กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน ประชุมซักซ้อมแนวทางการเฝ้าระวัง และการส่งต่อผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง(เมอร์ส) เพื่อสร้างความเข้าใจ เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งโรงพยาบาลภาครัฐและโรงพยาบาลเอกชน/คลินิกที่รับรักษาชาวต่างชาติเพื่อสร้างความเชื่อมั่น พร้อมรับมือการแพร่ระบาดของโรคในประเทศไทย
น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า จากสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสเมอร์ส Middle East Respiratory Syndrome : MERS (MERS Corona Virus : MERS CoV) พบการ แพร่ระบาดที่เกาหลีใต้ จากการรายงานพบการติดเชื้อจากคนสู่คน ได้แก่ ผู้ดูแลใกล้ชิด สมาชิกครอบครัวเดียวกัน บุคลากรทางการแพทย์ และในกลุ่มผู้ที่เดินทางไปประกอบพิธีทางศาสนาในประเทศที่มีการระบาดของโรค ตลอดจนการเดินทางเพื่อไปทำธุรกิจ ประกอบอาชีพ หรือผู้ป่วยต่างชาติตามนัด/ผู้ป่วยต่างชาติซึ่งเป็นคนไข้นอก และนักท่องเที่ยว
โดยล่าสุดประเทศไทยพบผู้ป่วยติดเชื้อเป็นชาวตะวันออกกลาง 1 รายเป็นรายแรก ได้ดำเนินการย้ายผู้ป่วย ผู้สัมผัสในครอบครัวมารับการรักษาตัว และกักกันตัวที่สถาบันบำราศนราดูร เพื่อทำการติดตามอาการเป็นเวลา 14 วัน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการค้นหาและคัดแยกผู้สัมผัสในชุมชน และได้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2523 โดยได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเพื่อประกาศให้โรคนี้เป็นโรคติดต่ออันตราย และต้องมีการแจ้งความ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2558 ซึ่งกรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้เล็งเห็นถึงผลกระทบของการแพร่ระบาด จึงได้จัดการประชุมสัมมนาชี้แจงแนวทางการวินิจฉัย การเฝ้าระวัง และการส่งต่อผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจระวังออกกลาง (MERS) เพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินการเตรียมความพร้อม สำหรับโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง แนวทางการเฝ้าระวัง การวินิฉัย การดูแลรักษาพยาบาลสำหรับบุคลากร แพทย์ และสาธารณสุข พร้อมคำแนะนำต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข
โดยเน้น 3 มาตรการ คือ 1.การเฝ้าระวังโรค จะต้องมีการติดโปสเตอร์ หรือแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ สำหรับผู้ที่เดินทางกลับจากประเทศกลุ่มเสี่ยง มีระบบการคัดกรองผู้ป่วย OPD มีจุดแยกผู้ป่วยเป็นช่องทางด่วน ต้องมีผู้รับผิดชอบการรายงานผู้ป่วยต้องสงสัย และต้องมีแนวทางการเฝ้าระวัง การดำเนินการให้กับแพทย์ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องประจำจุดบริการ
2.การเตรียมความพร้อมระบบการป้องกันควบคุมโรค ต้องมีการวางแนวปฏิบัติ การดูแลรักษาผู้ป่วย การกำหนดแนวทางของ รพ.รวมทั้งการเคลื่อนย้ายและส่งต่อ ผู้ป่วยมีการประชุมให้ความรู้ ชี้แจง แผนการรับ-ส่งผู้ป่วย การซักซ้อมแนวทางการดำเนินงานให้กับเจ้าหน้าที่ ต้องมีหน้ากากอนามัยชนิด N 95 ที่เพียงพอ และสวมใสได้อย่างถูกต้อง มีการขอรับน้ำยาเก็บตัวอย่าง หรือ VTM (Viral transport Media) และอุปกรณ์การเก็บสิ่งส่งตรวจ และแบบฟอร์มการส่ง น้ำยาฆ่าเชื้อ เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่มีประสิทธิภาพ ทั้งรพ.ต้องกำหนดให้จุด/เจลล้างมือ เมื่อสัมผัสผู้ป่วย
3. การสื่อสารความเสี่ยง มีการให้ความรู้ของโรค การเฝ้าระวัง โดยไม่ให้ประชาชนตื่นตระหนก มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เป็นต้น เพื่อเป้าหมายลดความเสี่ยงการระบาดของโรค และให้ประเทศไทยมีมาตรการรับมือที่มีประสิทธิภาพสูงสุุด
ข่าวเด่น