Event
|
|
กระทรวงพาณิชย์ประกาศอัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน 2014 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 2.35%YOY (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า) ชะลอลงจาก 2.62%YOY ในเดือนเมษายน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 1.71%YOY ชะลอลงจาก 1.75%YOY ในเดือนที่ผ่านมา
|
Analysis
|
|
ราคาพลังงานและอาหารสดที่ชะลอลงช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อในเดือนที่ผ่านมา ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายนชะลอลงได้แก่ 1) ราคาพลังงานในประเทศที่ลดลง 0.20%MOM ในเดือนดังกล่าว จากการตรึงราคาแก๊สหุงต้มภาคครัวเรือนและน้ำมันดีเซล รวมถึงการปรับลดราคาน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอลล์ ตามนโยบายดูแลค่าครองชีพของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำให้ราคาพลังงานในเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นเพียง 4.81%YOY ชะลอลงจาก 6.20%YOY ในเดือนพฤษภาคม 2) ราคาผักและผลไม้ที่ปรับตัวลดลง 1.11%YOY ในเดือนมิถุนายน ชะลอลงจากเดือนพฤษภาคมที่ลดลง 0.04%YOY เนื่องจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกส่งผลให้มีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น
|
|
|
ราคาอาหารสำเร็จรูปทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ราคาอาหารสำเร็จรูปในเดือนมิถุนายนที่อยู่ในระดับทรงตัวเมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคมซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการตรึงราคาแก๊สหุงต้มภาคครัวเรือนไว้ที่ 22.63 บาทต่อกิโลกรัมตั้งแต่ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ทำให้เงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนดังกล่าวชะลอลงครั้งแรกในรอบ 9 เดือนมาอยู่ที่ 1.71%YOY
|
Implication
|
|
ราคาพลังงานจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออัตราเงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปี 2014 แม้ว่าราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศจะปรับตัวลดลงในเดือนมิถุนายนตามนโยบายค่าครองชีพของ คสช. แต่อีไอซีประเมินว่าน่าจะมีการปรับขึ้นราคาน้ำมันขายปลีกในระยะต่อไปเพื่อสะท้อนต้นทุนราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เร่งสูงขึ้น โดยในเดือนมิถุนายน ราคาน้ำมันดิบดูไบได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นแล้วกว่า 2%MOM เนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในอิรัก ดังนั้นด้วยความไม่สงบในอิรักที่มีแนวโน้มยืดเยื้อ ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของความต้องการน้ำมันจากการกลับมาดำเนินการตามปกติของโรงกลั่นต่างๆ ทำให้อีไอซีประเมินว่าราคาพลังงานในประเทศจึงน่าจะยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เงินเฟ้อทั่วไปกลับมาเร่งขึ้นอีกครั้งในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้าอยู่
|
|
|
อีไอซีคาดเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยปี 2014 น่าจะอยู่ที่ราว 2.5% และ 1.6% ตามลำดับ และจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินนโยบายการเงินของคณะกรรมการนโยบายการเงิน
|
ข่าวเด่น