เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยปี 57 เสี่ยงถดถอย


 

 

 

SCB EIC  ประเมินว่า  ปัจจัยทางการเมืองที่ยังไม่นิ่งจะส่งผลทำให้โอกาสที่เศรษฐกิจไทยในปี 2557 คาดว่าจะอยู่ที่ 2.4% แม้ส่งออกโต แต่ท่องเที่ยวและอุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มลดลง รายได้จากท่องเที่ยวโตไม่ถึง 10 %จากเดิม 25% ศูนย์วิจัยกสิกรฯ เชื่อโอกาสเข้าสู่ภาวะถดถอยมี หากส่งออกติดลบลากยาวถึงไตรมาส 2

 

 


 

 

สถานการณ์การเมืองที่ยืดเยื้อระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุม กปปส. กับรัฐบาล  ที่ยาวนานกว่า 4 เดือน  ทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่จะชะลอตัวมากขึ้น  รวมทั้งยังมีโอกาสที่เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโตได้ต่ำกว่า  3%  ก็มีน้ำหนักมากขึ้นเช่นกัน    ซึ่งถือเป็นอัตราการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในรอบหลายปีของเศรษฐกิจไทย  โดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB EIC  ประเมินว่า  ปัจจัยทางการเมืองที่ยังไม่นิ่งจะส่งผลทำให้โอกาสที่เศรษฐกิจไทยในปี 2557 จะขยายตัวมากกว่า 2.9% จากปีที่แล้วมีน้อย   โดยคาดว่าจะอยู่ที่ 2.4% ถึงแม้ว่าการส่งออกจะขยายตัวได้ แต่ภาคการท่องเที่ยวและอุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มลดลง โดยรายได้จากการท่องเที่ยวขยายตัวได้ไม่ถึง 10 %จากเดิม 25% 

 

 

 

 

จากเหตุดังกล่าวจะทำให้แรงงานในภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และค้าส่งและค้าปลีก ได้รับผลกระทบ  นายจ้างอาจต้องปรับลดเงินเดือน หรือแม้กระทั่งปรับลดคนงาน  ซึ่งจะส่งผลลบต่อการบริโภคของครัวเรือน

 

ขณะที่การบริโภคในปีนี้ SCB EIC ประเมินว่า  การบริโภคภาคเอกชนในปี 2557 จะขยายตัวได้ราว 0.8% เท่านั้น โดยการบริโภคในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอลงต่อเนื่องเป็นอุปสรรคต่อภาคธุรกิจที่พึ่งพาอุปสงค์ในประเทศเป็นหลัก เช่น การก่อสร้าง และอสังหาริมทรัพย์  ส่วนการลงทุนนั้น ธุรกิจส่วนใหญ่มีแนวโน้มชะลอการลงทุนไปจนกว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะมีความชัดเจนมากขึ้น โดยการลงทุนในปีนี้จะเติบโตได้ราว 2.2% ซึ่งค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตในอดีต

 

สำหรับภาวะเงินทุนไหลออกของในตลาดเกิดใหม่  โอกาสที่ไทยจะพบกับแรงกดดันเช่นเดียวกับกลุ่มประเทศเหล่านั้นน่าจะไม่สูงนัก เนื่องจากเรามีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งกว่าอย่างชัดเจน ทั้งการที่เงินเฟ้อของไทยอยู่ในระดับต่ำ และไทยเองไม่ได้ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเหมือนบางประเทศที่ประสบปัญหา โดยในปีนี้ SCB EIC ประเมินว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยจะอยู่ที่ราว 2.2% และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยจะยังคงอยู่ในระดับต่ำราว 1.3% จากอุปสงค์ในประเทศที่อ่อนแอ 

 

ส่วนดอกเบี้ยนโยบายโดยรวมนั้น SCB EIC  ประเมินว่ากนง. น่าจะลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ลงมา อยู่ที่ประมาณ 1.75 % เพื่อลดค่าใช้จ่ายทางการเงินของครัวเรือนและธุรกิจในภาวะที่รายได้มีแนวโน้มขยายตัวได้น้อย 

 

 

 

 ********************************** 

 

  

 

แนวโน้มเศรษฐกิจ
ที่มา: ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ SCB EIC 

 

Key Indicators    Unit    Actual    EIC forecast  

 

 

 

 

 


                                                                  2013    1Q14     2Q14     3Q14     4Q14     2014

 

 

 
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP%YOY )          2.90     0.10     0.40     3.70     5.40     2.40
เงินเฟ้อ -ทั่วไป      ( %YOY)                                   2.20     1.80     2.20     2.20     2.40     2.20
เงินเฟ้อ -  พื้นฐาน 
( %YOY)                                  1.00     1.00     1.30     1.40     1.40     1.30
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย
(ณ สิ้นสุดช่วงเวลา)%p.a.       2.25     2.00     1.75     1.75     1.75     1.75
เงินบาท
(ณ สิ้นสุดช่วงเวลา)HB/USD                        32.70  34.00    34.00  33.00   33.00   33.00

 *************************************

 

 

 

 

ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ  กล่าวว่า ธนาคารยังคงเป้าหมายการขยายตัวเศรษฐกิจหรือจีดีพีไว้ที่ 3%  เพื่อรอดูความชัดเจนทางการเมืองในอีก 1-2 เดือนข้างหน้านี้  เนื่องจากเศรษฐกิจไทยถือว่าอยู่ภายใต้ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่มีโอกาสยืดเยื้อต่อ  โดยหากภายในเดือน เม.ย.นี้ไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลอย่างเป็นทางการ เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะมีความเสี่ยงมากขึ้น และมีโอกาสที่จีดีพีจะเติบโตเพียงระดับ 2% ในปีนี้

 

 

 

 

ด้านนางพิมลวรรณ  มหัจฉริยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรฯ กล่าวว่า การเติบโตของเศรษฐกิจไทยปีนี้  นอกจากต้องติดตามสถานการณ์ทางการเมืองแล้ว ปัจจัยที่มีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ  อีกด้านคือ ส่งออก หากส่งออกไม่กลับมาขยายตัวเป็นบวกในไตรมาสแรกปีนี้ ก็มีความเสี่ยงที่เป้าหมายส่งออกจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ศูนย์วิจัยฯตั้งไว้ที่ 5% ซึ่งจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่จะโตในระดับต่ำมากขึ้น

 

ซึ่งจากการทำประเมินพบว่า จีดีพีไทยมีความเสี่ยงที่จะลงไปเหลือ 0.5% ได้ในปีนี้ หากการเมืองนำไปสู่ความเหตุการณ์รุนแรงภายในประเทศ ส่วนเศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะถดถอยหรือไม่นั้น  เชื่อว่ามีโอกาสเป็นไปได้ หากการส่งออกรูปดอลลาร์ติดลบในไตรมาสแรก และลากยาวไปถึงไตรมาส 2 ไม่มีปัจจัยหนุนอื่นๆ เพราะปัจจุบันการบริโภค การลงทุนของภาครัฐก็ติดลบ


LastUpdate 05/03/2557 14:31:04 โดย : Admin
25-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 25, 2024, 3:53 am