นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวระหว่างเปิดงาน มหกรรมการเงิน MONEY EXPO ที่ เมืองทองธานีในวันนี้ (8 พ.ค.)ว่างาน Money Expo ในปีนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “Connecting Life: การเงินเชื่อมโยงชีวิต ก้าวไปตามใจฝัน” ซึ่งทราบว่าปีนี้มีนวัตกรรมทางการเงินที่ทันสมัยที่จะช่วยเชื่อมโยงให้ การทาธุรกรรมทางการเงินมีความสะดวกมากขึ้น รวมทั้งยังมีผลิตภัณฑ์หลากหลายที่จะมาตอบสนองความต้องการของลูกค้าในแต่ละช่วงวัยสาหรับคาว่า “ก้าวไปตามใจฝัน” แต่ละท่านคงมีความฝันที่แตกต่างกันไป แต่ผมเชื่อว่า ส่วนใหญ่มีเป้าหมายที่จะมีชีวิตที่ดีและมีความมั่นคงทางการเงิน หรือเรียกอีกอย่างว่า มี “สุขภาพทางการเงินที่ดี”
การมีสุขภาพทางการเงินที่ดีนั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ โดยผมขอแบ่งออกเป็น 4 ปัจจัยหลัก ดังนี้ 1) สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเงินที่ดี 2) สถาบันการเงินมีผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบสนองต่อความต้องการ 3) ความพร้อมเชิงทักษะทางการเงินของประชาชน และ 4) การสนับสนุนจากผู้กำกับดูแลและผู้ที่เกี่ยวข้อง
ปัจจัยแรก คือ การมีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเงินที่ดี มีการเติบโตอย่างสม่าเสมอ ภาครัฐและเอกชนมีการลงทุน ทำให้การผลิตขยายตัวได้ตามศักยภาพ ภาคครัวเรือนมีรายได้ที่มั่นคงจากการมีงานทำ มีการจับจ่ายใช้สอยได้ไม่ขัดสน มีสถานะทางเศรษฐกิจการเงินและ ความเป็นอยู่ที่ดี และเป็นปัจจัยผลักดันให้มีสุขภาพทางการเงินที่ดีในที่สุด อย่างไรก็ดี จากสภาพแวดล้อมทางการเมืองและเศรษฐกิจในปัจจุบัน หลายท่านคงมีความเป็นห่วงว่าทิศทางในอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไป วันนี้เป็นโอกาสดีที่ผมจะได้มาเล่าถึงมุมมองในประเด็นนี้
หากพิจารณาปัจจัยภายนอก ความผันผวนของเศรษฐกิจการเงินโลกยังคงมีอยู่ แม้ว่านักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะปรับดีขึ้น ซึ่งจะช่วยภาคการส่งออกของไทยให้เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สาคัญ กระนั้นก็ตาม สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ ที่ยืดเยื้อ ทำให้ครัวเรือนและธุรกิจระมัดระวังในการบริโภคและลงทุน การลงทุนของภาครัฐทำได้จำกัด รวมทั้งภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบถึงขั้นหดตัว ดังนั้น แม้การส่งออกสินค้ามีทิศทางดีขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถชดเชยให้เศรษฐกิจไทยโดยรวมปรับดีขึ้นได้ สะท้อนจากข้อมูลเบื้องต้นในไตรมาสแรกของปีนี้ที่มีแนวโน้มหดตัวจากไตรมาสก่อน ทำให้สัดส่วนหนี้ภาคครัวเรือนต่อ GDP ยังคงเร่งตัวต่อเนื่อง แม้ว่าปัจจุบันจะพบสัญญาณการชะลอตัวของการก่อหนี้ภาคครัวเรือนแล้วก็ตาม ภาระหนี้ที่ประชาชนแบกรับนี้ ก็จะส่งผลเบียดเบียนต่อการอุปโภคบริโภคและความสามารถในการออมและการลงทุนด้วยในที่สุด
อย่างไรก็ดี Sentiment การลงทุนที่ไม่สู้ดีดังกล่าว ทำให้เกิดการปรับตัวในกระบวนการผลิต การนำเข้าสินค้าทุนและวัตถุดิบลดลง ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดจึงเกินดุลสูง ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อยังไม่น่ากังวล เศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพทั้งภายในและภายนอกนี้ นับเป็นตัวสะท้อนพื้นฐานที่ดีของเศรษฐกิจไทย กอปรกับระบบสถาบันการเงินมีความมั่นคง นับเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีที่จะช่วยให้สามารถเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและรองรับผลกระทบในระยะสั้นได้ และหากสถานการณ์ทางการเมืองคลี่คลายได้ในกลางปีนี้ เศรษฐกิจในปีหน้าก็มีโอกาสที่จะกลับมาขยายตัวได้ตามปกติ
ปัจจัยที่ 2 สถาบันการเงินมีผลิตภัณฑ์และบริกำรทำงกำรเงินที่ตอบสนองต่อความต้องการ สถาบันการเงินเป็นกลไกสาคัญที่จะช่วยทาให้ประชาชนสามารถบรรลุเป้าหมายทางการเงินและสามารถดำเนินการตามความฝันที่ตั้งไว้ได้ ที่ผ่านมา สถาบันการเงินได้มีการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายและเพิ่มทางเลือกให้ประชาชนเลือกสิ่งที่เหมาะกับความต้องการของตนเองมากขึ้น
ในปัจจุบันและอนาคต เทคโนโลยีจะเข้ามามีส่วนช่วยในการพัฒนานวัตกรรมและช่วยลดต้นทุนของสถาบันการเงิน และยังเพิ่มความสะดวกในการทาธุรกรรมทางการเงินสาหรับผู้ใช้บริการทางการเงินด้วย จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ธุรกรรมการชำระเงินออนไลน์มีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในไตรมาสสุดท้ายของปี 2556 ช่องทางโทรศัพท์เคลื่อนที่และอินเตอร์เน็ต มีอัตราเติบโตสูงเมื่อเทียบกับช่องทางออฟไลน์ เช่น เคาน์เตอร์สาขา และ เครื่องทารายการอัตโนมัติ นอกจากการเพิ่มความสะดวกแล้ว เทคโนโลยียังเป็นเครื่องมือในการช่วยบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคล รวมถึงสร้างวินัยทางการเงินได้อีกด้วย เช่น การตัดบัญชีออนไลน์ในการออมเงินแต่ละเดือน และผลิตภัณฑ์กองทุนรวมบางชนิด เป็นต้น
ความรู้และความเข้าใจทางการเงินก็มีส่วนสำคัญที่จะส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการมีความมั่นใจ ในการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินมากขึ้น เช่น กรณีของ Digital Banking นี้ หากประชาชนเข้าใจถึงระบบความปลอดภัย รวมทั้งเข้าใจถึงภัยที่อาจจะแฝงมากับการทาธุรกรรม ก็จะส่งผลให้รู้จักระมัดระวังและมีความมั่นใจเพียงพอที่จะเพิ่มระดับการใช้ในที่สุด ซึ่งผมได้ทราบจากผู้จัดงานว่า มีการจัดโซน Digital Banking ที่เปิดกว้างให้สถาบันการเงินนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการเงินมาสาธิตให้ประชาชนได้ชมด้วย
ปัจจัยที่ 3 ความพร้อมด้านทักษะทางการเงินของประชาชนไทย ทักษะทางการเงิน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะเป็นดัชนีชี้วัดว่าประชาชนไทยจะสามารถก้าวไปตามใจฝันและมีสุขภาพทางการเงินที่ดีได้หรือไม่
ซึ่งทักษะนี้ครอบคลุมตั้งแต่การมีความรู้ทางการเงินในระดับที่สามารถตัดสินใจเลือกสิ่งที่เหมาะกับตนเองภายใต้ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ การมีพฤติกรรมทางการเงินอันพึงประสงค์ ไปจนถึงการมีทัศนคติที่ดีต่อการออมและการลงทุน และการวางแผนทางการเงินเพื่ออนาคต
ผมขอถือโอกาสนี้ share ข้อมูลผลกำรสำรวจระดับทักษะทางการเงินของประชาชนไทย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยร่วมกับสานักงานสถิติแห่งชาติในการจัดทาการสำรวจทุก ๆ 3 ปี ผลลัพธ์ในปีที่ผ่านมา พบว่าประชาชนยังด้อยด้านความรู้ทางการเงิน โดยมีคะแนนเฉลี่ยไม่ถึงครึ่งหนึ่งของคะแนนเต็ม เกือบ 90% ยังขาดความรู้ด้านการคำนวณดอกเบี้ยทบต้น และกว่า 70% ขาดความเข้าใจเรื่องของมูลค่าเงินตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป
หากประชาชนมีความรู้ดังกล่าวเพิ่มขึ้นจะส่งผลดีต่อการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงิน รวมทั้งส่งผลดีต่อทัศนคติใน การออมและการลงทุน นอกจากนี้หากพิจารณาด้านพฤติกรรมแล้ว คนไทยยังไม่นิยมจัดทาบัญชีรายรับ-รายจ่าย การจัดทาบัญชีจะช่วยให้สามารถติดตามพฤติกรรมการใช้เงินได้ดียิ่งขึ้น และยังพบว่าประชาชนเกือบ 1 ใน 3 แก้ปัญหารายรับไม่เพียงพอด้วยการขอสินเชื่อ ซึ่งอาจสะท้อนถึงการขาดการวางแผนทางการเงินและการไม่มีเงินออมเผื่อฉุกเฉิน
ในด้านการออมเงิน เป็นที่น่ายินดีว่าเกือบ 80% ระบุว่ามีเงินออม จากสัดส่วนดังกล่าว กว่า 44% ระบุว่าเป็นการออมเงินระยะยาวเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณ แต่น่าเสียดายที่มีเพียง 25% ของผู้ที่ออมเงินเพื่อการเกษียณอายุสามารถออมเงินได้ตามแผนที่วางไว้ สำหรับช่องทาง การรับรู้ข่าวสาร พบว่า ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเงินและใช้ข้อมูลดังกล่าวในการตัดสินใจทางการเงิน ผ่าน Point of sale หรือสาขาธนาคารมากที่สุด
จากผลสำรวจความรู้ทางการเงินระดับบุคคลยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา โดยอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย และต้องทำอย่างจริงจังและต่อเนื่องจึงจะเห็นผล ทั้งนี้ สถาบันการเงินจะมีส่วนสำคัญที่ช่วยในการให้ข้อมูลความรู้ที่จะเป็นประโยชน์สำหรับประชาชนในการตัดสินใจใช้บริการทางการเงินมากที่สุด
ปัจจัยที่ 4 การสนับสนุนจากผู้กำกับดูแลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในช่วงที่ผ่านมา หน่วยงานต่าง ๆ ผลักดันให้ประชาชนเห็นความสำคัญเรื่องการออมและการลงทุนมากขึ้น ซึ่งเหตุผลหนึ่งมาจากการที่ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งทุกภาคส่วนจะได้รับผลกระทบ ตั้งแต่ภาคครัวเรือน ที่ประชากรวัยแรงงานต้องรับภาระดูแลวัยสูงอายุในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้น ส่งผลกระทบให้มีเงินออมและเงินลงทุนที่ลดลง ภาครัฐ มีแนวโน้มที่จะมีรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในด้านการประกันสังคม และสุขภาพอนามัย ภาคเศรษฐกิจจริง อาจต้องประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานและปัญหาผลผลิต อย่างไรก็ดี โอกาสเป็นของภาคการเงินและการธนาคาร ในการร่วมกันกระตุ้นและผลักดันให้ประชาชนใส่ใจกับวินัยการออมมากขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาเชิงโครงสร้างในระยะยาว
ข่าวเด่น