พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและจัดการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร แนะผู้บริหารอาคาร ทั้งคอนโดมิเนียม อาคารสูง และสำนังานออฟฟิศ เตรียมพร้อมรับมือจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เชียงราย และการเฝ้าระวังอาฟเตอร์ช็อกภายใน 3-5 วัน ทั้งนี้ พลัสฯ ได้จัดทีมงานเข้าตรวจสอบโครงสร้างทุกอาคารที่ดูแลแล้ว เบื้องต้นไม่พบความเสียหายแต่อยากใด
นายภูมิภักดิ์ จุลมณีโชติ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (Mr. Poomipak Julmanichoti, Managing Director, Plus Property Company Limited) ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและจัดการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เปิดเผยว่า “การเกิดแผ่นดินไหว 6.3 ริกเตอร์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ อ.พราน จ.เชียงรายเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา ส่งผลให้บ้านเรือนสิ่งปลูกสร้าง อาคารสูง วัด ในเชียงราย และจังหวัดใกล้เคียงได้รับความเสียหาย (เชียงใหม่ พะเยา น่าน และลำปาง) อีกทั้งแรงสั่นสะเทือนยังรับรู้ได้ถึงอาคารสูงในพื้นที่กรุงเทพฯ ด้วยเช่นกัน ซึ่งขณะนี้ ภาครัฐได้ออกมาเฝ้าระวังและเตือนประชาชนให้รับมืออาฟเตอร์ช็อคจากเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าวภายใน 3-5 วันจากนี้ โดย ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว จากคณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่าแผ่นดินไหวในครั้งนี้เป็นการเกิดแผ่นดินไหวขนาดปานกลางค่อนข้างสูง แต่ถือได้ว่าเป็นการเกิดแผ่นดินไหวในภาคเหนือของไทยที่รุนแรงที่สุดในรอบหนึ่งพันปี อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนอย่าได้ตื่นตระหนก ซึ่งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องต่างพากันเฝ้าระวังและให้การดูแลอยู่แล้ว ซึ่งในส่วนของพลัส พร็อพเพอร์ตี้ ที่รับบริหารรจัดการอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพักอาศัย และเพื่อการพาณิชย์นั้น พลัส ได้จัดส่งทีมพิเศษเข้าไปทำการตรวจสอบโครงสร้างของอาคารต่างๆ ที่ดูแลและบริหารจัดการ ซึ่งในเบื่องต้นโครงสร้างของทุกอาคารได้ถูกตรวจสอบแล้วโดยไม่พบความเสียหายแต่อยากใด นอกจากนี้ ยังได้เตรียมทีมงานทางด้านบริหารทรัพยากรอาคารและฝ่ายวิศวกรรมไว้เพื่อเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินแก่ผู้ประกอบการ ผู้อาศัยอยู่ในอาคารสูงทั้งอาคารพาณิชย์ และโครงการคอนโดมิเนียมต่างๆ ตลอดจนเฝ้าระวังเหตุการณ์ต่างๆ อย่างเป็นพิเศษ นอกจากนี้ สำหรับผู้อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียม บ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์ต่างๆ พลัส ได้จัดส่งวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหวให้กับลูกบ้านเพื่อเป็นข้อมูลอีกทางหนึ่งด้วย
อนึ่ง สิ่งที่เจ้าของอาคารหรือผู้บริหารตึกสูงต่างๆ สามารถเพิ่มระดับความต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารได้โดยใช้วิธีที่ต่างประเทศนิยมแก้คือการพอกเสาให้ใหญ่และดามด้วยเหล็ก หรือการเสริมด้วยกำแพงคอนกรีต รวมทั้งการเสริมแผ่นโพลีเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอนที่จะทำให้เสาอาคารสูงสามารถโยกตัวรับแผ่นดินไหวได้เพิ่มขึ้นประมาณ 3 – 4 เท่า และที่สำคัญคือการซักซ้อมแผนปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวโดยสม่ำเสมอเพื่อเตรียมพรัอมรับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยทั่วไปอาคารจะต้องตรวจสอบความปลอดภัย 4 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. การตรวจความมั่นคงแข็งแรง โครงสร้าง ผนัง รากฐาน 2.การตรวจระบบประกอบอาคารและระบบสิ่งอำนวยความสะดวก ไฟฟ้า ประปา แอร์บันไดเลื่อน ลิฟต์ เป็นต้น 3.การตรวจสอบสมรรถนะของระบบเตือนไฟ ระบบดับเพลิง และทางหนีไฟ และ 4.การตรวจแผนฉุกเฉิน และแผนซ้อมหนีไฟ และที่สำคัญควรมีที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมอาคารเพื่อทำการตรวจสอบอย่างถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนด"
ปัจจุบัน รัฐบาลยังได้กำหนดไว้ในกฎกระทรวงเรื่องการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว 2550 ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 2522 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2550 ให้สามารถรองรับแผ่นดินไหวที่มีความแรงมากกว่า 6 ริกเตอร์ขึ้นไปอีกด้วย ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอาคารที่ปลูกสร้างใหม่ เพราะมีการออกแบบรองรับการสั่นไหวมากขึ้นตามกฏหมายแล้ว สำหรับในบางพื้นที่ในกรุงเทพฯ ที่รับรู้แรงสั่นสะเทือนจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เชียงรายนี้ เป็นเพราะชนิดของดินในเขตกรงเทพฯ เป็นดินอ่อนมาก ทำให้ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวในระยะไกลได้ เช่น อาจจะทำให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในตึกสูงในกรุงเทพฯ รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนบ้างเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ดินชนิดนี้ไม่ใช่ดินประเภทเดียวกับประเทศญี่ปุ่นจึงมีความยืดหยุ่นและสามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนได้ในระดับดีกว่า
ข่าวเด่น