ปัญหาภัยแล้งที่รุนแรงมากที่สุดในรอบ 20 ปี รวมทั้งหนี้ภาคครัวเรือนที่มีการรายงานจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ที่ระบุว่า เงินให้กู้ยืมแก่ภาคครัวเรือน (หนี้ครัวเรือน) ล่าสุดในไตรมาส 4 ของปี 58 ในระบบมียอดคงค้างหนี้ครัวเรือนทั้งสิ้น 11.04 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน 5.44 แสนล้านบาท หรือเติบโต 5.2% และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 2.0 แสนล้านบาท เติบโต 1.8% ทำให้ระดับหนี้ครัวเรือนจากไตรมาส 3 อยู่ที่ 80.8% ขยับเป็น 81.5% ต่อจีดีพี ในไตรมาสสุดท้ายของปี 58 ถือว่า ยอดหนี้และระดับหนี้ครัวเรือนยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ซึ่งหนี้ครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้กำลังซื้อของประชาชนได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
โดยจะเห็นได้จากการ จัดงานมอเตอร์โชว์ครั้งล่าสุด นายปราจิน เอี่ยมลำเนา ประธาน จัดงานมอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 37 ก็ยอมรับตลอดการจัดงาน 12 วัน มีประชาชนเข้าชมงานเกินเป้ากว่า 1.6 ล้านคน จาก เป้าหมาย 1.5 ล้านคน
แต่อย่างไรก็ตาม ยอดจองซื้อต่ำกว่าเป้า มีเพียง กว่า 3 หมื่นคัน จากเป้า 4 หมื่นคัน มูลค่า ลดลงจากเป้า 4 หมื่นล้านบาท เหลือ 3-3.2 หมื่นล้านบาท เนื่องจากประชาชนยังไม่มั่นใจ รายได้ในอนาคตและเศรษฐกิจโลกยังไม่ ฟื้นตัวเต็มที่ ทำให้ราคาพืชผลทางการเกษตรไม่ดี ซึ่งเป็นผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่รุนแรง
อีกทั้งการจัดงานครั้งนี้ไม่มีแรงจูงใจ เหมือนที่ผ่านมา โดยเฉพาะมาตรการภาษีจากภาครัฐหรือรถยนต์ขนาดเล็กที่มี ราคาไม่เกินคันละ 4-5 แสนบาท ไม่ได้นำมาเปิดจองมากนัก โดยปีนี้รถส่วนใหญ่แต่ละค่ายที่นำมาเปิดให้จองเริ่มตั้งแต่ 8 แสน-1.5 ล้านบาท และรถหรูเกิน 2 ล้านบาทขึ้นไป
ทั้งนี้แม้ตัวเลขจะต่ำกว่าเป้าหมาย แต่ผู้จัดงานพอใจที่ประชาชนยังให้ ความสนใจเข้าชมงานมากกว่าการจัดงานมอเตอร์โชว์ของญี่ปุ่นและกลุ่มอาเซียน ด้วยกัน โดยหลายประเทศมั่นใจไทย เป็นฐานการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ในภูมิภาคนี้ได้อย่างไม่มีปัญหา จากยอดจองรถยนต์ในงานปีนี้ ค่ายรถยนต์ที่มียอดจองสูงสุดเป็นฮอนด้ากว่า 4,000-5,000 คัน เนื่องจากออก รถยนต์ซีวิคใหม่ อันดับ 2 อีซูซู ยอดจองกว่า 4,000 คัน โตโยต้าอันดับ 3 ยอดจองกว่า 3,000-3,500 คัน
ขณะที่รถจักรยานยนต์บิ๊กไบค์ ยอดจองเกิน 4,000-5,000 คัน เนื่องจาก ราคาต่อคันปรับลดลงจากอดีตที่มีราคากว่า 5 แสนบาท เหลือ 2-3 แสนบาท ทำให้ประชาชนสนใจรถจักรยนต์ประเภทนี้มากขึ้น
ข่าวเด่น