แบงก์-นอนแบงก์
"กสิกรไทย"เป็นปลื้ม "อาคารเคบีทีจี" คว้ารางวัลระดับโลก "LEED-NC Platinum" ต้นแบบอาคารเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคาร


อาคารกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (เคบีทีจี) เป็นอาคารสำนักงานในกลุ่มธุรกิจการเงินอาคารแรกของไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอาคารเขียวระดับโลก คือ LEED-NC ระดับ Platinum ประเภทอาคารสร้างใหม่ หรือ ปรับปรุงใหญ่ ซึ่งถูกออกแบบให้เป็นอาคารประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคารเป็นหลัก 

 

 

การออกแบบด้านสถาปัตยกรรม งานตกแต่งภายใน และการจัดสรรพื้นที่ใช้สอยภายในอาคารภายใต้แนวคิด “KBank Innovation Campus (KIC)” เปลี่ยนสถานที่ทำงานให้เป็น Agile Workplace ทำงานคล่องตัวได้ทุกที่ และกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดนวัตกรรมในที่ทำงาน เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจอย่างฉับไว

 

นายพรชัย ยงนพกุล  ผู้บริหารฝ่ายบริหารอาคารและงานกลาง ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า เมื่อเดือนกันยายน 2559  สภาอาคารเขียวของสหรัฐอเมริกา (U.S. Green Building Council: USGBC) ได้ประกาศให้อาคารกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป หรือ อาคารเคบีทีจี ผ่านมาตรฐานอาคารอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมระดับสูงสุด ระดับ Platinum ภายใต้มาตรฐาน LEED (Leadership in Energy and Environment Design) ประเภทอาคารสร้างใหม่ หรือ ปรับปรุงใหญ่ (New Construction or Major Renovation) นับเป็นอาคารสำนักงานขนาดใหญ่พิเศษในกลุ่มธุรกิจการเงินอาคารแรกของไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED ระดับ Platinum อีกทั้งยังตอกย้ำการดำเนินธุรกิจภายใต้เจตนารมณ์ “กรีน ดีเอ็นเอ” ของธนาคารกสิกรไทยที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

 

อาคารเคบีทีจี มีเนื้อที่รวมประมาณ 12 ไร่  ที่ตั้งโครงการหันหน้าเข้าหาอาคารกสิกรไทยแจ้งวัฒนะ  อาคารโครงสร้างเป็นแบบคอนกรีตเสริมเหล็กความสูง 11 ชั้น มีพื้นที่ใช้งานภายในอาคารทั้งหมด 66,755 ตารางเมตร ทั้งนี้ การจัดพื้นที่ใช้สอยภายในอาคาร ประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ  ดังนี้

 

 

 

 

-    ชั้น G ประกอบด้วยห้องประชุมส่วนกลางจำนวนมากถึง 11 ห้อง ห้องอาหารพนักงานที่มีที่นั่งจำนวน 400 ที่นั่ง

-    ชั้น 1 ถึง ชั้น 3 (ครึ่งชั้น) เป็นพื้นที่จอดรถภายในอาคาร มีช่องจอด 422 คัน

-    ชั้น 3 (ครึ่งชั้น) ถึง ชั้น 5 (ครึ่งชั้น) ประกอบไปด้วยห้องเครื่องงานระบบวิศวกรรม

 

 

 

 

-    ชั้น 5 (ครึ่งชั้น) ถึง ชั้น 10 เป็นพื้นที่สำนักงานทั้งหมดประมาณ 25,000 ตร.ม. พื้นที่ในแต่ละชั้นเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ จึงจัดให้มีบันไดเชื่อมต่อระหว่างชั้นทำการภายในอาคารบริเวณพื้นที่สำนักงาน (ตั้งแต่ชั้น 6 – ชั้น 10) จำนวน 2 จุด บริเวณปีกซ้ายและปีกขวาของตัวอาคาร เพื่อตอบสนองความคล่องตัวในการประสานการทำงานระหว่างชั้นทำการ

-    ออกแบบพื้นที่สำนักงานให้สอดคล้องกับแนวความคิด Flexibility

-    ออกแบบให้มีพื้นที่ Recreation Area จำนวน 2 จุด/ชั้นทำการ

-    ออกแบบให้มีพื้นที่ Creative box จำนวน 2-3 จุด/ชั้นทำการ

 

 

 

-    ชั้น 11 - 11M จัดเป็นพื้นที่ Innovation Center คิดเป็นพื้นที่ทั้งหมด 7,000 ตร.ม. ที่ประกอบไปด้วยพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลนวัตกรรม ส่วนกลาง K-Stadium (สามารถจุคนได้ 250 คน)/ห้อง Project room จำนวน 8 ห้อง (สามารถจุคนได้ 100-120 คน)/พื้นที่ทำงานรูปแบบ Mobile จำนวน 150 ที่นั่ง/ห้องทำงานผู้บริหาร/สวนกล้วยไม้ ขนาด 150 ตร.ม.

 

 

นายพรชัย กล่าวว่า การออกแบบก่อสร้างอาคารเคบีทีจีอยู่ในโครงการอาคารเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นนโยบายสำคัญในการจัดสร้างและปรับปรุงอาคารสำนักงานใหญ่ทั้งหมดที่คำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคาร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการพลังงาน ประกอบด้วย แนวคิดสำคัญ 3 ประการ ได้แก่

Agile Workplace: สถานที่ทำงานที่ส่งเสริมให้การทำงานมีความคล่องตัว สามารถริเริ่มและตอบสนองความต้องการทางธุรกิจอย่างฉับไว ด้วยการใช้ Concept Mobility Workplace การออกแบบพื้นที่ทำงานให้มีบริเวณการทำงานแบบ Mobile Office พนักงานสามารถจองที่นั่งผ่านระบบ Space Registration System อีกทั้งยังมีระบบ Wifi ครอบคลุมทุกพื้นที่ของอาคารด้วยความเร็วสูงสุด 1.3 Gbps นอกจากนี้ ยังออกแบบและตกแต่งห้องประชุมแบบ VDO Conference สามารถประชุมร่วมกันระหว่างอาคารอื่น ๆ ได้พร้อมกันถึง 20 คู่สาย และรองรับการประชุมที่หลากหลาย
   

 Innovation: ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ด้วยการออกแบบระบบภายในอาคารที่นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน และส่งเสริมการบริหารจัดการอาคารให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น อาทิ K-Stadium อัฒจันทร์นำเสนอผลงาน ชั้น 11 มีความทันสมัยทั้งระบบภาพและเสียงตกแต่งภายในออกแบบภายใต้แนวคิด “A Powerhouse of Innovation” เปรียบเสมือน “ไข่แดงศูนย์กลางของไข่ดาว” นอกจากนี้ ยังมี Recreation Area และ Creative Box ที่ปรากฏอยู่ในทุกพื้นที่ของอาคาร ช่วยกระตุ้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

Green Bank, Green Financing, Green Project: LEED และการบริหารจัดการอาคารที่มีประสิทธิภาพ ธนาคารกสิกรไทยยึดมั่นในเจตนารมณ์ “กรีน ดีเอ็นเอ” ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงาน อีกทั้งยังพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของธนาคารให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ประชาชน และการเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม แนวความคิดดังกล่าวถ่ายทอดอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการกำหนดเป็นแนวทางในการก่อสร้างและออกแบบอาคารของธนาคารที่จะต้องใช้ความคิดของการเป็นอาคารเขียวเพื่ออนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อม

                
ธนาคารกสิกรไทยและทีมที่ปรึกษาได้ออกแบบและก่อสร้างอาคารเคบีทีจีภายใต้แนวคิดดังกล่าวจนสามารถผ่านการประเมินมาตรฐานทำคะแนนได้ 84 คะแนน จากคะแนนเต็ม 110 คะแนน ของมาตรฐาน LEED ประเภทอาคารสำนักงาน (New Construction) ขนาดใหญ่พิเศษที่ได้รับการรับรองในเกณฑ์รางวัลระดับ Platinum ซึ่งเป็นระดับสูงสุดที่ต้องได้คะแนนตั้งแต่ 80 คะแนนขึ้นไป

อาคารเคบีทีจี ได้รับคะแนน ใน 7 หมวด ดังนี้

1.ความยั่งยืนของที่ตั้งโครงการ          ได้ 22 จาก 26 คะแนน

2.ด้านประสิทธิภาพการใช้น้ำ        ได้ 10 จาก 10 คะแนน

3.การประหยัดพลังงานและบรรยากาศ ได้ 24 จาก 35 คะแนน

4.การใช้วัสดุและทรัพยากร ได้ 8 จาก 14 คะแนน

5.คุณภาพสภาพแวดล้อมภายในอาคาร ได้ 11 จาก 15 คะแนน

6.ด้านนวัตกรรม  ได้ 5 จาก 6 คะแนน  

7.ด้านความเร่งด่วนส่วนภูมิภาค ได้ 4 จาก  4  คะแนน

 

 

ทั้งนี้ มีการทำคะแนนที่ดีเกินกว่ามาตรฐาน LEED อาทิ การประหยัดน้ำประปาที่มากกว่าข้อกำหนดของ LEED ซึ่งประหยัดถึง 50% การใช้วัสดุรีไซเคิลที่มากกว่า 40% ซึ่งเกณฑ์ LEED กำหนดไว้ที่ 20% และการใช้วัสดุพื้นถิ่นที่ 70% มากกว่าเกณฑ์ LEED ที่กำหนดไว้ที่ 20% และยังได้มีการทำคะแนนพิเศษ ด้านนวัตกรรมอื่น ๆ อีก อาทิ การจัดนิทรรศการอาคารเขียวถาวร นอกจากจะเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์อาคารแล้ว ยังสามารถเป็นส่วนหนึ่งของคะแนนได้ รวมทั้งการติดตั้งมิเตอร์เพื่อตรวจวัดการใช้น้ำในส่วนงานการออกแบบภูมิสถาปัตย์(Landscape) เพื่อให้การบริหารจัดการใช้น้ำในพื้นที่สวนมีประสิทธิภาพ ด้านมาตรการป้องกันมลภาวะระหว่างก่อสร้าง เพื่อให้การก่อสร้างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนรอบข้าง จึงมีมาตรการป้องกันมลภาวะที่จะเกิดขึ้นระหว่างการก่อสร้างโดยมีการจัดเตรียมมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการสูญเสียการพังทลายของหน้าดิน การป้องกันตะกอน และการป้องกันฝุ่น

สำหรับระบบอื่นๆ ภายในอาคารที่น่าสนใจ อาทิ พื้นที่สีเขียวกว่า 5,800 ตารางเมตร เพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และใช้ออกกำลังกายของพนักงาน มีการจัดเตรียมพื้นที่จอดจักรยานและห้องอาบน้ำเพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีการออกกำลังกายจากการปั่นจักรยานและลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล ซึ่งถือว่าช่วยลดภาวะโลกร้อนอีกทางหนึ่ง จัดเตรียมที่เก็บสำรองน้ำฝนเพื่อรองรับ ปริมาณน้ำฝนที่ตกในโครงการและมีการจำกัดปริมาณน้ำฝนที่ไหลออกสู่นอกโครงการเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในบริเวณชุมชนข้างเคียง และนำน้ำฝนมาใช้รดน้ำต้นไม้เพื่อลดการใช้น้ำประปา นอกจากนี้ พื้นที่หลังคาโครงการทั้งหมดติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ขนาด  350  kWp เพื่อลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกอาคาร และผลิตไฟฟ้าใช้ภายในอาคาร (และขายให้กับการไฟฟ้าในอนาคต) โดยใน 1 ปี จะผลิตไฟฟ้าได้ 448,000 kWh หรือ ประมาณ 9% ของพลังงานรวมที่ใช้ภายในอาคาร

 

 

 

ทั้งนี้ อาคารแห่งนี้มีจุดเด่นการดีไซน์ที่น่าสนใจ ด้วยแนวคิด “The Green Living World” หรือ “กสิกรไทย เมืองสีเขียว” ด้วยการออกแบบทางสถาปัตยกรรมภายในธีมเมืองแห่งความคิดสร้างสรรค์ที่มีการจัดวางแปลนให้มีความยืดหยุ่น (Flexible) และเปิดโล่ง (Open Office Plan) มีพื้นที่สีเขียวจุดพักผ่อนหย่อนใจ พบปะสังสรรค์  มีการจัดวางพื้นที่ “Collaboration area” เช่น Reaction area, Creative Box, ห้องประชุม และ VDO Conference นอกจากนี้ ยังมีศูนย์ Innovation Center ออกแบบให้มีความหลากหลายในพื้นที่ มากมายการใช้สอย และตอบสนองการนั่งทำงานเป็นทีม จัดวางลานคนเมืองและอัฒจันทร์ชมสวน ไว้เพื่อตอบสนองกิจกรรมต่าง ๆ  รวมทั้ง งานระบบไฟฟ้าและระบบ LAN เชื่อมต่อไปยังโต๊ะทำงานของพนักงานผ่าน “Flexible Tree” เลือกใช้วัสดุตกแต่งภายในที่เป็นวัสดุรีไซเคิล เช่น กระเบื้องยาง พื้นพรม ผนังลามิเนต ผนังอลูมิเนียมคอมโพสิท ผนังกระจก ผนังยิปซั่มบอร์ด เป็นต้น

 

 

นายพรชัย กล่าวในตอนท้ายว่า  ในการออกแบบและก่อสร้างอาคารเคบีทีจี ทีมงานธนาคารกสิกรไทยได้ร่วมมือกับทีมงานที่ปรึกษาจากบริษัท ISET และ SGS นำโดย ดร.จตุวัฒน์ วโรดมพันธ์ ในการทำโครงการอาคารใหม่ที่ผ่านมาตรฐาน LEED-NC Platinum ได้สำเร็จ ซึ่งธนาคารกสิกรไทยเชื่อมั่นตลอดมาว่ารูปแบบการดำเนินโครงการตั้งแต่การกำหนดนโยบาย ออกแบบก่อสร้าง และวางระบบทั้งหมด จะเป็นแนวทางของอาคารเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจภายใต้เจตนารมณ์ “กรีน ดีเอ็นเอ” จึงได้ดำเนินการก่อสร้างและพัฒนาอาคารสำนักงานใหญ่ทั้ง 3 แห่งอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เป็นอาคารเขียว ที่ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และคำนึงถึงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคารเป็นหลัก  ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารฯ ได้รับรางวัลรับรองมาตรฐานด้านอาคารจากหลายสถาบัน

 


บันทึกโดย : วันที่ : 18 ก.พ. 2560 เวลา : 00:13:39
16-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 16, 2024, 3:44 am