สุขภาพ
เคล็ดลับดูแลตัวเองด้วยคุณค่าน้ำแร่ธรรมชาติจากแหล่งน้ำใต้ดินลึก


 


สำหรับคนรักสุขภาพ นอกจากให้ความสำคัญในการเลือกรับประทานอาหาร และการออกกำลังกายที่เหมาะสมแล้ว เทรนด์ยอดฮิตอีกอย่างหนึ่งก็คือ 'การเลือกดื่มน้ำแร่ธรรมชาติ'เป็นเคล็ดลับการดูแลตัวเองแบบง่ายๆ จากภายในสู่ภายนอก
 
คุณอิสตรี ประจญศานต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด เปิดเผยว่า “การดื่มน้ำสะอาดเป็นการดูแลสุขภาพที่ดีอย่างหนึ่งเพราะน้ำมีประโยชน์และความจำเป็นต่อร่างกาย แต่หากเลือกดื่มน้ำแร่ธรรมชาติก็จะยิ่งเพิ่มประโยชน์เพราะคุณค่าน้ำแร่ธรรมชาติอุดมไปด้วยแร่ธาตุ 7 ชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม ฟลูออไรด์ โซเดียม ไบคาร์บอเนต ซัลเฟต เป็นต้น โดยปริมาณแร่ธาตุจะขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำนั้นๆ โดยแหล่งกำเนิดน้ำแร่ธรรมชาติที่ดีที่สุดควรมาจาก “แหล่งน้ำใต้ดินแบบปิด (Confined Aquifer)” ซึ่งเป็นชั้นน้ำใต้ดินลึกกว่า 1,000 ฟุต ที่ผ่านการกรองโดยธรรมชาติเป็นเวลานานจึงทำให้ปราศจากสารปนเปื้อน น้ำแร่ธรรมชาติที่อยู่ในชั้นนี้จึงมีคุณภาพดี สะอาด และมีแร่ธาตุที่สมดุล”
 
 
โดยคุณค่าแร่ธาตุจากน้ำแร่ธรรมชาติเหล่านี้ ล้วนเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายของเราต้องการในแต่ละวันเพื่อใช้ซ่อมแซมและบำรุงร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับปริมาณแร่ธาตุที่เพียงพอ เราก็จะรู้สึกสดชื่นไปพร้อมๆ กับการมีสุขภาพดีจากภายในสู่ภายนอก เริ่มจากช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันด้วยแคลเซียมแมกนีเซียม และฟลูออไรด์
   
 
ช่วยในการปรับสภาวะสมดุลร่างกาย ได้แก่ โพแทสเซียม ซึ่งทำงานร่วมกับโซเดียมในการรักษาสมดุลของเกลือแร่ ความเป็นกรด-ด่างของร่างกาย ช่วยให้การทำงานของระบบหลอดเลือดหัวใจเป็นไปอย่างปกติ ควบคุมระดับความดันโลหิตป้องกันภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
   
ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบร่างกายด้วยแร่ธาตุอื่นๆ อย่างไบคาร์บอเนตที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของแคลเซียมและแมกนีเซียมในร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และซัลเฟตซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของกรดอะมิโนที่เป็นหน่วยย่อยของโปรตีนที่จำเป็นในร่างกาย 
 

 
น้ำแร่ธรรมชาติมีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ดังนั้นการเลือกดื่มน้ำแร่ธรรมชาติจึงเป็นอีกหนึ่งไอเดียดีๆ สำหรับคนรักสุขภาพที่สามารถดื่มทดแทนน้ำปกติได้แต่ละวัน หรือจิบระหว่างการออกกำลังกาย ทุกๆ 10-15 นาทีเพื่อทดแทนการเสียน้ำ เพียงเท่านี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการดูแลตัวเองจากภายในแบบง่ายๆ แต่ส่งผลดีต่อสุขภาพในระยะยาว
 
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 30 พ.ค. 2559 เวลา : 20:39:27
23-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 23, 2024, 4:31 am