เทรนด์การใช้รถมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้น ด้วยเพราะความคล่องตัว ประหยัด และเท่ห์ไม่เหมือนใคร ที่เห็นได้ชัดคือ ความนิยมมอเตอร์ไซค์ขนาดใหญ่หรือบิ๊กไบค์ มีมากขึ้นจนบริษัทผู้ผลิตเริ่มมาปักหลักในเมืองไทยหลายราย มอเตอร์ไซค์จึงกลายเป็นเพื่อนคู่ใจ สำหรับบางคนอาจใช้พาหนะคู่ใจเดินทางไปทำงานทุกวัน บางคนใช้เฉพาะวันหยุดเพื่อการพักผ่อน ขับขี่ฝ่าสายลมไปอย่างอิสระ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อการขับขี่ ไม่ใช่เฉพาะมอเตอร์ไซค์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงสภาพถนน การขับขี่ของผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ สภาพรถของคนอื่น รวมทั้งสภาพรถของเราเอง แล้วเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า การควบสองล้อคู่ใจเดินทางไกลจะปลอดภัยและราบรื่น
"คาสตรอล" ผู้ผลิตน้ำมันหล่อลื่นสำหรับรถมอเตอร์ไซค์ แนะเคล็ดลับเตรียมพร้อมขับขี่ทางไกล ด้วยคอนเซ็ปต์ "รถพร้อมใจพร้อม ไปได้ดังใจต้องการแบบถึงไหนถึงกันกับ คาสตรอล เพาเวอร์ วัน" เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ทริปการขับขี่ทางไกลของคุณปลอดภัยและไปได้ทุกที่ทั่วไทยตามที่ใจต้องการกับ 2 ล้อคู่ใจ
เบสิคสำคัญการตรวจรถ อย่าตกหล่น!
ต้องไม่ลืมว่ารถกับคนขับนั้นใกล้ชิดกันมาก ความพร้อมของรถมีผลมากกับความปลอดภัยทุกวินาทีของเรา ต้องไม่ลืมเช็คความพร้อมให้กับรถมอเตอร์ไซค์คู่ใจด้วยการเช็คเครื่องยนต์และอุปกรณ์ต่างๆ ด้วยตัวเองหรือจะแวะไปใช้บริการที่ "ศูนย์บริการคาสตรอลไบค์พอยท์" ช่วยตรวจเช็คและเตรียมความมั่นใจ
ตรวจยางและลมยางทั้ง 2 ล้อ เติมลมให้มีแรงดันตามที่กำหนดรวมทั้งให้พอดีกับน้ำหนัก ลมยางที่อ่อนไปจะทำให้เครื่องยนต์เกิดแรงเสียดทานที่ล้อมาก ทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนัก ส่วนลมยางที่แข็งไปจะทำให้เกิดการลื่นไถลได้ง่ายเนื่องจากพื้นที่การยึดเกาะถนนลดลง โครงยางระเบิดได้ง่ายเมื่อได้รับแรงกระแทกหรือถูกของมีคม อายุการใช้งานของยางลดลง ความนุ่มนวลในการขับขี่ลดลง ไม่ควรเช็คลมยางขณะที่ยางมีอุณหภูมิสูง (หลังขับเสร็จใหม่ๆ) ควรทิ้งไว้สัก 15-30 นาที
ตรวจระบบเบรคหน้าและเบรคหลัง ว่ามีผ้าเบรคมากน้อยแค่ไหน หากเหลือน้อยแนะนำให้เปลี่ยนให้เรียบร้อยก่อนออกเดินทาง เช็คและขันน็อตต่างๆ ของตัวรถ เช่น น็อตล้อ น็อตคันเกียร์ คันเบรคให้พร้อม เช็คระดับน้ำในหม้อน้ำให้เต็ม เพราะถ้าน้ำขาดจะส่งผลให้การระบายความร้อนไม่ดี จะทำให้เครื่องยนต์เกิดความเสียหายได้ "โซ่" ต้องไม่ให้ตึงหรือหย่อนจนเกินไปและอย่าลืมหล่อลื่นโซ่ด้วย
ทำความสะอาดและตรวจเช็คความแน่นของขั้วแบตเตอรี่ รวมทั้งเช็คระบบไฟทุกดวงทั้งไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเลี้ยว ไฟเบรค รวมทั้งแตร ให้อยู่ในสภาพการใช้งานปกติ เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่ทั้งตัวเราเองและเพื่อนร่วมทาง
เช็คระดับน้ำมันเครื่องว่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ แต่เพื่อความสบายใจควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องที่เหมาะกับประเภทของรถก่อนขับขี่ทางไกล ช่วยในเรื่องการระบายความร้อนและหล่อลื่น ทำให้เครื่องยนต์ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะต้องใช้รอบเครื่องยนต์ค่อนข้างสูงในระยะเวลานานๆ ทำให้มีความร้อนสะสมในตัวน้ำมันเครื่อง
ความพร้อมของคนขับ สำคัญที่สุด!
คืนก่อนออกทริประยะไกลควรพักผ่อนให้เพียงพอ งดดื่มสุราและของมึนเมาทุกชนิด ถึงตอนเช้าจะยังไม่รู้สึกเหนื่อย แต่พอช่วงบ่ายมีแดดจัดและแยงตา อาจทำให้เกิดความเมื่อยล้าสะสมและง่วงนอนได้
สายตาก็เป็นส่วนสำคญในการขับขี่ เพราะเป็นตัวกำหนดในการบังคับทิศทาง หรือการสังเกตบนพื้นถนน เช่น มีทรายหรือน้ำมันบนพื้นถนน ถ้าเราเห็นเราก็จะหลบเลี่ยงได้
มีสติตลอดเวลา เพราะมีเพื่อนร่วมทางเยอะ ทั้งรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ หรือรถที่ขับออกมาจากข้างทาง ต้องมีความระมัดระวัง
เตรียมพร้อมก่อนเดินทาง พร้อมรับมือปัญหาเฉพาะหน้า!
ศึกษาเส้นทาง พร้อมทั้งคำนวณระยะทางที่จะไปกับความจุของถังน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อวางแผนการเติมน้ำมันครั้งต่อไปในทริป จะได้รู้ว่าเส้นทางที่จะผ่านมีปั๊มน้ำมันหรือไม่ เพื่อความสบายใจ เมื่อน้ำมันเหลือ 1/4 ของถังก็ควรแวะเติมให้เต็ม และเป็นการพักรถและผ่อนคลายร่างกายไปในตัว
เตรียมเอกสาร อุปกรณ์ และอะไหล่ที่จำเป็นติดตัวไปด้วย เช่น เครื่องมือประจำรถ สมุดคู่มือรับประกัน หัวเทียน เชือก ฯลฯ เตรียมพร้อมไว้เผื่อมีเหตุฉุกเฉิน
ปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด อย่าแซงในที่คับขัน ทั้งบนสะพาน ทางโค้ง-ทางแยก-ทางร่วม อย่าขับขี่ตามหลังในระยะกระชั้นชิด ไม่ขับเร็วกว่ากำหนด ให้สัญญาณก่อนหยุด-เลี้ยว-แซงทุกครั้ง เมื่อขับผ่านทางแคบ-ทางโค้ง-บนเนิน-บนภูเขา ควรขับชิดขอบทางด้านซ้าย และให้เสียงสัญญาณเตือนรถที่จะสวนมาก่อนเข้าทางโค้ง ฯลฯ
ผ่อนคลายหรือลุกขึ้นยืนยืดเส้นยืดสายทุกๆ 100 กิโลเมตร เพราะการขับขี่ระยะทางยาวๆ เราแค่บิคคันเร่งแช่ไว้ จึงอาจทำให้ง่วงนอนหรือหลับได้ ให้พยายามจิบน้ำเปล่าบ่อยๆ ในระหว่างเดินทาง จะช่วยผ่อนคลายความรู้สึกตึงเครียด และกระหายน้ำ ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ร่างกายอ่อนล้า
หลีกเลี่ยงทางเปลี่ยวหรือทางที่ไม่ค่อยมีรถวิ่งสวนมากนัก รวมทั้งควรจดจำหลักกิโลที่ผ่านมา เพราะเวลาที่ไม่รู้ทางหรือมีอุบัติเหตุ จะได้ช่วยหาได้เร็วและถูกต้อง
พกเบอร์โทรฉุกเฉินจำเป็น ติดกระเป๋าหรือเมมเบอร์ไว้ในมือถือ เช่น จส. 100 โทร.1137 หรือ 0-2711-9151-8 สวพ. 91 โทร.1644 และตำรวจทางหลวง 1193 แจ้งเหตุ สอบถามเส้นทาง บริการ 24 ชม. หรือแวะเข้าไปตรวจเช็คและซ่อมได้ที่ศูนย์บริการคาสตรอลไบค์พอยท์กว่า 2,000 สาขาทั่วประเทศ
ข่าวเด่น