Brexit หรือ การลงประชามติของชาวอังกฤษ เพื่อออกจากสหภาพยุโรปหรืออียู แม้จะไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในตลาดอังกฤษโดยตรง แต่ก็ต้องยอมรับว่า ทำให้เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวอยู่แล้ว ทรุดหนักลงไปอีก โดยสะท้อนจากมุมมองต่างๆของผู้ที่เกี่ยวข้อง
นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) ยอมรับว่า ผลจากการลงประชามติของอังกฤษ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยมากพอควร แม้สัดส่วนการค้าของไทยและอังกฤษมีเพียง 2% และไทยส่งออกไปอียู 9-10% เนื่องจากมติดังกล่าวส่งผล กระทบต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง ซึ่งประเทศผู้นำเข้าหลักอย่างจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐ ต่างมีคู่ค้าที่สำคัญคือ อียูและอังกฤษ จึงอาจทำให้เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงมากขึ้น จากปัจจุบันก็อยู่ในภาวะซบเซาอยู่แล้ว สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงยิ่งซ้ำเติมให้ย่ำแย่ลงไปอีก
นอกจากนี้ผลมติครั้งนี้ยังส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนให้มีความผันผวน ทั้งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ เงินเยนของญี่ปุ่น รวมทั้งค่าเงินหยวนของจีน ซึ่งเศรษฐกิจจีนก็ยังมีปัญหา จากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ทำให้เศรษฐกิจโลกถดถอยจากเดิมที่คาดว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวได้ไตรมาส 3-4 แ ต่เมื่ออังกฤษเลือกออกจากอียูก็ทำให้เศรษฐกิจโลกทั้งปีชะลอตัว ขณะเดียวกันแนวโน้มการปรับตัวของการค้าโลกไปสู่ยุคใหม่ ซึ่งในช่วงของการเปลี่ยนผ่านจะทำให้การค้าโลกชะลอตัวไม่ต่ำกว่า 2-3 ปี และเศรษฐกิจไทยจะทรงตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกด้วย
ผลกระทบที่เกิดขึ้นคาดว่าจะทำให้การส่งออกของไทยลดต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ สรท.จึงปรับเป้าหมาย การส่งออกในปีนี้ใหม่ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 0-2% ลดลงเหลือติดลบ 2% และจีดีพีของไทยในปีนี้จะขยาย ตัวต่ำกว่าเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ว่าจะเติบโต 3.3%
ส่วนสินค้าส่งออกของไทยที่จะได้รับ ผลกระทบมากที่สุดคือ กลุ่มยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีสัดส่วนการค้ารวม 40% ของการ ส่งออกทั้งหมด เพราะเป็นสินค้าที่พึ่งพาตลาดโลกสูง
ด้านนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธาน และโฆษกกลุ่ม อุตสาหกรรมยานยนต์ สภา อุตสาหกรรมแห่ประเทศไทย(ส.อ.ท.) ก็ยอมรับเช่นกันว่า Brexit กระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย โดยคาดว่า จะส่งผลกระทบต่อการส่งออก รถยนต์ไปยังยุโรปปีนี้มีมูลค่า และจำนวนลดลงประมาณ 10% จาก ปีก่อนที่มียอดขายรถยนต์ไปยังยุโรป ประมาณ 1.1-1.2 แสนคันหรือมีปริมาณลดลง 10,000 คัน โดยคาดว่า ผลกระทบจะมีช่วงสั้นๆ ไม่เกิน 1 ปี
ข่าวเด่น