สุขภาพ
นวดเพื่อสุขภาพ


 


การนวดอาจกล่าวได้ว่าเป็นการรักษาอาการปวดวิธีแรกที่มนุษย์เรารู้จัดตังแต่โบราณกาล เป็นวิธีทางธรรมชาติที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น ปวดตรงไหนก็ถู บีบนวดตรงนั้น ต่อมามีการสั่งสมประสบการณ์จนเป็นศาสตร์หนึ่งในการรักษา สำหรับการนวดแผนไทย หรือบางครั้งเรียกนวดแผนโบราณ มีบันทึกตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาเจริญรุ่งเรืองมากสมัยอยุธยาแล้วจืดจางลงเมื่อแพทย์แผนใหม่เข้ามาสู่ประเทศของเรา ปัจจุบันกลับได้รับความนิยมอย่างมากอีกครั้งเนื่องจากสรรพคุณที่ปรากฏให้เห็น ที่น่าประหลาด คือ คนที่เห็นคุณค่ากลับเป็นคนต่างชาติ

การนวดแบ่งตามสรรพคุณออกเป็น 3 อย่าง คือนวดเพื่อสนุขภาพ นวดเพื่อการบำบัดรักษา และนวดเพื่อการฟื้นฟูสรรถภาพ นอกจากนี้การนวดแผนโบราณยังแบ่งออกได้ตามกรรมวิธีการนวดเป็น 2 อย่างใหญ่ๆคือ นวดเชลยศักดิ์และนวดราชสำนัก บางแห่งแบ่งนวดฝ่าเท้าออกมาต่างหากซึ่งการจับเส้นเป็นอันเดียวกับการนวดแบบเชลยศักดิ์ เช่น นวดรักษาอาการปวดเมื่อย ที่เรียกว่าเส้นจม

ถ้านวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพก็นวดได้ทุกคนโดยเฉพาะผู้สูงอายุ เพราะการนวดสามารถกระตุ้นระบบต่างๆของร่างกายทำให้กระปี๋กระเปร่าผ่อนคลาย นอนหลับสบาย ถ้านวดเพื่อการบำบัดรักษาจะมีประโยชน์มากในกลุ่มอาการปวด โดยเฉพาะปวดเมื่อยปวดกล้ามเนื้อ ไม่ว่าจะเป็นปวดหลัง ปวดคอโรคเครียด โรคนอนไม่หลับ


การนวดมีข้อห้าม ข้อควรระวังที่ต้องให้ความสนใจ ได้แก่ 

           - ในระยะที่มีไข้ไม่ควรนวดเพราะกล้ามเนื้อยอกระบมได้ง่าย 

           - ปวดข้อและกล้ามเนื้อที่อยู่ในระบบเฉียบพลัน เช่น มีอาการปวดมาก บวม แดงร้อนของข้อ ให้หลีกเลี่ยงจนกว่าอาการจะทุเลาก่อน

           - ผู้ที่มีภาวะข้อหลวมหรือเคลื่อน เช่น ผู้ป่วยไขข้อรูมาตอยด์ ผู้ที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อน ไหล่หลวม ควรหลีกเลี่ยงการบีบนวดบริเวณนั้น บริเวณใกล้เคียงสามารถนวดแต่ต้องให้ความระมัดระวังโดยไม่นวดรุนแรงและหลีกเลี่ยงการดัด

           - บริเวณที่กระดูกหักยังไม่ติดสนิท เพราะความแข็งแรงอาจจะยังไม่เพียงพอต่อแรงนวด

           - บริเวณที่ใส่ข้อเทียมควรหลีกเลี่ยงการนวดที่รุนแรง

           - สตรีตั้งครรภ์ไม่นวดที่ท้อง

           - ผู้ที่เป็นโรคติดต่อทางผิวหนัง

           - ผู้ที่มีภาวะผิดปกติในการแข็งตัวของเลือด เพราะอาจทำให้เลือดออกใต้ผิวหนังเป็นจ้ำ หรือเป็นก้อนเลือดในกล้ามเนื้อได้

อย่างไรก็ตามผู้ที่ไม่เคยนวดไทยมาก่อนนวดครั้งรกๆหรือผู้ที่กล้าๆกลัวๆไม่แน่ใจ ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งไม่ผ่อนคลายขณะถูกนวดมักจะเกิดอาการปวดยอกระบบกล้ามเนื้อได้อาการต่างๆเหล่านี้มักจะหายไปใน 2-3วัน หลังจากนั้นจะกลับรู้สึกสบายหายปวดเมื่อย แต่ถ้าอาการยังมากควรปรึกษาแพทย์

ความปลอดภัยขึ้นอยู่กับความรู้ของผู้นวดผู้นวดจะต้องมีความรู้ขั้นพื้นฐานทางกายวิภาคและวินิจฉัยโรคหรือภาวะต่างๆที่เป็นข้อห้ามหรือข้อควรระวังอาจจะดูได้จากหลังสูตรหรือใบประกาศที่ผู้นวดได้ผ่านการอบรมมาตลอดจนสถานบันส่วนประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับประสบการณ์ความชำนาญของผู้นวดผู้ที่มีประสบการณ์การนวดเวลานวดจะให้ความรู้สึกที่นิ่งดูนุ่มนวลถึงแม้จะหนัก สามารถทราบได้ว่าควรใช้แรงนวดหนักเบาต่างกันในแต่ละรายผู้ที่ชำนาญในการนวดจะมีผลงานการนวดดีมากเรียกฝีมือดีตามศัพท์พื้นบ้านว่ารสมือเด็ดนอกจากนี้ยังขึ้นกับสถานที่ควรเป็นสถานที่ที่สะอาดและบรรยากาศผ่อนคลาย

การนวดด้วยครีม เป็นการเสริมความลื่นทำให้นวดไล้ไปตามลำตัว กล้ามเนื้อได้ง่ายขึ้น แต่ความแรงหรือน้ำหนักจะควบคุมลำบาก ส่วนการนวดด้วยน้ำมัน หมายถึง น้ำมันหอมระเหย เรียกว่า หรือ สุคนธบำบัด เป็นการใช้น้ำมันหอมระเหยที่เชื่อว่าผลในการบำบัดรักษาโดยการสูดกลิ่นหรือซึมผ่านทางผิวหนัง น้ำมันระเหยแต่ละชนิดมีสรรพคุณต่างกัน เช่น น้ำมันเซจช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อย น้ำมันกุหลาบลดอาการเครียดกระตุ้นอารมณ์โรแมนติก เป็นต้น การนวดน้ำมันจะต้องเปลืองผ้าหมด เป็นที่นิยมในสปาทั่วไปแต่ราคาค่อนข้างแพง ผลใกล้เคียงกัน เพราะนวดน้ำมันหลายแห่ง ก็คือ การนวดแผนไทยที่ดัดแปลงมา

โดยทั่วไปถ้านวดเพื่อส่งเสริมสุขภาพอาทิตย์ละครั้ง หรือ สองอาทิตย์ครั้ง ถ้านวดเพื่อรักษาอาการปวดเมื่อยควรนวดวันเว้นวัน เมื่ออาการทุเลาก็ทิ้งช่วงห่างขั้น จนอาการหายก็หยุดนวด ในกรณีนี้ไม่ควรนวดทุกวันเพราะต้องการให้กล้ามเนื้อได้พัก

การนวดมีประโยชน์มากต่อสุขภาพ แต่ควรพิจารณาถึงผู้นวดและข้อควรระวัง แต่ที่อยากแนะนำ คือ ควรมีการออกกำลังร่วมด้วย เพราะจะทำให้สุขภาพแข็งแรงยิ่งขึ้น

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

 

รศ.นพ.ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช

 

ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู

 

Faculty of Medicine Siriraj Hospital 

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

 

 


LastUpdate 24/02/2558 12:22:54 โดย : Admin
22-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 22, 2024, 10:43 pm