ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศรายชื่อธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญเชิงระบบ (Domestic Systemically Important Banks: D-SIBs) โดยธนาคารพาณิชย์ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์มี 5 ธนาคารขนาดใหญ่ ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์

นางกิตติยา โตธนะเกษม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส Chief Financial Officer ธนาคารไทยพาณิชย์
เปิดเผยว่า ประกาศดังกล่าวเป็นแนวทางการกำกับดูแลธนาคารพาณิชย์ของธนาคารแห่งประเทศไทยตามเกณฑ์บาเซิล 3 เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญเชิงระบบ มีเสถียรภาพและมีการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระยะยาว รวมถึงเพิ่มความสามารถในการการดำเนินงานได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ในกลุ่มดังกล่าว ต้องดำรงเงินกองทุนตามกฎหมายขั้นต่ำ (Common Equity Tier 1) เพิ่มขี้น 1% ในปี 2563 ซึ่งจะทำให้อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ขั้นต่ำกลายเป็น 9.5% และอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นเป็น 12%
ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2560 ธนาคารไทยพาณิชย์ มีอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 อยู่ในระดับ 15.49% และมีอัตราส่วนเงินกองทุนรวมต่อสินทรัพย์เสี่ยงทั้งสิ้นอยู่ที่ 17.62% ซึ่งสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอยู่มาก (ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์ขั้นต่ำในปัจจุบันหรือในอนาคตตามตารางประกอบ) ทั้งนี้เป็นไปตามนโยบายธนาคารฯที่ให้ความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องความมั่นคงของเงินกองทุนให้สูงกว่าเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยเสมอมาเพื่อพร้อมต่อการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
ด้วยสถานะที่แข็งแกร่งของเงินกองทุน ธนาคารไทยพาณิชย์จึงไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ จากการประกาศในครั้งนี้
ข้อมูลอัตราเงินกองทุนของธนาคารไทยพาณิชย์
(ร้อยละ)
|
อัตราส่วนเงินกองทุนขั้นต่ำตามกฎหมาย
|
SCB
|
|
2560
|
2563
|
สิงหาคม 2560
|
Common Equity Tier 1 (CET1)
|
5.75
|
8.00
|
15.49
|
อัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1)
|
7.25
|
9.50
|
15.49
|
อัตราส่วนเงินกองทุนรวม (Total CAR)
|
9.75
|
12.00
|
17.62
|
ข่าวเด่น