ยานยนต์
5 ข้อควรรู้ในการดูแลรถยนต์คู่ใจ


 



การซื้อรถยนต์ ถือเป็นการตัดสินใจลงทุนครั้งใหญ่ในชีวิตของหลายๆ คน จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเมื่อซื้อรถมาใช้แล้ว ควรบำรุงรักษาและตรวจเช็คสภาพอย่างต่อเนื่อง เพื่อยืดอายุการใช้งานให้รถยนต์อยู่ร่วมเดินทางกับเราไปได้นานที่สุด

ผู้ที่เป็นเจ้าของรถยนต์คงจะทราบดีอยู่แล้วว่า การดูแลบำรุงรักษารถยนต์ในช่วงปีแรกๆ นั้นไม่ใช่เรื่องยุ่งยากอะไรเลย เพราะว่าหลายแบรนด์จะมีพนักงานบริการหลังการขายคอยเตือนให้นำรถยนต์เข้ารับบริการตรวจเช็คเครื่องยนต์และชิ้นส่วนต่างๆ ไปจนถึงเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องตามรอบ ทำให้รู้สึกว่าการเช็คระยะในระหว่างที่รถยังอยู่ในระยะประกันศูนย์ฯ เป็นเรื่องที่สะดวก เพียงนำรถยนต์เข้ารับบริการตามกำหนด ด้วยเหตุผลนี้เจ้าของรถยนต์คันใหม่จึงสามารถใช้รถอย่างไม่ต้องหาข้อมูลมากนักในช่วงแรกๆ  
 
เมื่อประกันศูนย์ฯ หมดลง เจ้าของรถหลายคนที่ไม่สันทัดในการดูแลรักษารถยนต์นัก อาจตัดสินใจไม่ถูกและไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นอย่างไร วันนี้ เชลล์ เฮลิกส์ น้ำมันเครื่องสังเคราะห์คุณภาพสูงจากเชลล์ จึงขอแนะนำ 5 ข้อควรรู้ที่เข้าใจได้ง่าย ให้นำไปใช้ดูแลรถได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

1. ยางรถยนต์ และความดันลม
ควรพิจารณาจากปัจจัยหลายๆ ด้าน ได้แก่ ลักษณะการขับรถ เช่น หากขับรถระยะทางไกลบ่อยๆ ควรเลือกใช้ยางที่เหมาะสมเพื่อช่วยประหยัดน้ำมัน หากขับรถบนเส้นทางที่มีโค้งมากๆ  ควรเลือกยางที่เกาะถนนได้ดีเป็นพิเศษ โดยคำนึงถึงประเภทรถยนต์และงบประมาณของคุณ หมั่นเช็คลมยางและเปลี่ยนยางเมื่อสภาพเริ่มเสื่อม หรือง่ายๆ ก็คือเมื่อเริ่มรู้สึกว่าโครงสร้าง เสียงยางเวลาขับ หรือความนุ่มนวลในการขับขี่เริ่มเปลี่ยนแปลงไป
 
 
2. การตรวจเช็คระดับของเหลวต่างๆ
เครื่องยนต์ของรถ มีของเหลวหลายอย่างที่ช่วยให้เครื่องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยควรต้องได้รับการตรวจเช็คอยู่เสมอ เช่น น้ำหล่อเย็น ควรตรวจเช็คขณะดับเครื่องและเครื่องเย็น ให้อยู่ในระดับเต็มอยู่เสมอ ระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ ควรอยู่ในตำแหน่ง UPPER LEVEL ระดับน้ำมันเบรค ควรอยู่ที่ระดับ MAX อยู่เสมอ ระดับน้ำมันเกียร์ออโตเมติก ควรตรวจขณะที่เครื่องยนต์ติดอยู่ โดยระดับต้องอยู่ที่ขีด F พอดี 
 
 
3. อย่าบรรทุกของเกินความจำเป็น
สำหรับสาวๆ หลายคน รถยนต์เป็นมากกว่าพาหนะที่นำพาคนขับและผู้โดยสารไปยังสถานที่ต่างๆ แต่ยังเป็นที่เก็บสัมภาระเคลื่อนที่ได้ด้วย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้ชีวิตง่ายขึ้น แต่ด้วยความเคยชิน บางคนอาจลืมนำสัมภาระที่ไม่จำเป็นออกจากรถ ทำให้รถต้องบรรทุกน้ำหนักมากขึ้น ส่งผลให้ใช้น้ำมันมากขึ้นและทำงานหนักกว่าเดิมโดยไม่จำเป็น ทุกๆ เดือนจึงควรจัดการกับสิ่งที่ไม่จำเป็นที่อยู่ติดรถ ไม่ว่าจะเป็นรองเท้า เสื้อผ้า หรือถุงของต่างๆ นอกจากเป็นการลดน้ำหนักบรรทุกแล้ว ยังทำความสะอาดภายในง่ายขึ้นด้วย 
 
 
4. การเลือกศูนย์หรืออู่เพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
เจ้าของรถบางคนเลือกที่จะออกมาใช้บริการอู่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง หรือศูนย์เปลี่ยนถ่ายในปั๊มน้ำมัน เพราะว่าส่วนมากแล้วใช้เวลาในการเปลี่ยนถ่ายฯ ไม่นาน และค่าใช้จ่ายโดยรวมถูกกว่า แน่นอนว่าสาขาที่สะดวกเป็นเรื่องสำคัญ แต่อีกเรื่องที่ต้องคำนึงถึงคือความสามารถของช่าง ที่ต้องรู้จักเครื่องยนต์และระบบของเหลวในเครื่องเป็นอย่างดี เช่น ศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เชลล์ เฮลิกส์ พลัส หรือ โปรเซิร์ฟ ในปั๊มเชลล์ ที่มีช่างผู้เชี่ยวชาญที่สามารถดูแลเรื่องการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องให้กับเจ้าของรถทุกคนได้อย่างไร้กลังวล

5. การเลือกน้ำมันเครื่องที่ให้ความอุ่นใจต่อได้
รู้หรือไม่ว่า ปัจจุบันมีน้ำมันเครื่องที่สามารถรับประกันเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นโปรแกรมเฉพาะ สำหรับน้ำมันเครื่องสังเคราะห์เชลล์ เฮลิกส์ ซึ่งมีทั้งสำหรับเครื่องยนต์เบนซินและดีเซล โดยโปรแกรมรับประกันเครื่องยนต์นี้จะรับประกันชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ทั้ง 13 ชิ้นที่ต้องสัมผัสกับน้ำมันเครื่องโดยตรงภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เมื่อซื้อและเปลี่ยนถ่ายฯ ที่ศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง เชลล์ เฮลิกส์ พลัส หรือ โปรเซิร์ฟ ในปั๊มเชลล์ หรือ ศูนย์บำรุงรักษารถยนต์ บริดจสโตน เอ.ซี.ที รวมถึงอู่เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องที่ร่วมรายการทั่วประเทศ ไม่ต้องกังวลเรื่องเครื่องยนต์แม้ว่าจะหมดประกันศูนย์แล้วก็ตาม โดยเพียงแค่โทรศัพท์ลงทะเบียนที่ 02-206-5453
 

การดูแลรักษารถยนต์ไม่ใช่หน้าที่ของช่างเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นหน้าที่ของเจ้าของรถยนต์เองด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเลือกยาง น้ำมันเครื่อง การตรวจเช็คของเหลว การนำรถเข้าศูนย์ฯ หรือเรื่องที่คุณอาจมองข้ามอย่างการบรรทุกสัมภาระ และเพื่อให้ขับขี่ได้อย่างอุ่นใจ ก่อนเปลี่ยนน้ำมันเครื่องครั้งต่อไป อย่าลืมนึกถึงผลิตภัณฑ์น้ำมันเครื่องสังเคราะห์คุณภาพสูงอย่าง เชลล์ เฮลิกส์ เพื่อขับขี่อย่างอุ่นใจไร้กังวลกับเรื่องเครื่องยนต์   
 

บันทึกโดย : Adminวันที่ : 13 ก.ย. 2559 เวลา : 18:51:44
24-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 24, 2024, 8:39 pm