กองทุนรวม
KSAM เสนอขายกองทุน KFFAI6M20 ประมาณการผลตอบแทน 1.75%ต่อปี


บลจ.กรุงศรี เสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรีตราสารหนี้ต่างประเทศเอไอ 6M20 (KFFAI6M20)  อายุประมาณ  6 เดือน  เสนอขายตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559  เหมาะกับนักลงทุนที่มิใช่รายย่อยและผู้ที่มีเงินลงทุนสูง เงินลงทุนขั้นต่ำ 510,000 บาท ประมาณการผลตอบแทน 1.75% ต่อปี   
   

ศิริพร  สินาเจริญ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงศรี จำกัด(บลจ.กรุงศรี) เปิดเผยว่า บริษัทเปิดเสนอขายกองทุนเปิดกรุงศรีตราสารหนี้ต่างประเทศเอไอ6M20 (KFFAI6M20) อายุกองทุนประมาณ 6 เดือน  มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศหรือเงินฝาก ได้แก่  เงินฝากธนาคาร Abu Dhabi Commercial Bank (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) สัดส่วนการลงทุน 22%  เงินฝากธนาคาร Bank of China (สาธารณรัฐประชาชนจีน , มาเก๊า)สัดส่วนการลงทุน 22%   เงินฝากธนาคาร Agricultural Bank of China  (สาธารณรัฐประชาชนจีน , ฮ่องกง)  สัดส่วนการลงทุน 22%   เงินฝากธนาคาร China Construction Bank (สาธารณรัฐประชาชนจีน , ฮ่องกง)   สัดส่วนการลงทุน 19%  และเงินฝากธนาคาร Union National Bank (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) สัดส่วนการลงทุน 15% ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน 

โดยนักลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการขายคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติประมาณ 1.75% ต่อปี  (ประมาณการค่าใช้จ่ายของกองทุนที่ 0.14% ต่อปีของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ) และหลังครบกำหนดอายุโครงการบริษัทจะรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติและสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนไปยังกองทุนเปิดกรุงศรี   ตราสารเงิน (KFCASH) ซึ่งเป็นกองทุนรวมตลาดเงิน  เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ถือหน่วยลงทุนได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุนต่อไป 
]

กองทุนเปิดกรุงศรีตราสารหนี้ต่างประเทศเอไอ 6M20 (KFFAI6M20)  เป็นทางเลือกสำหรับการลงทุนในตราสารหนี้เหมาะกับนักลงทุนที่มิใช่รายย่อยและผู้ที่มีเงินลงทุนสูง  ที่ต้องการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากและสามารถลงทุนได้เป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน 
  

สำหรับภาวะตลาดตราสารหนี้โลกนั้น คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของเฟดมีมติคงอัตราดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้  ด้านสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&P ปรับเพิ่มอันดับเครดิตของประเทศกรีซขึ้นสู่       B- จาก CCC+ เนื่องจากกรีซประสบความสำเร็จในการเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มธนาคารและการปฏิรูปงบประมาณ  ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของยูโรโซนปรับตัวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือนในเดือน ม.ค. ซึ่งเป็นผลจากความผันผวนในตลาดการเงิน

ด้านธนาคารกลางญี่ปุ่นประกาศใช้นโยบายดอกเบี้ยติดลบเพื่อกระตุ้นให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น  โดยธนาคารกลางระบุว่าจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้ติดลบมากขึ้นหากมีความจำเป็น ในส่วนของมาตรการซื้อสินทรัพย์ยังคงอยู่ที่ 80 ล้านล้านเยนดังเดิม  สำหรับยอดส่งออกของญี่ปุ่นในเดือน ธ.ค. ลดลง 8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยยอดส่งออกสู่ตลาดหลักอย่างญี่ปุ่น เอเชีย และสหรัฐฯต่างปรับตัวลดลง ในขณะที่ยอดส่งออกสู่สหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นเล็กน้อย”  

สำหรับอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ภาครัฐของสหรัฐฯปรับตัวลดลง 0.00 – 0.13% โดยอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะยาวปรับลดลงมากกว่าอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ระยะสั้น   ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลงมากเช่นเดียวกับตลาดอื่นๆในภูมิภาค โดยได้แรงหนุนจากแนวโน้มที่ธนาคารในหลายประเทศจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม และสภาพคล่องในตลาดอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับลดลง 0.00 – 0.15% โดยอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาวปรับตัวลดลงมากกว่าอัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะสั้น”  (ข้อมูล:บลจ.กรุงศรี  ณ  2 ก.พ. 59)


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 04 ก.พ. 2559 เวลา : 16:00:48
24-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 24, 2024, 6:48 pm