เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
กระทรวงเกษตร เดินหน้าแผนเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงจากอุทกภัยด้านการเกษตร ปี 2560


 พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่ได้มอบหมายให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำในระยะยาวไปถึง 2 ปีข้างหน้า โดยให้คำนึงถึงปริมาณน้ำสำหรับกักเก็บไว้ใช้สำหรับการเกษตรในฤดูแล้งรอบหน้า อีกทั้งได้คาดการณ์ปริมาณน้ำฝนที่จะทำให้การบริหารน้ำในพื้นที่เขตชลประทานมีความมั่นคงและแก้ปัญหาได้ชัดเจนมากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้ให้ความสำคัญพื้นที่นอกเขตชลประทาน โดยได้นำข้อมูลจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) และข้อมูลจากศูนย์เมขลา นำมาวิเคราะห์ร่วมกับกรมชลประทานที่จะสามารถทำให้ทราบสถานการณ์น้ำท่วมบริเวณไหนและจะบริหารจัดการน้ำได้อย่างไร อีกทั้งยังพยากรณ์ได้ว่าในสิ้นฤดูฝนจะปล่อยน้ำในพื้นที่ชลประทานได้มากน้อยเพียงใด และจะปล่อยน้ำให้พื้นที่การเกษตรได้มากน้อยขนาดไหน ทั้งนี้ กรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการทั้งหมด

นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปัจจุบัน (13 มิ.ย. 60) สถานการณ์อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศมีปริมาณน้ำในอ่างฯ 41,830 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 56 ของความจุอ่างฯ รวมกันทั้งหมด มากกว่าปี 2559 รวม 9,320 ล้าน ลบ.ม. เป็นน้ำใช้การได้ 18,011 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 35 (ปี 2559 มีน้ำใช้การได้ 8,812 ล้าน ลบ.ม.) สามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 33,300 ล้าน ลบ.ม. โดยจากสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น ตั้งแต่ 16 พ.ค. 2560 – ปัจจุบัน พบว่า จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 27 จังหวัด ขณะนี้เข้าสู่สถานการณ์ปกติแล้ว 24 จังหวัด เหลือเพียง 3 จังหวัดที่ยังมีน้ำท่วมอยู่ ได้แก่ 1. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งบางบาล 2. จังหวัดสุพรรณบุรี มีน้ำท่วมในบริเวณทุ่งสองพี่น้อง 3. จังหวัดชลบุรี มีน้ำขังในพื้นที่ลุ่มต่ำในเขต อ.พนัสนิคม ระดับน้ำสูง 10 – 15 ซม. ซึ่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ได้ให้ความช่วยเหลือโดยสนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 112 เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 26 เครื่อง รวมถึง สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ 50,260 กิโลกรัม ดูแลสุขภาพสัตว์ 13,580 ตัว และสนับสนุนเวชภัณฑ์ ยาปฏิชีวนะ 601 ชุด ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ สุโขทัย และเลย ทำให้สามารถลดพื้นที่ได้รับผลกระทบลดลง (ข้อมูล ณ วันที่ 2 มิ.ย. 60) จาก 1.01 ล้านไร่ (18 จังหวัด) ปัจจุบันลดลงเหลือ 0.91 ล้านไร่ (19 จังหวัด)

ขณะเดียวกันได้เดินหน้าแผนเตรียมความพร้อมเพื่อลดความเสี่ยงจากอุทกภัยด้านการเกษตร  ปี 2559/60 วางเป้าหมายในการป้องกัน ลดความเสี่ยง และความเสียหายของภาคเกษตรรวมทั้งฟื้นฟูให้เกษตรกรกลับสู่ภาวะปกติหรือพัฒนาให้ดีกว่าเดิม แบ่งออกเป็น 4 แผนงาน 41 กิจกรรม คือ 1. การป้องกันและลดผลกระทบเตรียมความพร้อม ประกอบด้วย 1.1 ด้านการบริหารจัดการน้ำ ประกอบด้วยติดตามสภาพอากาศ/ปริมาณน้ำแผนบริหารจัดการน้ำรายจังหวัดกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำและบำรุงรักษาพื้นที่รับน้ำปฏิบัติการฝนหลวง 1.2 ด้านการผลิตสินค้าเกษตร ประกอบด้วยการปรับรอบการผลิตในพื้นที่ลุ่มต่ำการจัดทำคันป้องกัน/Flood Wayการปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรการแนะนำการลดความเสี่ยงตรวจสอบฟาร์มสัตว์ดุร้ายแผนอพยพปศุสัตว์/บริหารพื้นที่อพยพจัดทำบัญชีทรัพยากร เครื่องมือ อุปกรณ์ เสบียงสัตว์ เวชภัณฑ์ 1.3 ด้านสร้างความเข้าใจความเสี่ยง ประกอบด้วยการซักซ้อมแนวปฏิบัติกับเจ้าหน้าที่การซักซ้อมระบบแจ้งเตือนสร้างความเข้าใจความเสี่ยง 2.การเผชิญเหตุ ประกอบด้วย 2.1 ด้านการบริหารจัดการน้ำ โดยปรับแผนการบริหารน้ำติดตั้งเครื่องจักรเร่งระบายน้ำเสริมคันกันน้ำ ทำนบชั่วคราวแจ้งเตือนพื้นที่ท้ายน้ำ 2.2 ด้านการผลิตสินค้าเกษตร ประกอบด้วยเสริมคันป้องกัน/สร้าง Flood Wayเก็บผลผลิตเกษตร สัตว์น้ำ จำหน่ายอพยพปศุสัตว์/บริหารพื้นที่ส่งกำลังบำรุงเข้าพื้นที่ 2.3 ด้านการช่วยเหลือและสื่อสารสถานการณ์ จะระดมเจ้าหน้าที่ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นและแนะนำเกษตรกรสื่อสารข้อมูลสถานการณ์น้ำและพื้นที่ปลอดภัย 

3. การหยุดยั้งความเสียหาย ประกอบด้วย 3.1 ด้านการบริหารจัดการน้ำ ประกอบด้วยการสำรวจพื้นที่น้ำท่วมขังเกษตรเสริมกำลัง เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่เกษตรลุ่มต่ำและพื้นที่การเกษตรที่สำคัญ 3.2 ด้านการผลิตสินค้าเกษตร ประกอบด้วยตรวจ วินิจฉัย ป้องกันและกำจัดโรคพืช สัตว์ ประมงสนับสนุนเวชภัณฑ์เพื่อป้องกันการระบาดของโรคที่เกิดจากน้ำบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นในพื้นที่เกษตรกรรมโดยใช้น้ำหมักชีวภาพ พด.6 3.3 ด้านการช่วยเหลือเยี่ยมเยียน ประกอบด้วยคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ประเมินความเสียหายแจ้งสิทธิการช่วยเหลือตามกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และ 4. การฟื้นฟูให้ดีกว่าเดิม ประกอบด้วย 4.1 ด้านการบริหารจัดการน้ำ ประกอบด้วยซ่อม/สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านชลประทานและ Flood Way จัดทำระบบป้องกันพื้นที่เกษตรที่สำคัญ 4.2 ด้านการผลิตสินค้าเกษตร ประกอบด้วยวิเคราะห์ความเสียหายและประเมินความต้องการ/ความจำเป็นในการฟื้นฟูและจัดทำแผนฟื้นฟูของจังหวัดฟื้นฟูของสภาพดิน ปรับปรุงบำรุงดินการสร้างรายได้ระยะสั้นและส่งเสริมการผลิตให้ดีกว่าเดิมการช่วยเหลือตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ 4.3 ด้านการให้ความรู้ในการฟื้นฟู ประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนกิจกรรมการผลิตการปรับรองการผลิตการจัดทำแนวป้องกัน


บันทึกโดย : วันที่ : 17 มิ.ย. 2560 เวลา : 00:43:35
27-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 27, 2024, 11:35 am