ตรีมการลงทุนในปี 2557 ที่น่าสนใจอีกช่องทางหนึ่ง ที่อยากจะนำเสนอ เพื่อลดความผันผวนของตลาดหุ้นสำหรับนักลงทุนต้องการผลตอบแทนที่แน่นอน นอกจากการลงทุนในหุ้นที่มีอัตราการจ่ายปันผลสม่ำเสมอแล้ว ยังมี การลงทุนที่ใกล้เคียงกัน คือ "การลงทุนผ่านกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์" เนื่องจากมีการจ่ายปันผลสม่ำเสมอเช่นกัน ซึ่งเฉลี่ยอัตราจ่ายเงินปันผลตอบแทนประมาณ 6-8 % ต่อปี
สินทรัพย์ส่วนใหญ่จะเป็น อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า อพาร์ทเมนท์ คลังสินค้า เป็นต้น แต่ข้อจำกัดคือ ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ไม่อนุญาตให้ออกกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์แล้วตั้งแต่ปี 2557 เว้นแต่บางกองที่ได้ขออณุญาตไว้แล้วในปีนี้
จึงขอนำเสนอผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีลักษณะคล้ายๆ กัน คือ "กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน" ซึ่งปีนี้นักลงทุนได้เริ่มรู้จักแล้ว คือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานประเภทรถไฟฟ้า ซึ่งประเดิมไปแล้วกองแรกของปีนี้ คือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งมวลชนทางราง บีทีเอสโกรท (BTSGIF) ขนาดมูลค่ากองทุน 6.25 หมื่นล้านบาท เมื่อช่วงต้นปี เป็นการนำรายได้ในอนาคตในส่วนของสายสุขุมวิท (สถานีหมอชิตถึงสถานีอ่อนนุช) และสายสีลม (สถานีสนามกีฬาแห่งชาติถึงสถานีสะพานตากสิน) ครอบคลุมระยะทาง 23.5 ตารางกิโลเมตร จนสิ้นสัญญาณสัมปทาน (2572) และแนวโน้มยังจะมีออกมาอย่างต่อเนื่องอย่างแน่นอน ซึ่งถือว่ามีความสลับซับซ้อนกว่า จึงขอชวนนักลงทุนมารู้จักกับรายละเอียดกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน หรือ อินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์ กันมากยิ่งขึ้น
“อินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์” คือ การะดมทุนจากผู้ลงทุนทั่วไป ทั้งรายย่อยและรายใหญ่ เพื่อนำเงินที่ได้จากการะดมทุนไปพัฒนาโครงการลงทุนพื้นฐานขนาดใหญ่ องประเทศ และเพื่อประโยชน์สาธารณะของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นโครงการของรัฐ หรือ โครงการของเอกชน เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนนทางพิเศษ หรือสัปทาน ท่าอากาศยานหรือสนามบิน ท่าเรือน้ำลึก โทรคมนาคม รถไฟฟ้า รถใต้ดิน เป็นต้น ทำให้ช่วยแบ่งเบาภาระภาครัฐ จากเดิมที่โครงการขนาดใหญ่ที่เป็นรัฐวิสาหกิจจะต้องรอการจัดสรรจากงบประมาณประจำปี หรือการกู้จากต่างประเทศ ส่งผลให้ภาระหนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งนี้จากโครงการก่อสร้างโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐในปี 2551-2558 สูงถึง 1.36 ล้านล้านบาท
ซึ่งรูปแบบกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานจะมีรูปแบบที่คล้ายคลึงกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ แต่ความแตกต่างอยูที่ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์จะต้องเป็นสินทรัพย์ที่สร้างเสร็จแล้วและมีรายได้ที่แน่นอน หรือโครงการมีความคืบหน้าไปแล้วไม่น้อยกว่า 80 % ของมูลค่าโครงการ ขณะที่กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน สินทรัพย์มีความกว้างมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงโครงการที่ยังอยู่ในขั้น Greenfield projects หรือโครงการที่ยังไม่ได้เริ่มลงทุน อยู่ระหว่างก่อสร้าง หรือก่อสร้างเสร็จแล้วแต่ยังไม่เริ่มมีรายได้เชิงพาณิชย์
ส่วนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ จะถูกทดแทนด้วยกองทุนอสังหาริมทรัพย์รูปแบบใหม่ หรือที่เรียกว่า “กองทรัสต์เพื่อลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment : REIT)” หรือ “รีสท์” เริ่มตั้งแต่ปี 2557 นั้นจะมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ทั้งด้านสินทรัพย์และการระดมทุน กล่าวคือไม่ได้กำหนดประเภทสินทรัพย์ที่ลงทุนและยังสามารถลงทุนได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และยังสามารถลงทุนในโครงการที่อยู่ระหว่างพัฒนาได้ถึง 10 % ของสินทรัพย์รวม
นอกจากนี้ “รีทส์” ยังสามารถกู้ยืมเงินเพื่อนำไปลงทุนหรือซ่อมแซมทรัพย์สินได้ถึง 35% ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ หรือ 60 % ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ หากได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ระดับอินเวสต์เมนท์เกรด หรือ BBB- ทำให้มีความคล่องตัวกว่ากองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ดังนั้นแนวโน้มกองทุนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ จะเริ่มทยอยออกมาอีกล่าสุด คือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน โทรคมนาคม ทรูโกรท (TRUEGIF) อยู่ระหว่างขออนุมัติจาก สำนักงาน ก.ล.ต.เบื้องต้นขนาดกองทุนนี้ประมาณ 6-8 หมื่นล้านบาท โดยจะลงทุนในสินทรัพย์และรายได้ในอนาคต แบ่งเป็น กรรมสิทธิ์ในเสาโทรคมนาคม จํานวน 6,000 เสา กรรมสิทธิ์ในระบบใยแก้วนําแสงหลัก และอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณที่เกี่ยวข้อง ความยาว 5,112 กิโลเมตร และระบบบรอดแบนด์ในเขตพื้นที่ต่างจังหวัด จํานวน 1.2 ล้านพอร์ต และสิทธิในการรับประโยชน์จากรายได้สุทธิที่เกิดจากการให้เช่า (1) เสาโทรคมนาคม จํานวน 5,845 เสา และ (2) ระบบใยแก้วนําแสงและอุปกรณ์ระบบสื่อสัญญาณความยาว 47,250 กิโลเมตร รวมถึงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวจํานวนหนึ่ง ซึ่งกองทุนมีสิทธิในการซื้อหรือรับโอนตามเงื่อนไขและเวลาที่กําหนด
กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน ของ บมจ.จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล (JAS) ซึ่งความคืบหน้านั้นอยู่ระหว่างยื่นขออนุญาตต่อสำนักงาน ก.ล.ต.เช่นกัน โดยลักษณะกองทุนจะเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ธุรกิจบรอดแบรนด์อินเทอร์เน็ต ขนาดกองทุนเบื้องต้นประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาท
นอกจากนี้ ยังมี รีทส์ หรือ กองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIT ของ บมจ.บางกอกแลนด์(BLAND) ที่มีการนำ ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพค อารีน่า มาจัดตั้งกองทุนอีกด้วย ซึ่งมีขนาดกองทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท
เหล่านี้เป็นสินทรัพย์ที่นำมาจัดตั้งเป็นกองทุนที่แตกต่างจากรูปแบบกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อย่างมาก จึงขอย้ำอีกครั้งว่า!!!!! ระดับความยากของสินทรัพย์ ที่มาพร้อมกับโอกาสในการสร้างรายได้เข้ากองทุน ซึ่งจะสะท้อนออกมาในรูปเงินปันผลที่นักลงทุนจะได้รับ แต่ก็มาพร้อมๆกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น ฉะนั้นนักลงทุนควรจะต้องศึกษาอย่างแท้จริงว่า สินทรัพย์ที่จะลงทุนดังกล่าว เหมาะสมกับความเสี่ยงที่รับได้หรือไม่ด้วย
ข่าวเด่น