กองทุนรวม
บลจ.บีแคป ปลื้มความสำเร็จ 2 กองทุนดาวรุ่งพุ่งแรงของบริษัทฯ


บลจ.บางกอกแคปปิตอล”  ปลื้ม 2 กองอีทีเอฟ “BMSCITH-BSET100” สำเร็จตามเป้า Tracking Error  ต่ำ0.05%  - สภาพคล่องดี พร้อมเดินหน้าให้ความรู้นักลงทุนต่อเนื่อง เปิดแผนปีหน้าส่งกองอีที
เอฟเพิ่มเติมอีก  7 กอง ชูสไตล์การลงทุนที่หลากหลายเป็นจุดขาย ประเดิมหุ้นขนาดกลาง-เล็กธรรมมาภิบาล”  ขายกลางเดือนก..61 ลั่นขอเวลา 5 ปี ทำตลาดกองทุนอีทีเอฟในไทยให้เกิดขึ้น ก่อนขยับ ออกต่างประเทศต่อไป

 

 


       
  ดร.ธนาวุฒิ  พรโรจนางกูร  หัวหน้าสายงานจัดการกองทุน บลจ.บางกอกแคปปิตอล จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนอีทีเอฟ  (Exchange Traded Fund : ETF) ทั้ง 2 กอง ที่บริษัทออกมาเป็นทางเลือกใหม่ให้
กับนักลงทุนไทยทั้ง   “กองทุนเปิด  BCAP  MSCI  Thailand  ETF  FUND  (BMSCITH)”  และกองทุนเปิด  BCAP  SET100 ETF (BSET100)” ถือว่าประสบความสำเร็จด้วยดีในแง่ของเป้าหมาย กองทุนในการแทรคดัชนีอ้างอิงแล้วถือทำได้ดีมาก กอง BMSCITH มีค่าความผันผวนของส่วนต่างระหว่าง ผลตอบแทนเฉลี่ยกองทุนรวมและผลตอบแทนดัชนีอ้างอิง  (Tracking  Error)  ย้อนหลัง  1 ปี อยู่ที่ 0.05%  เท่านั้น ในขณะที่กองทุนคู่แข่งในกลุ่มนี้ที่มี Tracking Error ดีสุดก็อยู่ที่กว่า 0.2% จะเห็นว่า
Tracking Error
ของกองทุน BMSCITH ต่ำกว่ามากเป็น 1 ใน 4 ของกองที่ดีสุดในกลุ่มนี้เท่านั้น ในส่วนของกอง  BSET100  เนื่องจากเพิ่งจัดตั้งได้ไม่นานแต่ก็คิดว่าน่าจะใกล้เคียงกันเพราะใช้กลยุทธ์ใน
การแทรคดัชนีเช่นเดียวกับกอง BMSCITH
         
ในเรื่องของสภาพคล่องในการซื้อขายเองกองทุนทั้ง  2 ก็ถือว่าประสบความสำเร็จ ทางบมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวงที่ทำหน้าที่สร้างสภาพคล่อง (Market Maker) ให้กับกองทุนทั้ง 2 ก็สามารถทำได้เป็นอย่างดี  ช่วงราคาขยับ 0.01 – 0.02 บาท เท่านั้น ซึ่งหากไปเปรียบเทียบกับกองอีทีเอฟที่มีอยู่แล้วจะพบว่าส่วนใหญ่ไม่มีสภาพคล่องในการซื้อขาย ตรงจุดนี้ก็ถือว่าประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน
         
สำหรับลูกค้าที่ต้องการเคาะซื้อ-ขายมากกว่า  10  ล้านบาท ขึ้นไป แนะนำให้ติดต่อ บมจ.หลักทรัพย์บัวหลวง  ได้โดยตรงทาง Market Maker สามารถทำให้ท่านได้ราคาเดียวทั้งจำนวนได้ เพราะหากไป
เคาะในกระดานอาจจะทำให้ราคาขยับขึ้นไปหลายช่วงราคาได้  การติดต่อ  Market  Maker  น่าจะ สะดวกและมีความคล่องตัวกว่า
          
ดร.ธนาวุฒิ  ยังกล่าวอีกว่า จุดเด่นของกองทุนอีทีเอฟคือการบริหารเชิงรับ (Passive Management)    ยังคงเป็นสิ่งที่บริษัทยังคงต้องทำกันต่อไปในการให้ความรู้ทำความเข้าใจกับนักลงทุน เพราะบริษัทมีจุดยืนชัดเจนว่าเป็นบลจ.ที่มุ่งเน้นกองทุนดัชนีและอีทีเอฟเป็นธุรกิจหลักสำหรับอุตสาหกรรม กองทุนรวมของไทย   จากการเก็บข้อมูลในช่วง   10  ปีที่ผ่านมาพบว่ากองทุนที่มีผลการดำเนินงานติดTop25%  ที่มีผลงานดีสุดของปี มีความน่าจะเป็นมากกว่า 50% ที่ในปีถัดไปจะหล่นไปอยู่ในกลุ่มกองทุนที่มี
ผลงานอยู่ในกลุ่มท้ายตาราง    ซึ่งกองทุนอีทีเอฟจะมาตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดีเพราะเป็นการลงทุนที่มี ความเสี่ยงน้อยที่สุดในการเป็นทางเลือกที่จะทำให้เกิดการเลือกกองทุนที่ผิดตัว
           “
ในแง่ของผลการดำเนินการกองทุนอีทีเอฟ ถือว่าเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์นักลงทุน  แต่เราคงต้องให้ความรู้กับนักลงทุนค่อนข้างเยอะ เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างกองทุนที่บริหารเชิงรับ (Passive  Fund)  กับกองทุนที่บริหารเชิงรุก  (Active  Fund)  เราคงไม่ได้บอกว่าไม่มีกองทุน
Active  Fund
ที่สามารถเอาชนะตลาดได้อย่างสม่ำเสมอในระยะยาว ข้อเท็จจริงคือมีแต่มีไม่มากและ มักจะเป็นกองทุนที่มีกลยุทธ์ในการลงทุนที่ชัดเจน  ซึ่งนักลงทุนก็มีความเสี่ยงในการที่จะต้องไปเลือกผู้ชนะ
ในระยะยาวซึ่งมีอยู่จำนวนน้อยให้เจอ ในขณะที่กองทุนอีทีเอฟซึ่งบริหารเชิงรับกลับเป็นคำตอบสำหรับทาง เลือกการลงทุนที่ง่ายกว่ามาก
         
ดร.ธนาวุฒิ กล่าวเสริมว่า ในปี2561 บริษัทมีแผนออกกองทุนอีทีเอฟเพิ่มเติมอีก 7 กอง โดยกองแรกของปี2561  นั้นน่าจะออกได้กลางเดือน ..61 เป็นกองทุนอีทีเอฟที่ลงทุนในหุ้นขนาดกลาง และเล็กที่มีธรรมาภิบาล  และจะตามมาด้วยกองอีทีเอฟหุ้นที่มีสไตล์การลงทุนที่ชัดเจน  เช่น  กองอีทีเอฟที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นราคาถูก  (Value Investment) เป็นต้น ซึ่งกลยุทธ์การคัดเลือกหุ้นที่ชัดเจนนี้จะคงอยู่เสมอไม่ได้ขึ้นกับผู้จัดการกองทุนแต่ประการใด   บริษัทพยายามจะนำเสนอโพรดักท์กองทุนอีทีเอ
ฟที่มีสไตล์การลงทุนที่ชัดเจนให้มีความหลากหลาย เพื่อให้นักลงทุนสามารถนำไปจัดพอร์ตการลงทุนหรือกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุนของตัวเองได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันยังไม่มี ทั้งนี้กลยุทธ์ที่หลากหลาย เช่น กองอีที
เอฟหุ้นคุณค่า กองอีทีเอฟหุ้นเติบโตหรือกองอีทีเอฟหุ้นปันผล เป็นต้น
         
หากมีสไตล์การลงทุนที่หลากหลายมากเพียงพอ  ก็เชื่อว่าทางบริษัทหลักทรัพย์ต่างๆ  ก็จะสามารถนำไปเขียนเป็นบทวิเคราะห์เพื่อแนะนำการลงทุนให้กับนักลงทุนได้มากขึ้นด้วย   ตรงนั้นก็จะทำให้นักลงทุนรู้จักและสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์จากกองทุนอีทีเอฟได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน ในช่วง 5 ปี จากนี้เราจะทำให้กองทุนอีทีเอฟในไทยเกิดขึ้นให้ได้  ถึงจุดหนึ่งที่ตลาดอีทีเอฟในไทยโตมากพอ โอกาสที่จะทำกองอีทีเอ
ฟต่างประเทศก็จะตามมา ซึ่งตั้งเป้าไว้ว่าภายใน 5 ปีนี้จะต้องทำให้ตลาดกองทุนอีทีเอฟในไทยเกิดขึ้นให้ได้


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 21 พ.ย. 2560 เวลา : 12:03:06
29-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 29, 2024, 3:36 am