ปัจจุบันบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งในโลก ได้นำประเด็นด้านความยั่งยืนมาเป็นเครื่องมือช่วยคาดการณ์เพื่อนำทางให้ก้าวผ่านความผันผวนของเศรษฐกิจ อีกทั้งเพื่อรองรับความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นของผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งภายนอกและภายในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ การให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความยั่งยืน ยังใช้เพื่อจัดการความเสี่ยงเกี่ยวกับประเด็นสังคมและสิ่งแวดล้อมของธุรกิจ ซึ่งทำให้เห็นว่าประเด็นความยั่งยืนนี้ได้ถูกยกระดับจากเพียงแค่กิจกรรมด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ไปสู่การเป็นแกนหลักของกลยุทธ์ธุรกิจและการวางแผน การดำเนินงานในระยะยาว
จากบทความ “Why boards and C-suites should fuse sustainability with strategy” ของ Terry F. Yosie ได้ทำการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่เป็นคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง (C-suite) ของบริษัทขนาดใหญ่ในหลายภาคธุรกิจ ของประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง (C-suite) ของบริษัทเหล่านี้มีการตื่นตัวอย่างมาก ในการทำความเข้าใจแนวคิดเรื่องความยั่งยืน เพราะเชื่อว่ามีผลกระทบโดยตรงกับธุรกิจของตนอย่างมาก ซึ่งในปัจุจบัน คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงเหล่านี้มีมุมมองที่ให้ความสำคัญกับตัวชี้วัดความยั่งยืนของบริษัทใน 4 เรื่อง ได้แก่
1.การลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่นำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต
2.การทำธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ
3.ความร่วมมือกับคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถช่วยแก้ไข ปัญหาสังคมได้
4.การปรับตัวของธุรกิจให้สามารถรองรับความท้าทายที่กำลังเกิดขึ้นในโลก เช่น การเปลี่ยนแปลง ภูมิากาศ การขาดแคลนทรัพยากรน้ำ การขยายตัวของจำนวนประชากรและเมือง ฯลฯ
ตัวชี้วัดความยั่งยืนแต่ละตัวดังกล่าวข้างต้นสามารถเป็นทั้งความเสี่ยงและโอกาสอยู่ในตัว บริษัทจึงต้องรู้จักนำมาใช้อย่าง รอบคอบและระมัดระวัง และเมื่อประเด็นความยั่งยืนเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น บริษัทต้องสื่อสารเรื่องดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ให้กับผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก อาทิ พนักงาน ลูกค้า ผู้บริโภค และนักลงทุน เป็นต้น ที่สำคัญความท้าทายนี้ จะถูกจัดการได้ดีขึ้นและสร้างความน่าเชื่อถือได้มากขึ้น หากคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงสามารถเชื่อมโยงกลยุทธ์ ธุรกิจและกลยุทธ์ความยั่งยืนของบริษัทให้รวมกันเป็นหนึ่งเดียว ดังนั้น ในยุคที่ผู้มีส่วนได้เสียให้กับความสำคัญกับผลการดำเนินงานและประเด็นความยั่งยืนของบริษัทจึงเป็นเรื่อง ที่สำคัญที่สร้างความอ่อนไหวต่อการดำเนินธุรกิจ การเป็นองค์กรที่ถูกยอมรับและได้ชื่อว่า “เป็นองค์กรที่ยั่งยืน” จึงเป็น จุดสำคัญที่พิสูจน์ความเป็นผู้นำของคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง
นอกจากนี้ คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงที่เป็นกลุ่มตัวอย่างของการศึกษานี้ ยังเห็นว่าการบริหารจัดการ ที่ประยุกต์ตัวชี้วัดความยั่งยืนดังกล่าวเข้าไปสู่กลยุทธ์ธุรกิจ มีความสัมพันธ์กันใน 5 ประการ ดังนี้
1.ความเสี่ยง
คงหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าธุรกิจทั่วโลกกำลังเผชิญกับความเสี่ยงและอุปสรรคใหม่ๆ ทั้งความเสี่ยงจากการผันผวนของราคา พลังงาน สินค้าเกษตร สภาพากาศที่เปลี่ยนแปลงและไม่เคยประสบมาก่อน ความน่าเชื่อถือของ แบรนด์ การบริหารจัดการ ห่วงโซ่อุปทาน กฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลง และการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น ดังนั้น การริเริ่มที่จะปรับปรุง สิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การอนุรักษ์
1/3
ทรัพยากรธรรมชาติที่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ และ ความเข้าใจถึงแนวโน้มของความเสี่ยงเหล่านี้ จะช่วยให้บริษัทจัดระบบบริหารและป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลถึง ความต่อเนื่องของธุรกิจได้อย่างชาญฉลาดทั้งในปัจจุบันและอนาคต
2.โอกาส
ประเด็นความยั่งยืนเป็นโอกาสช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของของทุน (Capital) ขณะเดียวกันช่วยลดต้นทุนและ ค่าใช้จ่ายจากการปฏิบัติตามข้อกำหนด (Compliance) และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพภายใน เช่น การจัดการสภาพแวดล้อมของสิ่งปลูกสร้าง (ได้แก่ อาคารสำนักงาน ศูนย์คอมพิวเตอร์ โรงงานผลิต เป็นต้น) นอกจากนี้ การวางแผน การติดตาม และการคำนึงถึงการใช้วัตถุดิบในการผลิตอย่างใส่ใจก็เป็นโอกาสนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการ ผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ขณะที่การส่งเสริมคู่ค้าให้ร่วมพัฒนาความยั่งยืนไปด้วยกันเป็นโอกาสให้คู่ค้าสร้าง ความยั่งยืนให้ตนเองและนำไปสู่โอกาสสร้างความแข็งแรงให้กับห่วงโซ่อุปทานของบริษัท รวมถึงโอกาสเติบโตของ ผู้ประกอบการรายย่อยในสังคม สุดท้ายยังได้สร้างโอกาสให้เกิดขึ้นระหว่างลูกค้าและบริษัทโดยการให้ความรู้เกี่ยวกับคุณค่า ของการใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่ยั่งยืนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ซื้อ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะนำไปสู่โอกาสที่ขยายกว้างขึ้น ของบริษัท ที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างแบรนด์ที่ยั่งยืน
3.นวัตกรรม
บริษัทใหญ่ๆ จำนวนมากที่เติบโตขึ้นโดยการใช้ประเด็นความยั่งยืนมาสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งการทบทวนของเดิม ที่มีอยู่และการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ อาทิ ธุรกิจผลิตรถยนต์ การผลิตวัสดุก่อสร้าง การจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและ เทคโนโลยีด้านพลังงาน เป็นต้น ซึ่งนวัตกรรมใหม่นี้สามารถสร้างผลกระทบทางบวกให้ผู้เกี่ยวข้อง รวมไปถึงช่วยพัฒนา ทักษะการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพของแรงงานอีกด้วย
4.ความสามารถของบุคลากรด้านความยั่งยืน
การสรรหาและการรักษาบุคลากรที่มีความสามารถเป็นเรื่องที่คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง (C-suite) ต้อง คำนึงถึงเพื่อสร้างความมั่นใจในอนาคตของบริษัท ในขณะเดียวกันความรู้ความสามารถด้านการพัฒนาความยั่งยืนก็เริ่ม เป็นทักษะที่ผู้สำเร็จการศึกษายุคใหม่จากโรงเรียนธุรกิจและวิศวกรรมชั้นนำให้ความสำคัญมากขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่าง ให้กับตนเองให้เป็นที่สนใจของบริษัทชั้นนำด้านความยั่งยืน และในอีกด้านหนึ่งคนรุ่นใหม่เองก็เลือกที่จะร่วมงานกับบริษัท ที่ให้ความสำคัญในการดำเนินธุรกิจอย่างคำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนด้วยเช่นกัน
5.ความเป็นเลิศ
การขยายตัวทางการค้าและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้น บริษัทจึงต้อง พยายามรักษาความสามารถในการแข่งขันของตนเองทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ เพื่อมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศเหนือ คู่แข่ง ดังนั้น การฝึกฝนความเป็นเลิศจึงต้องเริ่มจากการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ตั้งแต่ระดับบุคคล ทีมงาน ตลอดจน ในห่วงโซ่คุณค่าของบริษัท นั่นแสดงว่าบริษัทไม่สามารถเติบโตได้อย่างลำพังโดยละเลยต่อห่วงโซ่คุณค่าของตนเอง บริษัทต้องพัฒนาและแสดงออกถึงความยั่งยืนของตนเองด้วยการนำเสนอแนวคิดและตัวชี้วัดต่างๆ ผ่านการเปิดเผยข้อมูล หรือการจัดทำรายงานความยั่งยืน รวมถึงการกำหนดเป้าหมายและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเพื่อเสริมสร้างบทบาทการเป็น ธุรกิจที่เป็นเลิศไปพร้อมกับใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม
ดังนั้น จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่า คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง (C-suite) ส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าการบูรณาการ กลยุทธ์ความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ นอกจากจะช่วยรักษาใบอนุญาตทางสังคมของบริษัท (License to Operate) ในเบื้องต้นแล้ว ยังเป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยขับเคลื่อนให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรงและยั่งยืนในระยะยาวท่ามกลาง ความแปรปรวนของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ที่มา: บทความ “Why boards and C-suites should fuse sustainability with strategy” โดย Terry F. Yosie
เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ BreenBiz เมื่อ 4 เม.ย. 2560
ข่าวเด่น