การส่งเสริมให้ ผู้ประกอบการแปรรูป ผลิตภัณฑ์ ยางพาราพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน มอก . เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราให้มีการนายางพารามาใช้กันอย่าง แพร่หลายมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้น้ายางพาราที่เกษตรกรผลิตขึ้นมีการซื้อขาย ทาให้เกิดการหมุนเวียนในระบบ เศรษฐกิจ และสร้างมูลค่ายางในประเทศ ขานรับนโยบายของรัฐบาลเพื่อแก้ไขวิกฤติราคายางพาราอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันสมอ.ดำเนินการกาหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่ทาจากยางพาราและประกาศใช้แล้วจานวน155 มาตรฐาน เป็นมาตรฐานทั่วไปจานวน152 มาตรฐาน และเป็นมาตรฐานบังคับที่ต้องมีความปลอดภัยเป็นพิเศษ จานวน 3 มาตรฐาน ได้แก่ มอก.683–2530 ยางในรถจักรยานยนต์ มอก.969-2533 หัวนมยางสาหรับขวด นม และ มอก.1025–2539 หัวนมยางดูดเล่น นอกจากนี้ สมอ . ยังได้ทางานร่วมกับหน่วยงานวิจัยยางของ ประเทศในการผลักดันมาตรฐานผลิตภัณฑ์ยางที่กาหนดขึ้นจากการวิจัยในประเทศ ไปประกาศเป็นมาตรฐาน ระหว่างประเทศ (มาตรฐาน ISO) หลายมาตรฐาน และยังได้ปรับมาตรฐานสาขาผลิตภัณฑ์ยางให้สอดคล้องกันกับ ประเทศในภูมิภาคอาเซียน จานวน 56 มาตรฐาน โดยมาตรฐานเหล่านี้ จะช่วยสร้างความเข้มแข็งของ ภาคอุตสาหกรรมทั้งในด้านกระบวนการผลิตและการตรวจสอบรับรองจะเป็นกุญแจและใบเบิกทางที่สำคัญในการ ขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ และเสริมสร้างสมรรถนะในการแข่งขันในตลาดการค้าสากล
ข่าวเด่น