ไอที
ซอฟต์แวร์พาร์คหนุนใช้กลยุทธ์อิน-บาวด์ ปูทางไทยประตูสู่ตลาดโลก


 

 

ซอฟต์แวร์ พาร์ควิเคราะห์ตลาดซอฟต์แวร์เอเชีย ปูทิศทางสนับสนุนซอฟต์แวร์ไทยแยกตามความสามารถของแต่ละประเทศ เดินกลยุทธ์อิน-บาวด์ ดึงธุรกิจหรือคู่ค้าจากเอเชียเข้าเจรจาในไทย สร้างเครือข่ายซอฟต์แวร์ในภูมิภาค

 

 

 

นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย หรือ ซอฟต์แวร์พาร์ค เปิดเผยว่า หลังจากที่ซอฟต์แวร์พาร์คประกาศแนวทางการส่งเสริมให้ไทยเป็นประตูสู่โลกตลาด โลก หรือ Gateway to Global ก็เริ่มใช้ไทย เป็นฐานในการสร้างเครือข่ายซอฟต์แวร์ในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น โดยยึดทิศทางให้ทำตลาดแบบ in-bound หรือ นำคู่ค้าและลูกค้าทางด้านซอฟต์แวร์จากประเทศในเอเชียเข้ามาใช้ไทย เป็นฐานในการเจรจาต่อรอง ซึ่งในรอบปีนี้ซอฟต์แวร์พาร์คได้ดำเนินการลักษณะนี้กับพันธมิตร หลายราย และประสบความสำเร็จด้วยดี เพราะอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์จากต่างประเทศให้ความสนใจที่จะทำงานร่วม กับซอฟต์แวร์ไทยเป็นอย่างมาก

“รูปแบบการทำงานจับคู่ธุรกิจ หรือ Business Matching ทางด้านซอฟต์แวร์ไทยกับต่างประเทศเริ่ม แตก ต่างไปจากเดิม จากที่เน้นตัวเลขการซื้อขาย เปลี่ยนมาเป็นการวัดความพึงพอใจในการสร้างธุรกิจใหม่ เพราะการซื้อขายไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของธุรกิจนี้อีกต่อไป” นายเฉลิมพลกล่าว

จากการวิเคราะห์แนวทางการทำธุรกิจร่วมของ กลุ่มประเทศเอเชีย ซึ่งซอฟต์แวร์พาร์คจะใช้เป็นแนวทางในการประสานงานต่อจากนี้ โดยจะให้ความสำคัญกับกลุ่มในประเทศ AEC ก่อน ซึ่งประเทศที่ไทยควรให้ความสำคัญในอันดับหนึ่งทางด้าน การค้าซอฟต์แวร์คือ ประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากเป็นประเทศที่พร้อมจะเปิดรับซอฟต์แวร์จากประเทศไทย รวมถึงมีตลาดที่ใหญ่ และมีความต้องการซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับโทรคมนาคม และโมบายล์จำนวนมาก ซึ่งซอฟต์แวร์พาร์คจะวางยุทธศาสตร์ให้อินโดนีเซียเป็นทั้งลูกค้า และคู่ค้าไปพร้อมกัน

 

 

ส่วนในกลุ่มที่เหมาะจะเป็นกลุ่มคู่ค้า เพียงอย่างเดียว นั่นคือ มาเลเซียและสิงคโปร์ เนื่องจากสถานะของประเทศนี้อยู่ใกล้เคียงกับประเทศไทย แต่จะล้ำหน้าในเรื่องการตลาดในระดับโลกมากกว่าไทย ดังนั้นทั้งสองประเทศยังสนใจที่จะใช้ซอฟต์แวร์จากประเทศไทยไม่มากนัก แต่ขณะเดียวกันทางมาเลเซียเองยังมีความพร้อมเปิดตลาดซอฟต์แวร์ของ ไทยอยู่เป็นระยะ ดังนั้นการเจรจาติดต่อและการให้ความร่วมมือระหว่างกันจะเป็นไปในรูปแบบ Business Matching เพื่อการทำตลาดร่วมกัน หรือการเชื่อมต่อซอฟต์แวร์เข้าด้วย กัน ซึ่งขณะนี้ Networking ด้านนี้ดำเนินการไปแล้วอย่างมาก

ในกลุ่ม อิน โดจีน คือ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม นั้นจะมีความแตกต่างในเชิงยุทธศาสตร์กันอยู่ เริ่มจากพม่านั้นได้เริ่มทำการเปิดประเทศ ความแน่ชัดในยุทธศาสตร์ยังไม่เกิด แต่มีการสร้างแรงงานไอทีภายในประเทศเพื่อส่งออกไปทำงานในต่างประเทศเช่น สิงคโปร์ ซึ่งน่าจะสามารถช่วยลดปัญหาเรื่องแรงงานขาดแคลนในประเทศไทยได้ บ้าง แต่ต้องไปควบคู่กับกฎเกณฑ์คนเข้าเมืองของประเทศไทยที่ปัจจุบันเป็นอุปสรรค ต่อบริษัทไทยและชาวต่างชาติที่จะมาทำงานในประเทศไทย ดังนั้นซอฟต์แวร์พาร์คจึงวางกลยุทธ์ด้วยการเร่งสร้างเครือข่าย หรือ Networking เพื่อปูทางสู่แนวรุก ขณะเดียวกันก็มองพม่าเป็นตลาดเปิดใหม่ที่มีแนวโน้มในการใช้ซอฟต์แวร์ของคน ไทยในอนาคตได้ด้วย

ด้านลาวกับกัมพูชานั้น ในช่วงนี้ความโดดเด่นเรื่องซอฟต์แวร์และไอทียังไม่มากดังนั้นต้อง มองสองประเทศนี้เป็นผู้ใช้งาน โดยที่การแปลภาษาของซอฟต์แวร์จากไทยไปสองประเทศนี้มีความจำเป็น น้อยเนื่องจากคนส่วนมากจะสามารถอ่านภาษาไทยได้บางอุตสาหกรรมทำให้ การเข้าตลาดนั้นง่ายและต้นทุนที่ไม่สูงมากนัก อย่างไรก็ตามความคาดหวังในแง่กำลังซื้อจะมีไม่มากนักเมื่อเทียบ กับหลายๆประเทศในภูมิภาคนี้

สำหรับเวียดนามนั้น ทางซอฟต์แวร์พาร์คไทยมีการติดต่อกับเครือข่ายนี้มาอย่างยาวนาน การรุกตลาดซอฟต์แวร์ไปยังเวียดนามต้องเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกคู่ค้าทางธุรกิจ ขณะที่เวียดนามแสดงเจตนารมย์อย่างชัดเจนในการเป็น Resource Outsource หรือการใช้คนและสาธารณูปโภคของเขาใน การรับงานด้านซอฟต์แวร์ไปดำเนินการ ดังนั้นทิศทางของไทยกับเวียดนามจะมีการผสานกันในเรื่องนี้มากขึ้น เพราะไทยเองก็อยู่ในสภาวะขาดแคลนกำลังคนพอดี

ในขณะเดียวกันซอฟต์แวร์พาร์คได้เล็งถึงความสามารถและความต้องการขององค์กรที่พัฒนา ผู้ประกอบการในประเทศ เกาหลี และ ไต้หวัน ในการร่วมมือช่วยเหลือผู้ประกอบการของแต่ละประเทศในการพัฒนานวัตกรรมร่วมกัน เพื่อขยายตลาดทั้งในและนอก AEC จึงได้มีการเซ็นต์ MOU ในเดือนที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดการบูรณาการด้านความร่วมมือต่อจาก MOU ที่ซอฟต์แวร์พาร์คได้เซ็นต์กับ กลุ่มศูนย์บ่มเพาะในทุกประเทศใน ASEAN เมื่อ กลางปีที่ผ่านมานี้

ดังนั้นความพร้อมในตลาด AEC ที่ซอฟต์แวร์พาร์คได้วางยุทธศาสตร์ไว้จะสอดคล้องกับจุดอ่อนจุด แข็งของประเทศไทย ขณะเดียวกันก็จะเชื่อมต่อประสานกับประเทศใน AEC บนพื้นฐานของความเป็นจริง ซึ่งจะทำให้แนวคิด Gateway to Global ของซอฟต์แวร์พาร์คมีความเป็นไปได้มากที่สุด

 


LastUpdate 16/12/2556 13:59:09 โดย : Admin
29-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 29, 2024, 9:51 am