ข่าวประชาสัมพันธ์
ก.เกษตรฯ เตือนประชาชน เตรียมพร้อมรับมืออิทธิพลพายุโซนร้อน ฮาโตะ


 

พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การเกิดอุทกภัยในช่วงฤดูฝนที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความห่วงใยประชาชนที่อาจจะประสบอุทกภัยดังกล่าว และจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนเซินกา ทำให้มีผลกระทบกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งขณะนี้สถานการณ์เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว แต่เนื่องจากมีฝนตกต่อเนื่องติดต่อกัน 2 สัปดาห์ ทำให้ยังมีน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ จึงได้สั่งการให้กรมชลประทานติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด รวมทั้งให้การช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับความเดือดร้อนน้อยที่สุด ทั้งนี้ แม้สถานการณ์จะดีขึ้นแต่ก็ไม่ประมาท กรมชลประทานจึงได้วางเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และสถานีสูบน้ำ กระจายตามจุดต่าง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ และเดินเครื่องสถานีสูบน้ำ ในลุ่มน้ำชี-มูล ในจังหวัดบึงกาฬ หนองคาย หนองบัวลำพู นครพนม สกลนคร อุดรธานี กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี รวมเครื่องสูบน้ำ 122 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 64 เครื่อง และสำรองเครื่องผลักดันน้ำ 56 เครื่อง สำหรับการสำรองเครื่องจักร เครื่องมือใน .ขอนแก่น ประกอบด้วย รถบรรทุก 13 คัน เครื่องผลักดันน้ำ 2 เครื่อง เครื่องสูบน้ำ 137 เครื่อง และใน .อุบลราชธานี ประกอบด้วย เครื่องขุดแขนยาว 5 คัน เครื่องสูบน้ำ 30 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 22 เครื่อง ซึ่งคาดการณ์ว่าหากมีฝนตกเพิ่ม จะสามารถช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำชี-มูล ขณะนี้ลุ่มน้ำอูนและลุ่มน้ำก่ำระดับน้ำลดลงเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ส่วนลุ่มน้ำชีตอนบน ลุ่มน้ำมูลตอนบน ระดับน้ำลดลงต่ำกว่าตลิ่ง อย่างไรก็ตาม บริเวณที่ยังมีผลกระทบ ได้แก่ ลำน้ำชีตอนล่างบริเวณ .กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด และยโสธร ลำน้ำมูลที่บริเวณ .อุบลราชธานี ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำท่วมคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติภายในต้นเดือนกันยายน

นายสัญชัย เกตุวรชัย อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันมีปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี C.2 .เมืองนครสวรรค์ 1,778 ลบ../วินาที ระดับน้ำต่ำกว่าตลิ่ง 3.45 เมตร มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา 1,498 ลบ../วินาที รับน้ำเข้าระบบชลประทานฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก รวมประมาณ 287 ลบ../วินาที ทั้งนี้ กรมชลประทานจะบริหารน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ให้เข้าคลองชลประทานให้มากที่สุดตามศักยภาพของพื้นที่ เพื่อควบคุมปริมาณน้ำให้ไหลลงสู่ด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาไม่เกิน 1,500 ลบ../วินาที และมีปริมาณน้ำไหลผ่านที่ .บางไทร 1,518 ลบ../วินาที ซึ่งต่ำกว่าความจุที่สามารถรับน้ำได้ถึง 3,500 ลบ../วินาที อย่างไรก็ตามจะใช้ประโยชน์จากประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ช่วยเร่งระบายน้ำออกสู่ทะเลให้เร็วขึ้น และจากการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำขณะนี้ ยืนยันว่าไม่มีผลกระทบต่อลุ่มน้ำเจ้าพระยา จึงไม่ทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลาง

สำหรับอิทธิพลของพายุโซนร้อนฮาโตะนั้น ไม่มีผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทย เนื่องจากพายุดังกล่าวขึ้นที่ฝั่งประเทศจีน แต่จะเกิดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เพิ่มกำลังแรงขึ้น ทำให้เกิดฝนตกเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ภาคเหลือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันอออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก วันที่ 26 – 27 .. 60 มีฝนตกกระจาย10 – 35 มม. วันที่ 28 .. 60  ภาคเหนือ 10-35 มม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10-60 มม. ภาคตะวันออก 60 – 90 มม. ดังนั้น กรมชลประทานจึงได้เตรียมพร้อมรับมือโดยให้โครงการชลประทานทุกแห่ง โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมเดิม เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้น ด้วยการกำชับเจ้าหน้าที่ให้เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ของตนอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้ตรวจสอบระบบและอาคารชลประทาน ให้สามารถรองรับสถานการณ์น้ำได้อย่างเต็มศักยภาพ พร้อมกับให้บริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุมอย่างเคร่งครัด สำหรับพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมเป็นประจำ ให้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำประจำไว้ในพื้นที่ ตลอดจนบูรณาการร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการแจ้งเตือนประชาชน


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 25 ส.ค. 2560 เวลา : 02:15:29
23-06-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ June 23, 2024, 8:34 am