หุ้นทอง
WAVE ซื้อธุรกิจสถาบันสอนภาษา "วอลล์สตรีท อิงลิช" 800 ล้านบาท


 

WAVE  ซื้อธุรกิจสถาบันสอนภาษา  “วอลล์สตรีท อิงลิช” 800 ล้านบาท จากกองทุนเนวิส และ กบข. หวังต่อยอดธุรกิจหลังประมูลทีวีดิจิตอลได้

 

 

 

นายแมทธิว กิจโอธาน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร และประธานกรรมการ บริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)หรือ WAVE เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2557 คณะกรรมการมีมติอนุมัติให้บริษัทเข้าทํารายการซื้อหุ้นทั้งหมดของ บริษัท เอ็ฟฟ์ เชียนท์ อิงลิช เซอร์วิสเซส จํากัด จาก บริษัท ดับบลิวเอสไอ (ประเทศไทย) โฮลดิ้ง จํากัด บริษัท สยาม อินเตอร์เวส จํากัด และ กองทุนเปิดไทยทวีทุน 2 ซึ่งรวมเรียกว่า “ผู้ขาย” และอนุมัติให้บริษัทเข้าลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้นดังกล่าวกับผู้ขาย โดยภายหลังการได้หุ้นตามสัญญาดังกล่าวแล้ว บริษัทจะเป็นผู้ถือหุ้นใน EES ทั้งหมดจํานวน 1,656,600 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของจํานวนหุ้นที่ออกและจําหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ EES โดยมีมูลค่าการซื้อขายรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 800 ล้านบาท 
 
ทั้งนี้ หุ้นที่ขายของบริษัท เอ็ฟฟ์เชียนท์ อิงลิช เซอร์วิสเซส จํากัด (“EES”) ได้จากผู้ขายแต่ละรายดังนี้ (1) บริษัท ดับบลิวเอสไอ (ประเทศไทย) โฮลดิ้ง จํากัด ถือหุ้นสามัญจํานวน 472,500 หุ้น (2) บริษัท สยาม อินเตอร์เวส จํากัด ถือหุ้นบุริมสิทธิจํานวน 770,000 หุ้น และ (3) กองทุนเปิดไทยทวีทุน 2 ถือหุ้นสามัญจํานวน 157,500 หุ้น และ หุ้นบุริมสิทธิ จํานวน 256,600 หุ้น รวมทั้งสิ้นเป็นหุ้นสามัญจํานวน 630,000 หุ้น และหุ้นบุริมสิทธิจํานวน 1,026,600 หุ้น รวมคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของจํานวนหุ้นทั้งหมด โดยที่มูลค่าการซื้อขายรวมไม่เกิน 800 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าไม่เกินหุ้นละ 428.92 บาท โดยที่มีการเปิดเผยผู้ถือหุ้นที่แท้จริง คือ 1.กองทุน Navis (“กองทุนเนวิส”) คือผู้ถือหุ้นที่แท้จริงในบริษัท ดับบลิวเอสไอ (ประเทศไทย) โฮลดิ้ง จํากัด และ กองทุนไทยทวีทุน 2 ผู้ถือหุ้นที่แท้จริง คือ กองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (“กบข”) 
 
การเข้าทํารายการดังกล่าวข้างต้นจัดเป็นรายการที่เข้าเกณฑ์ของสํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เรื่อง การได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งทรัพย์สิน และประกาศของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่องการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ พ.ศ. 2547 (“ประกาศการได้มาหรือจําหน่ายไป”) โดยที่ขนาดรายการตามเกณฑ์กําไรสุทธิมีขนาดรายการเท่ากับร้อยละ 1,193.55 ซึ่งจัดเป็นรายการประเภทที่ 4 ตามประกาศการได้มาหรือจําหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ ซึ่งต้องแจ้งตลาดหลักทรัพย์และต้องขออนุมัติจากผู้ถือหุ้นของบริษัท โดยต้องได้รับคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจํานวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงโดยไม่นับส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีส่วนได้เสีย
 
อย่างไรก็ตาม การเข้าทํารายการดังกล่าวไม่เข้าข่ายต้องขออนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์ที่จะต้องยื่นคํำขอให้พิจารณารับหลักทรัพย์ใหม่ เนื่องจากการได้มาซึ่งสินทรัพย์ดังกล่าวเข้าหลักเกณฑ์ที่ได้รับข้อยกเว้นการยื่นคําขอให้รับหลักทรัพย์ใหม่ตามประกาศการได้มาหรือจําหน่ายไป 
 
ทั้งนี้ บริษัทประกอบธุรกิจด้านการผลิตและจําหน่ายรายการโทรทัศน์และธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับรายการโทรทัศน์ให้กับสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจโทรทัศน์กําลังมีการเปลี่ยนแปลงระบบการแพร่สัญญาณของโทรทัศน์ โดยเปลี่ยนจากระบบแพร่สัญญาณแบบอนาล็อกเป็นระบบการแพร่สัญญาณแบบดิจิตอล ซึ่งจะทําให้สัญญาณภาพและเสียงดีขึ้น มีความคมชัดและมีระบบเสียงที่สมจริงมากขึ้น ซึ่งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (“กสทช.”) ได้เปิดประมูลช่องโทรทัศน์ในระบบดิจิตอลเพื่อการพาณิชย์ 24 ช่อง ได้ประกาศรายชื่อผู้ประกอบการที่ผ่านการประมูลดังกล่าวแล้วเมื่อเดือนมกราคม 2557 ซึ่งสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ประมูลได้ 3 ช่อง 
 
 
 
 
 
จากผลการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวข้างต้น บริษัทซึ่งเป็นผู้ประกอบการผลิตรายการโทรทัศน์ให้กับสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 จึงได้กําหนดกลยุทธ์และแผนงานที่จะผลิตรายการโทรทัศน์ใหม่ๆ เพื่อป้อนให้กับโทรทัศน์ 3 ช่องที่สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ประมูลได้ ซึ่งหนึ่งในรายการใหม่ๆ ที่บริษัทวางแผนไว้ คือ การผลิตรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษ และในระหว่างที่บริษัทกําลังดําเนินการตามแผนงานดังกล่าว ผู้ถือหุ้นเดิมของ EES ซึ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิในการประกอบธุรกิจโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ “Wall Street English” ได้ประกาศขายหุ้นเดิมของ EES โดยผู้ถือหุ้นเดิมของ EES ได้ประกาศขายหุ้นเดิมดังกล่าวให้เฉพาะผู้ที่คาดว่าจะมีศักยภาพและมีความสนใจในธุรกิจโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษ และเชิญชวนให้บุคคลดังกล่าวเข้าร่วมประมูลซื้อหุ้นนั้น ซึ่งบริษัทเป็นหนึ่งในบุคคลดังกล่าวที่ได้รับการติดต่อให้เข้าร่วมประมูลซื้อหุ้นดังกล่าวด้วย บริษัทได้พิจารณาแล้วเห็นว่าการลงทุนในธุรกิจดังกล่าวจะก่อให้เกิด Synergy กับบริษัท โดยบริษัทสามารถผลิตรายการสอนภาษาอังกฤษผ่านรายการโทรทัศน์ดังกล่าวได้ ดังนั้น บริษัทจึงได้เข้าร่วมการประมูลซื้อหุ้นทั้งหมดของ EES ดังกล่าว และบริษัทได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะการประมูลซื้อหุ้นดังกล่าว
 
สําหรับความเหมาะสมของราคาซื้อขายที่กําหนดไว้ไม่เกิน 800 ล้านบาทนั้น ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระโดยนายประเสริฐ  ภัทรดิลก กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทแอดไววเซอรี่ พลัส จำกัด มีความเห็นว่าเป็นราคาที่เหมาะสมเพราะเป็นราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงินอิสระด้่วยวิธีมูลค่าป้จจุบันกระแสเงินสดสุทธิ สําหรับ Base Case เท่ากับ 1,080.81 ล้านบาท หรือเท่ากับ 652.42 บาทต่อหุ้น โดยเมื่อทําการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการประเมินมูลค่ากิจการและมูลค่าหุ้นของ EES เพื่อให้ครอบคลุมถึงช่วงผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้น (Ke) โดยปรับตัวแปรดังกล่าวเพิ่มขึ้นและลดลงร้อยละ 10 จากกรณีฐานแล้วมีมูลค่าเท่ากับ 978.02 - 1,201.99 ล้านบาท หรือเท่ากับ 590.38 – 725.58 บาทต่อหุ้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับราคาซื้อขายที่กําหนดไว้ไม่เกิน 800 ล้านบาทจะมีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าที่ประเมินโดยที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเท่ากับ 178.02 – 401.99 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.25 – 50.25 หรือต่ำกว่าเท่ากับ 107.46 – 242.66 บาทต่อหุ้น หรือเท่ากับร้อยละ 22.25 – 50.25 อีกทั้งเงื่อนไขของการทํารายการที่ระบุในร่างสัญญาซื้อขายเป็นเงื่อนไขโดยทั่วไปของการทํารายการซื้อขายหุ้น จึงเป็นเงื่อนไขที่มีความสมเหตุสมผล
 
นอกจากนี้ ยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจของกลุ่มบริษัท เนื่องจากธุรกิจโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษเป็นธุรกิจที่มีศักยภาพ มีแนวโน้มที่มีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูง กลุ่มลูกค้าเป้าหมายต่างๆ มีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองให้มีทักษะทางด้านภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการรวมตัวกันของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นประชาคมเศรษฐกิจของอาเซียน (AEC) ในปี 2558 และประกอบกับ EES เป็นเจ้าของโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษภายใต้ชื่อ “Wall Street English” เป็นกิจการที่มีความมั่นคง ดําเนินธุรกิจมากว่า 10 ปี เป็นผู้นําในธุรกิจโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย มีผลประกอบการที่มีกําไรและเป็นกิจการที่มีกระแสเงินสดที่ดี จึงเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับบริษัทในอนาคต ทําให้ธุรกิจของบริษัทมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีความหลากหลายมากขึ้น เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในการดําเนินธุรกิจของบริษัท ทําให้กลุ่มบริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นและเพิ่มขีดความสามารถในการทํากําไรมากขึ้น ก่อให้เกิดประโยชน์แก่บริษัทและผู้ถือหุ้นในระยะยาว


 


LastUpdate 11/04/2557 15:36:57 โดย : Admin
23-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 23, 2024, 9:45 pm