เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
การลบข้อมูลลูกหนี้ NPL ออกจากระบบฐานข้อมูลเครดิตบูโร


 

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2557 มีการประกาศเรื่องการลบข้อมูลลูกหนี้ NPL ออกจากระบบฐานข้อมูลเครดิตบูโรลงในราชกิจจานุเบกษาไปเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นประกาศฉบับนี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2557 เป็นต้นไป สำหรับชื่อเต็มๆ อย่างเป็นทางการของประกาศนี้คือ ประกาศของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิต เรื่อง อายุข้อมูลในการประมวลผลข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต และการส่งข้อมูลของสมาชิก  อย่างที่ผมเคยเรียนให้ท่านผู้อ่านทราบหลายครั้งแล้วว่า คณะกรรมการตามกฎหมายที่ออกประกาศนี้มีชื่อย่อว่า "กคค." ไม่ใช่คณะกรรมการบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (ไม่ใช่คณะกรรมการ เครดิตบูโรนะครับอย่าเข้าใจผิด) คณะกรรมการที่ว่านี้ เป็นคณะกรรมการที่มีท่านผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นประธานกรรมการ กับมีท่านผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธปท. เป็นเลขานุการ สาระสำคัญที่สุดของประกาศนี้คือ

 

 

·        สถาบันการเงิน ทั้งหลาย ทั้งปวงกว่า 80 แห่งที่เป็นสมาชิกของ เครดิตบูโรจะต้องส่งข้อมูลบัญชีลูกหนี้ ที่ค้างชำระเกิน 90 วัน หรือบัญชีลูกหนี้ที่กลายเป็น NPL ให้กับเครดิตบูโรได้ไม่เกิน 5 ปีนับจากวันที่ผิดนัดชำระหนี้เท่านั้น  

·        เมื่อเครดิตบูโรได้รับข้อมูลข้างต้นมาก็จะประมวลผลต่อไปได้อีกไม่เกิน 3 ปี หรือรวมแล้วคือไม่เกิน 8 ปี เท่านั้นหลังจากนั้น เครดิตบูโรจะลบข้อมูลนั้นออกจะระบบตามที่ประกาศ กคค. ได้กำหนดไว้

·        การปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าว จะช่วยให้เกิดความเป็นธรรม และลดอุปสรรคในการเข้าถึงสินเชื่อของ ลูกหนี้  เพราะส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้ตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจมียอดหนี้ไม่มากมายนัก และคดีก็หมดอายุความไปแล้วและยังเป็นการลดปัญหาหนี้นอกระบบในทางอ้อมด้วย ขณะเดียวกันมุ่งหวังว่าลูกหนี้ที่ ได้รับการลบประวัติการค้างชำระหนี้ไปแล้ว จะกลับมาเป็นลูกหนี้ที่ดีมีวินัยทางการเงินมากขึ้น ข้อความนี้คือ สิ่งที่ กคค. มุ่งหวังจากการออกประกาศฉบับนี้

สุรพล โอภาสเสถียร

ผู้จัดการใหญ่

บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 02 ต.ค. 2557 เวลา : 10:05:12
25-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 25, 2024, 10:38 am