมัดระวังตัวสูงได้แก่ รัสเซีย จากเดิมที่มี สโลวาเกีย กับ อิสราเอล
ขณะที่ นางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ สทท. ยอมรับว่า ภาคท่องเที่ยวเริ่มได้รับผลกระทบบางส่วนจากการออกประกาศเตือนการชุมนุมทางการเมืองของประเทศไทยแล้ว และหากมีการเปลี่ยนระดับการประกาศเตือนเป็นอันดับ 5 จะส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวในเดือนธันวาคมลดลง 8-10% หรือคิดเป็นจำนวนประมาณ 5 แสนคนและจะส่งผลให้รายได้ของภาคการท่องเที่ยวในเดือนธันวาคมลดลง 2.5 หมื่นล้านบาท
ส่วน นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) นายยุทธชัย สุนทรรัตน์เวช กล่าวว่า หลังสถานการณ์ชุนนุมเกิดเหตุปะทะกันและใช้แก๊สน้ำตายิงใส่ผู้ชุนนุม ได้ส่งผลกระทบต่อจิตใจของนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น โดยยอมรับว่า นักท่องเที่ยวต่างประเทศชะลอเดินทางมาไทยยาวไปจนถึงเดือนมกราคมแล้ว ทำให้ยอดการเดินทางลดลงประมาณ 20% เนื่องจากในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา นักท่องเที่ยวต่างประเทศชะลอการท่องเที่ยวในไทย โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเอง หรือ ตลาดเอฟไอที มีสัดส่วนถึง 65% ของตลาดท่องเที่ยวทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากจีน และญี่ปุ่นลดลง 30-40% หรือ ประมาณ 4 แสนคน ส่งผลให้สูญเสียรายได้กว่า 4 พันล้านบาท
ขณะที่ในส่วนของนักท่องเที่ยวไทย คาดว่าภายในเดือนธันวาคม คนไทยจะหยุดเดินทางท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑ ลลดลงประมาณ 50% จากปกติที่มีการเดินทางท่องเที่ยวในพื้นที่ดังกล่าวประมาณ 9 ล้านคน
ข่าวเด่น