คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงินสำหรับงวดปี 2559 (ก่อนตรวจสอบ)
ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)
ภาพรวมผลการดำเนินงาน
ในปี 2559 ธนาคารได้วางเป้าหมายในการใช้ประโยชน์จากความร่วมมือของบริษัทในกลุ่มธุรกิจฯ เพื่อขยายการทำธุรกิจ รวมถึงการพัฒนากระบวนการทางานเพื่อเชื่อมต่อการให้บริการในส่วนของธุรกิจธนาคารพาณิชย์และธุรกิจตลาดทุน นอกจากนี้ธนาคารยังคงมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง สำหรับผลการดาเนินงานปี 2559 เปรียบเทียบกับปี 2558 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 5,547 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.2 เมื่อเทียบกับ ปี 2558 โดยเป็นกำไรสุทธิของธุรกิจตลาดทุน จำนวน 1,086 ล้านบาท หากพิจารณากำไรเบ็ดเสร็จรวมจะเท่ากับ 5,756 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 84.6 เป็นกำไรเบ็ดเสร็จของธุรกิจตลาดทุนจำนวน 1,075 ล้านบาท โดยกำไรเบ็ดเสร็จรวมได้รวมผลจากการวัดมูลค่าหลักทรัพย์เผื่อขายอันเป็นผลจากความผันผวนของตลาดทุน
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) คำนวณตามเกณฑ์ Basel III ซึ่งรวมกำไรถึงสิ้นปี 2558 อยู่ที่ร้อยละ 18.53 โดยเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับร้อยละ 15.01 แต่หากรวมกำไรถึงสิ้นปี 2559 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงจะเท่ากับร้อยละ 20.40 และเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับร้อยละ 16.87
ธุรกิจธนาคารพาณิชย์
สินเชื่อของธนาคารในปี 2559 หดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.8 โดยการหดตัวชะลอลงเมื่อเทียบกับการหดตัวที่ร้อยละ 3.6 ในปี 2558 และร้อยละ 3.1 ในปี 2557 ทั้งนี้สินเชื่อของธนาคารที่มีการขยายตัวค่อนข้างดีได้แก่ สินเชื่อ Lombard ขยายตัวที่ร้อยละ 208.2 สินเชื่อบุคคลขยายตัวที่ร้อยละ 105.0 สินเชื่อ Micro SMEs ซึ่งรวมสินเชื่อ KK SME รถคูณ 3 ขยายตัวที่ร้อยละ 90.7 และสินเชื่อเคหะขยายตัวที่ร้อยละ 289.5
ในด้านคุณภาพของสินเชื่อ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 5.6 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 5.8 ณ สิ้นปี 2558 โดยสินเชื่อด้อยคุณภาพในส่วนของสินเชื่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการปรับตัวดีขึ้นในระหว่างปี รวมถึงคุณภาพของสินเชื่อเช่าซื้อที่ยังคงมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพสำหรับสินเชื่อเช่าซื้อ ปรับลดลงจากร้อยละ 2.4 ณ สิ้นปี 2558 และมีการปรับลดลงต่อเนื่องตลอดปี 2559 โดย ณ สิ้นปี 2559 อยู่ที่ร้อยละ 1.9
ธุรกิจตลาดทุน
ประกอบด้วย ธุรกิจนายหน้า ธุรกิจวานิชธนกิจ ธุรกิจการลงทุน และธุรกิจจัดการกองทุน
ธุรกิจนายหน้า (Brokerage Business) โดย บล.ภัทร ที่ดำเนินธุรกิจให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และตราสารอนุพันธ์แก่ลูกค้าประเภทสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงกลุ่มลูกค้าบุคคลรายใหญ่ภายใต้บริการ Private Wealth Management สำหรับปี 2559 บล.ภัทร มีส่วนแบ่งตลาด ร้อยละ 4.81 เป็นอันดับที่ 4 จากจำนวนบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหมด 36 แห่ง และบล.ภัทร มีรายได้ค่านายหน้า 1,610 ล้านบาท
ธุรกิจวานิชธนกิจ (Investment Banking Business) บล.ภัทร ประกอบธุรกิจวานิชธนกิจ ให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและการจัดจาหน่ายหลักทรัพย์ ในปี 2559 บล.ภัทร มีรายได้รวมจำนวน 174 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้ที่ปรึกษาทางการเงิน 102 ล้าน และรายได้การจัดจาหน่ายหลักทรัพย์ 72 ล้านบาท
ธุรกิจการลงทุน (Investment Business) ปี 2559 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวมจากธุรกิจลงทุนจำนวน 1,149 ล้านบาท
ธุรกิจจัดการกองทุน (Asset Management Business) โดย บลจ.ภัทร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 มีทรัพย์สินภายใต้การจัดการของกองทุนเป็นจำนวน 42,999 ล้านบาท
ผลการดำเนินงานรวมของธนาคารและบริษัทย่อย
อัตราส่วนต่างๆ (ร้อยละ)
|
Q4
2558
|
Q1
2559
|
Q2
2559
|
Q3
2559
|
Q4
2559
|
ปี 2559
|
อัตราการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ
|
(0.6)
|
(1.2)
|
(0.4)
|
0.2
|
0.6
|
(0.8)
|
สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม
(ไม่รวมรายการระหว่างธนาคาร)
|
5.8
|
5.7
|
6.1
|
5.9
|
5.6
|
5.6
|
อัตราส่วนการตั้งสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ
|
91.9
|
97.2
|
95.7
|
105.4
|
110.1
|
110.1
|
อัตราส่วนสำรองต่อสำรองตามเกณฑ์
|
160.1
|
166.7
|
169.8
|
181.6
|
187.8
|
187.8
|
ข่าวเด่น