การตลาด
สกู๊ป"ธุรกิจศูนย์การค้า" มั่นใจเศรษฐกิจไทยเท 5.7 หมื่นล้าน ลงทุนต่อเนื่อง


ยังคงเดินหน้าลงทุนขยายธุรกิจกันอย่างต่อเนื่อง สำหรับผู้ประกอบการในธุรกิจศูนย์การค้า  เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เห็นผลตอบรับระยะยาว และใช้เวลาในการก่อสร้างค่อนข้างนาน  ดังนั้น ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไรผู้ประกอบการแต่ละรายจึงเลือกที่จะขยายการลงทุนศูนย์การค้ากันอย่างต่อเนื่อง

 

  

ทั้งนี้ เห็นได้จากเม็ดเงินลงทุนของสมาชิกภายในสมาคมศูนย์การค้าไทย  ซึ่งล่าสุดออกมาประกาศความมั่นใจเศรษฐกิจไทย ด้วยการอัดเง็ดเงินลงทุนรวมกันกว่า 57,000 ล้านบาท ขยายศูนย์การค้าแห่งใหม่ควบคู่ไปกับการปรับปรุงศูนย์การค้าแห่งเก่าต่อเนื่องไปถึงปี 2562  

สำหรับศูนย์การค้าแห่งใหม่ที่มีขนาดใหญ่  ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างและคาดว่าจะแล้วเสร็จพร้อมเปิดให้บริการในปี 2561 มีด้วยกันหลายโครงการ ประกอบด้วย  โครงการ เซ็นทรัล ภูเก็ต   ของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) โครงการไอคอนสยาม ของบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด  โครงการศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 พัทยา .ชลบุรี ของบริษัท  สยาม รีเทล ดีเวลล็อปเม้นท์ จำกัด โครงการ มาร์เก็ต เพลส  บางกอก  ของกลุ่มแพลตตินั่ม และโครงการ เมกา บางนา เฟส 2 ของบริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์  จำกัด (มหาชน) 

จากการขยายตัวดังกล่าวของศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ส่งผลให้ ในปี 2562 จะมีพื้นที่ศูนย์การค้าของสมาคมศูนย์การค้าไทยจะมีทั้งหมด 107 แห่ง มีพื้นที่รวมกันเป็น 9.1 ล้านตร.. จากปัจจุบันมีพื้นที่รวมกันอยู่ที่ประมาณ  8 ล้านตร.. แนวโน้มที่ดีดังกล่าว ทำให้สมาคมศูนย์การค้าไทยมั่นใจว่าภาพรวมธุรกิจศูนย์การค้าในสิ้นปี 2560 นี้น่าจะมีอัตราการเติบโตไม่ต่ำกว่า 4-5%  สูงกว่าจีดีพีของประเทศที่คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ประมาณ 3.8-4%

 

 

..วัลยา จิราธิวัฒน์ นายกสมาคมศูนย์การค้าไท กล่าวว่า  จากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของธุรกิจค้าปลีกไทย ส่งผลให้ภาคธุรกิจค้าปลีกสามารถสร้างเม็ดเงินให้กับประเทศไทยคิดเป็นสัดส่วน 15%  ของจีดีพีประเทศ  นั่งอันดับ 2 รองอุตสาหกรรม  ซึ่งนอกจากเดินหน้าขยายศูนย์การค้าในทำเลที่มีศักยภาพแล้ว  ผู้ประกอบการยังเดินหน้าขยายธุรกิจให้สอดรับกับนโยบายของภาครัฐ  ด้วยการร่วมกันลงทุนในจังหวัดต่างๆ ที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐไม่ว่าจะเป็นโครงการมอเตอร์เวย์  รถไฟรางคู่  หรือรถไฟความเร็วสูงในจังหวัดหลัก  เช่น  โครงการก่อสร้างระบบคมนาคมสู่จังหวัดนครราชสีมาของภาครัฐ เพื่อชูโคราชเป็นเมืองศูนย์กลางของภาคอีสาน 

หลังจากภาครัฐออกมาประกาศนโยบายดังกล่าว ทางสมาชิกของสมาคมก็เดินหน้าลงทุนพัฒนาศูนย์การค้าต่างๆ กันอย่างต่อเนื่องทันที  เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะเกิดในอนาคตภายในพื้นที่ดังกล่าว  ซึ่งในส่วนของโครงการที่ได้ทำการพัฒนาและเปิดให้บริการไปแล้วประกอบด้วย  ศูนย์การค้าเทอร์มินอล  21 โคราช  และการขยายพื้นที่ส่วนต่อขยายของศูนย์การค้าเดอะมอลล์ โคราช  

การลงทุนดังกล่าวของผู้ประกอบการศูนย์การค้านอกจากจะเป็นการรองรับการขยายตัวโครงการเมกะโปรเจ็คต์จของภาครัฐแล้ว  ยังช่วยเสริมการเป็นเมืองเกตเวย์ ของภาคอีสาน  โดยใช้โคราชหรือจังหวัดนครราชสีมาเป็นศูนย์การทางด้านเศษฐกิจ  เพราะจากการเข้าไปลงทุนของผู้ประกอบการศูนย์การค้า 3 โครงการ  น่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด  สร้างงาน สร้างอาชีพ  ช่วยดึงคนกลับสู่ท้องถิ่น  และช่วยให้  SMEs ท้องถิ่นมีรายได้เพิ่มขึ้น 

นอกจากนี้  การลงทุนในพื้นที่โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC  โดยเฉพาะในจังหวัด ชลบุรี  และ ระยอง  ถือเป็น 2 จังหวัดหลักที่ผู้ประกอบการค้าปลีกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก  เห็นได้จากการเข้าไปลงทุนศูนย์การค้าต่างๆ  เช่น โครงการเทอร์มินอล 21 พัทยา  ,โครงการเซ็นทรัล มารีนา และโครงการเซ็นทรัล พลาซา ระยอง รวมไปถึงการลงทุนในโซนกรุงเทพฯ  ย่านตะวันออกอย่างบางนา-สุวรรณภูมิ  เพื่อเชื่อมต่อกับเขต EEC  ได้แก่ โครงการ เมกาซิตี้, ซีคอนซิตี้, แบงค็อกมอลล์ และการปรับโฉมใหม่ของ เซ็นทรัลพลาซา บางนา โดยโครงการเหล่านี้จะช่วยเสริมความสมบูรณ์ และรองรับเศรษฐกิจที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคต พร้อมทั้งตอบรับไลฟ์สไตล์ยุคใหม่ให้ย่านดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์

 

 

..วัลยา กล่าวอีกว่า  นอกจากจะเน้นการลงทุน เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างมากขึ้นแล้ว การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคก็มีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนธุรกิจศูนย์การค้า ดังนั้น สมาคมฯจึงได้มีการกำหนดกลยุทธ์การรองรับความต้องการของผู้บริโภคออกมาเป็น  3  กลยุทธ์   ได้แก่ 1. Customer-Centric ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลาง ด้วยการออกแบบศูนย์การค้าและปรับรูปแบบการให้บริการให้ทันไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคยุคดิจิทัลทุกเพศทุกวัยที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว 

ส่วนกลยุทธ์ที่  2  คือ  Omnichannel  เน้นทำการตลาดแบบผสมผสานทุกช่องทาง เชื่อมประสบการณ์ช้อปปิ้งแบบไร้รอยต่อ และตอบสนองความต้องการแบบ personalized โดยใช้ข้อมูลจากฐาน big data ของลูกค้า เช่น The 1 Card, M Card, Viz Card เพื่อทำการตลาดแบบเจาะกลุ่ม แบ่งตามพฤติกรรมการซื้อ ไลฟ์สไตล์ ความชอบ สามารถจับกลุ่มทาร์เก็ตที่ตรงเป้าหมาย แม่นยำมากกว่าการทำการตลาดแบบหว่านแห  และกลยุทธ์ที่ 3 คือ  Build partnership การสร้างพันธมิตร ด้วยการเปลี่ยนคู่แข่งให้กลายเป็นคู่ค้า เพราะคู่แข่งที่ท้าทายที่สุดในยุคนี้คือ ผู้บริโภค โดยศูนย์การค้าจะผนึกกำลังกันร่วมสนับสนุนนโยบายต่างๆของภาครัฐ และส่งเสริมให้เกิดย่านช้อปปิ้งทั้งในกรุงเทพฯ และเมืองท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว

จากแนวทางธุรกิจดังกล่าวสมาคมศูนย์การค้าไทยมั่นใจว่า  ภาพรวมธุรกิจศูนย์การค้าของไทยนับจากนี้น่าจะมีอัตราการเติบโต 4-5%  ต่อเนื่อง  เพราะปัจจุบันผู้ประกอบการศูนย์การค้าส่วนใหญ่เริ่มปรับตัวตาม 3 กลยุทธ์ดังกล่าวมากขึ้น  และหลังจากปรับไปก็พบว่าลูกค้าให้ผลการตอบรับเป็นอย่างดี  จึงทำให้เกิดความมั่นใจว่าสิ่งที่ทำเดินมาถูกทางแล้ว


LastUpdate 23/10/2560 13:57:03 โดย : Admin
26-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 26, 2024, 7:27 pm