แบงก์-นอนแบงก์
หนี้เสียฉุดกำไรแบงก์ทรุด


 


หนี้เสียที่ปรับตัวสูงขึ้นของธนาคาร เป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความสำคัญมากขึ้นของสถาบันการเงิน    โดยจะเห็นได้จากผลประกอบการไตรมาสแรกปีนี้ที่ผ่านมาของธนาคารพาณิชย์ 10 แห่ง  ที่รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   มีกำไรสุทธิรวม 39,169 ล้านบาท   โดยเป็นกำไรมาจากการปล่อยสินเชื่อ การหารายได้ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม และการลดลงของต้นทุนทางการเงิน  แต่ในไตรมาสนี้พบว่าธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ เช่น ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย มีกำไรสุทธิลดลงจากปีก่อน    หลังได้หันมาตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มขึ้น แต่ธนาคารพาณิชย์ขนาดกลางและเล็กยังคงทำกำไรได้เติบโต
 
 

ซึ่งนักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์  ระบุว่า   หลายธนาคารยังคงตั้งสำรองหนี้เสียเพื่อให้สอดคล้องกับหนี้เสียของกลุ่มผู้ประกอบการราย่อยหรือ เอสเอ็มอี และกลุ่มรายย่อยที่เพิ่มขึ้น  ส่งผลให้กำไรสุทธิออกมาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

และยังสอดคล้องกับ การสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่ระบุว่าหนี้เสียของบรรดาธนาคารในเอเชีย  พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงที่สุดตั้งแต่วิกฤติ การเงินโลก โดยหนี้เสียของธนาคาร รายใหญ่ที่จดทะเบียนในเอเชียจำนวน 74 แห่งไม่รวมธนาคารอินเดียกับญี่ปุ่น พุ่งขึ้นถึงระดับ 171,000 ล้านดอลลาร์ เมื่อปลายปี 2558 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนับว่า สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2551
 
 
 
ส่วนเงินกู้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) นั้นพุ่งขึ้น 28% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือ เกือบเป็น 2 เท่าของเมื่อ ปี 2556   โดยที่ธนาคารอินเดียกับญี่ปุ่น ไม่รวมอยู่ในการสำรวจครั้งนี้  เนื่องจากปีงบประมาณสิ้นสุดในเดือนมีนาคม

นักวิเคราะห์ชี้ว่า การขยายตัวทาง เศรษฐกิจของเอเชียที่กำลังชะลอตัว  ทำให้ คาดว่าคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคาร ในเอเชียจะปรับตัวลดลง โดยในช่วงที่ ธนาคารต่างๆ เริ่มรายงานรายได้ประจำ ไตรมาส อาจต้องปรับลดมูลค่าทางบัญชี ของสินทรัพย์ลงไปซึ่งจะกระทบต่อกำไรและมูลค่า

ทั้งนี้ ธนาคารหลายแห่งของเอเชีย ได้ทำการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อเพิ่ม สภาพคล่อง แต่ด้วยความไม่แน่นอน เกี่ยวกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและ ความต้องการสินค้าส่งออกที่ซบเซาของประเทศเหล่านี้ ทำให้คาดถึงแนวโน้มที่ว่า  อาจจะนำไปสู่ภาวะของการผิดนัดชำระหนี้มากขึ้นภายในระยะสั้น

นายจีน แฟง นักวิเคราะห์ด้านสถาบัน การเงินแห่งมูดี้ส์ คาดว่าคุณภาพสินทรัพย์ จะปรับตัวลดลงและหนี้เสียจะเพิ่มขึ้น พร้อมระบุว่าปัจจัยสำคัญที่เห็นได้ชัดเจนก็คือเอเชียกำลังเข้าสู่วงจรสินเชื่อที่ท้าทาย   โดยอดีตที่ผ่านมาเศรษฐกิจขยายตัวค่อนข้างแข็งแกร่งและดอกเบี้ยอยู่ ในระดับต่ำ  ซึ่งเป็นปัจจัยที่หนุนการปล่อยสินเชื่อ  ขณะที่สถานการณ์ในปัจจุบันปรากฏว่า เศรษฐกิจอยู่ในสภาวะอ่อนแอ โดยเฉพาะ ในประเทศจีนซึ่งทำให้ส่งผลกระทบไป ทั่วภูมิภาค จากการสำรวจพบว่าสัดส่วนโดยเฉลี่ยของหนี้เสียกับสินเชื่อทั้งหมดของธนาคารเอเชียจำนวน 29 แห่ง อยู่ที่ 1.9% เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2552 ขณะที่สัดส่วนของปี 2551 อยู่ที่ 2.5%

ซึ่งหนี้เสียในจีนพุ่งขึ้นสู่ระดับสูงที่สุด ในรอบ 10 ปีเมื่อเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว และ มูดี้ส์ คาดว่าจะมีแรงกดดันในส่วนของ คุณภาพสินทรัพย์อย่างต่อเนื่องในช่วง 12-18 เดือนข้างหน้า โดยเมื่อปีที่แล้ว หนี้เสียทั้งหมดของธนาคารจีนทั้งที่ จดทะเบียนและไม่จดทะเบียน อยู่ที่ 297,000 ล้านดอลลาร์

สำหรับสัดส่วนเฉลี่ยหนี้เสียของ ธนาคารญี่ปุ่นกับสินเชื่อทั้งหมดพบว่าอยู่ที่ 2.5% เมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งถือว่ามีการปรับตัว ดีขึ้นจากเมื่อปลายปี 2557 อยู่ที่ 2.7%  ขณะที่ ในกรณีของอินเดียมีหนี้เสียเพิ่มขึ้นเกือบ 1 ใน 3   ช่วงเดือน ก.ย.-ธ.ค.ปีที่แล้ว คิดเป็น 120,000 ล้านดอลลาร์ 

 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 22 เม.ย. 2559 เวลา : 11:10:55
10-01-2025
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ January 10, 2025, 8:27 pm