โฆษกคณะกรรมการพิจารณา (ร่าง) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ ยืนยันการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นการมุ่งแก้ไขในประเด็นที่ทำให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและหน่วยบริการสามารถดูแลประชาชนได้ดีขึ้น
นายแพทย์มรุต จิรเศรษฐสิริ ในฐานะโฆษกคณะกรรมการพิจารณา (ร่าง) พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ฉบับที่ ... ) พ.ศ. .... ได้ให้สัมภาษณ์ถึงความก้าวหน้าในการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.หลักประกันสุภาพแห่งชาติว่า กฎหมายดังกล่าวจำเป็นต้องมีการทบทวนและปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และยังเป็นการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคในการบริการ โดยมี 14 ประเด็น ที่รวบรวมจากการ ทำประชาพิจารณ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานตรวจสอบภาครัฐ ซึ่งการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว มุ่งที่ประโยชน์ของประชาชนให้เข้าถึงการรักษาพยาบาล และการบริการสาธารณสุขซึ่งเป็นนโยบายรัฐบาลต้องการให้ประชาชนได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้น มีสุขภาพแข็งแรง
ในการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุภาพแห่งชาติ พ.ศ. ... ได้แต่งตั้งคณะกรรมการที่มาจากทุกภาคส่วนเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์จาก พ.ร.บ.มากขึ้น โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมตั้งแต่แรก ประกอบด้วย ทีมนักวิชาการของ ศ.ดร.อัมมาร สยามวาลา ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล รศ.ดร.นพ.จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ และนพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ซึ่งเป็นไปตามหลักการ SAFE ของคณะทำงานวิชาการ นอกจากนั้นยังมีตัวแทนภาคประชาชนและเอกชน ผู้แทนปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทน กทม. ผู้แทนภาคราชการ เช่น กฤษฎีกา สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง ทีมของ สปสช. และทีมผู้บริหาร ผู้ให้บริการจากกระทรวงสาธารณสุขด้วย
ในช่วงเดือนมิถุนายน 2560 นี้ จะจัดทำเวทีรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ซึ่งจัดขึ้นโดยคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ประกอบด้วยการรับฟัง 3 รูปแบบ คือ เวทีการรับฟังความเห็นสำหรับประชาชนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศทางเว็บไซต์ระหว่างวันที่ 2-18 มิถุนายน 2560 ที่ www.lawamendment.go.th , เวทีสัมมนารับฟังความเห็น 4 ภาค (10 มิ.ย. ที่โรงแรมลีการ์เดนท์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา, 11มิ.ย. ที่โรงแรมเชียงใหม่ แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่ ,17 มิ.ย.ที่โรงแรมอวานี ขอนแก่น แอนด์คอนเวนชันเซ็นเตอร์ จ.ขอนแก่น ,18 มิ.ย. ที่โรงแรมเซนทรา ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ) โดยให้ลงทะเบียนล่วงหน้า แ
ต่ทั้งนี้ไม่ได้ปิดกั้นสำหรับ ผู้ที่จะเดินทางมาร่วมงานโดยไม่ได้ลงทะเบียน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเวทีสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างทั่วถึง จึงได้กำหนดกติกาข้อหนึ่งว่า “ให้ผู้เข้าร่วมงานสามารถแสดงความเห็นได้คนละ 3 นาที” พร้อมทั้งบันทึกภาพไว้เพื่อแสดงถึงความโปร่งใส และเวทีการรับฟังความเห็นสาธารณะ (Public Consultation) เป็นเวทีแสดงความคิดเห็นของผู้แทนกลุ่มเครือข่ายจากภาคส่วนต่างๆ รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง โดยทั้ง 3 เวทีจะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่และเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นอื่นนอกจาก 14 ประเด็นดังกล่าวได้
สำหรับส่วนที่แก้ไขเพื่อแก้ปัญหาการดำเนินงานที่ติดขัด ทั้งในส่วนของ สปสช. และผู้ให้บริการ ส่วนที่เพิ่มเติมคือ สัดส่วนของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและคณะกรรมการควบคุมคุณภาพ เพื่อกำหนดรายละเอียดการให้บริการประชาชนได้มากขึ้น และให้การใช้จ่ายงบประมาณมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ข่าวเด่น