นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1/2560 ขยายตัวเร่งตัวขึ้นจากไตรมาสที่ 4/2559 ส่วนหนึ่งเกิดจากการขยายตัวของการลงทุนภาครัฐโดยเฉพาะการลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ปรับตัวเพิ่มอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่น และผลักดันให้เศรษฐกิจไทยปี 2560 ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1/2560 ขยายตัวร้อยละ 3.3 เร่งตัวขึ้นจากไตรมาสที่ 4/2559 ที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการลงทุนรัฐวิสาหกิจที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 17.0
สำหรับผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 45 แห่ง ซึ่งเป็นเครื่องชี้การลงทุนรัฐวิสาหกิจในเดือนเมษายน 2560 เท่ากับ 18,425 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 32.0 ซึ่งมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2/2560 ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ในช่วงที่การใช้จ่ายภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่
อัตราการขยายตัว ปี 2559 Q1/2560
GDP (% yoy) 3.2 3.3
อัตราการขยายตัวการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (% yoy) 10 17
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
นายเอกนิติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจสะสมถึงเดือนเมษายน 2560 (ตุลาคม 2559 – เมษายน 2560) เท่ากับ 82,014 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 85 ของแผนการเบิกจ่ายลงทุนสะสม โดยรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการตามปีงบประมาณเบิกจ่ายได้ 43,850 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 84 ของแผนการเบิกจ่ายลงทุนสะสม และรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการตามปีปฏิทินเบิกจ่ายได้ 38,164 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 85 ของแผนการเบิกจ่ายลงทุน โดยรัฐวิสาหกิจที่มีงบลงทุนขนาดใหญ่และสามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ได้แก่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย การประปาส่วนภูมิภาค การเคหะแห่งชาติ การประปานครหลวง บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวงและ บมจ. กสท โทรคมนาคม
ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจสะสมถึงเดือนเมษายน 2560
รัฐวิสาหกิจ
แผนลงทุนทั้งปี แผนเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่ต้นปี ผลเบิกจ่ายสะสมตั้งแต่ต้นปี %เบิกจ่ายสะสม/แผนสะสม
1. ปีงบประมาณ จำนวน 34 แห่ง (7 เดือน) 145,127 52,322 43,850 84 %
1.1 การรถไฟแห่งประเทศไทย 59,697 22,049 14,107 64%
1.2 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 28,721 11,322 11,583 102%
1.3 การประปาส่วนภูมิภาค 12,345 2,240 3,996 178%
1.4 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) 11,820 3,535 2,749 78%
1.5 การเคหะแห่งชาติ 6,305 3,135 3,178 101%
1.6 การประปานครหลวง 4,705 1,679 2,008 120%
1.7 การท่าเรือแห่งประเทศไทย 4,327 2,209 1,965 89%
1.8 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 2,660 914 779 85%
1.9 โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง 2,363 367 310 84%
1.10 องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 1,968 81 30 38%
1.11 บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด 1,710 608 632 104%
1.12 รัฐวิสาหกิจแห่งอื่นๆ จำนวน 24 แห่ง 8,506 4,183 2,513 60%
2. ปีปฏิทิน จำนวน 11 แห่ง (4 เดือน) 193,662 44,723 38,164 85 %
2.1 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 63,883 11,102 6,861 62%
2.2 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 54,758 14,402 16,531 115%
2.3 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 23,954 3,557 3,772 106%
2.4 การไฟฟ้านครหลวง 16,005 1,841 2,413 131%
2.5 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 13,246 9,670 4,568 47%
2.6 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) 11,148 1,504 1,323 88%
2.7 บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 6,800 1,733 1,766 102%
2.8 รัฐวิสาหกิจแห่งอื่นๆ จำนวน 4 แห่ง 3,868 913 930 102%
รวม 45 แห่ง 338,789 97,046 82,014 85 %
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)
นายเอกนิติ กล่าวสรุปว่า รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนของรัฐวิสาหกิจอย่างมาก จึงขอให้ผู้บริหารและกรรมการของรัฐวิสาหกิจกำกับติดตามและเร่งรัดให้รัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายงบลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของแผนการลงทุนรายปี และสำหรับรัฐวิสาหกิจที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามแผน ขอให้ปรับปรุงแผนการเบิกจ่าย ในช่วงที่เหลือให้ครอบคลุมยอดเบิกจ่ายที่ขาดไปด้วย นอกจากนี้ ขอให้รัฐวิสาหกิจใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ช่วยยกระดับทักษะและฝีมือแรงงานของประเทศ เช่น การพัฒนาทักษะนักศึกษาผ่านการจ้างงานในช่วงปิดภาคเรียน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมต่อไป
ข่าวเด่น