นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บลจ.กรุงไทยได้วิเคราะห์สถานการณ์การลงทุนในตราสารทุน และตราสารหนี้ ทั้งในและต่างประเทศ หลังจากที่ผลโหวตประชามติคะแนนเสียงฝ่ายหนุน อังกฤษออกจากอียูชนะ จึงได้ประเมินสถานการณ์ ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ( Fed ) มีโอกาสไม่ขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ ในระยะสั้น ตลาดหุ้นจะถูกกระทบในเชิงจิตวิทยา
ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นยุโรป แนะนำให้หาจังหวะลดพอร์ตการลงทุน โดยในระยะสั้นให้ดูปฎิกริยาของ ECB ซึ่งคาดว่าจะมีมาตรการระยะสั้นเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาด และค่าเงินยูโรจะอ่อนค่าจากความไม่เชื่อมั่นต่อการคงอยู่ของกลุ่มยูโรโซน ส่วนญี่ปุ่น ได้รับผลกระทบจากค่าเงินเยนแข็งค่า และกระทบในเชิงจิตวิทยาจากการเป็นคู่ค้าสำคัญของกลุ่มประเทศยุโรป ซึ่งค่าเงินเยนแข็งค่าเร็วและมากเกินไป คาดหวังมาตรการจากภาครัฐเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาด ซึ่งขณะนี้ ราคาหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวลดลงมากเกินไป ยังแนะนำให้รอทิศทางที่ชัดเจนของตลาด
ตลาดหุ้นจีน ได้รับผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจในฐานะประเทศคู่ค้า แต่ระยะสั้นจะได้รับผลกระทบจำกัดจาก Brexit โดยในระยะสั้น เศรษฐกิจเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นจากมาตรการรัฐ แต่มีแนวโน้มที่ค่าเงิน CNY/CNH อ่อนค่า ตลาดหุ้นอินเดีย ในระยะสั้นถูกกระทบในเชิงจิตวิทยา และ Investment Flow จากนักลงทุนต่างประเทศ พื้นฐานเศรษฐกิจยังดี และอยู่ในช่วงของการฟื้นตัว ความสามารถในการทำกำไรปัญหาภัยแล้งที่คลี่คลายลง หากตลาดปรับลดลงในระยะสั้น เป็นจังหวะในการเข้าซื้อ ตลาดหุ้นไทย ได้รับผลกระทบจำกัดจาก Brexit ในเชิงจิตวิทยา และค่าเงินบาทอ่อน ผลกระทบจากตรงมีไม่มากนัก ในช่วงสั้นราคาหุ้นมีโอกาสอ่อนตัวลงตามตลาดหุ้นต่างประเทศ แต่มีข้อสังเกตว่า เงินลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศไม่มีอิทธิพลต่อตลาดหุ้นไทยมากนัก โดยคาดว่า SET มีโอกาสปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 1,350 -1,380 จุด ซึ่งจะเป็นโอกาสในการเข้าซื้อ
ด้านตราสารหนี้ต่างประเทศ พันธบัตรภาครัฐจะได้ผลบวก จากนักลงทุนหลีกความเสี่ยง แต่ต้องพิจารณาค่าเงินประกอบ แต่จะมีความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้น ต้องระมัดระวังการลงทุนในกลุ่ม High Yield และ ระยะสั้นสำหรับ Corporate Bond ส่วนตราสารหนี้ไทย ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก จะทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำไปอีกนาน ซึ่งจะเป็นผลบวกกับตราสารหนี้ แต่ยังเผชิญความผันผวนจาก Investment Flowของนักลงทุนต่างประเทศ
ส่วนสินทรัพย์ทางเลือก ประกอบด้วย น้ำมัน กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ และ Commodity Currency จะได้รับผลกระทบจาก Brexit และค่าเงิน USD แข็งค่า และต้องติดตามประเมินผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทองคำ ได้รับผลบวกจาก ช่วงที่นักลงทุนกังวลจากปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่เกิดขึ้นทั่วโลก และแนะนำให้ถือต่อ เพื่อกระจายความเสี่ยง ส่วนกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ในระยะสั้นจะเผชิญความผันผวน โดยเฉพาะราคาอสังหาริมทรัพย์ในตลาดพัฒนาแล้ว หากราคาปรับตัวลดลง จะเป็นโอกาสในการเข้าลงทุน เนื่องจากยังเป็นกลุ่มที่มีโอกาสสร้าง ผลตอบแทนที่ดีกว่าสินทรัพย์ทางเลือกอื่น
ข่าวเด่น