เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ส่งออกไทยเดือน พ.ย. ขยายตัว 13.4% ลุ้นดัน GDP


Key point

มูลค่าการส่งออกไทยเดือน .. ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ที่13.4%YOY นำโดยการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ น้ำมันสำเร็จรูป ยางพาราและผลิตภัณฑ์ ที่เติบโต 16%YOY และ41%YOY ตามลำดับ ด้านการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมหลักยังคงเติบโตตามเศรษฐกิจโลก เช่น คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ และรถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องที่ 23%YOYและ 13%YOY ตามลำดับ ในขณะเดียวกัน สินค้าเกษตรอย่าง ข้าว ก็ขยายตัวได้กว่า 50% จากการส่งออกไปยังแคเมอรูน แอฟริกาใต้ เบนิน และบังคลาเทศที่เริ่มมีการสั่งซื้อข้าวจากไทยหลังจากหยุดสั่งซื้อมากว่า 5 ปี ทั้งนี้ เมื่อหักการส่งออกทองคำที่หดตัวกว่า73%YOY การส่งออกไม่รวมทองคำในเดือน .. ขยายตัวได้สูงถึง 15.5%YOY สะท้อนการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของการส่งออกสินค้า สำหรับมูลค่าการส่งออกรวมใน 11 เดือนแรกของปีเติบโตอยู่ที่ 10.0%YOY

มูลค่าการนำเข้าเติบโตต่อเนื่องที่ 13.7%YOY จากการนำเข้าสินค้าในกลุ่มสินค้าเชื้อเพลิงที่เติบโตกว่า 21%YOY ตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ด้านการนำเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยังขยายตัวกว่า 22%YOY ตามแนวโน้มการส่งออกที่เพิ่มขึ้นในสินค้ากลุ่มดังกล่าว นอกจากนี้ สินค้าทุน (ไม่รวมเครื่องบินและเรือเพิ่มขึ้นกว่า 7%YOY สะท้อนแนวโน้มการลงทุนในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว ทั้งนี้ การนำเข้ารวมใน 11 เดือนแรกของปีเติบโตกว่า 14.5%YOY

 

 

Implication

อีไอซีคาดว่ามูลค่าการส่งออกและนำเข้าทั้งปี 2017 จะขยายตัวที่10.0% และ 14.0% ตามลำดับ จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัวราว8.5% และ 13.0% ตามลำดับ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีโอกาสเติบโตได้ถึง 4.0% ในปี 2017 จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 3.8%

อีไอซีคาดมูลค่าการส่งออกทั้งปี 2018 จะขยายตัวที่ 4.2% โดยได้รับแรงขับเคลื่อนจากปัจจัยด้านปริมาณเป็นหลัก เนื่องจากเศรษฐกิจคู่ค้าหลักทั้งที่มีแนวโน้มเติบโตดีจะส่งผลให้ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมหลักจากไทยให้เติบโตได้ต่อ นอกจากนี้ อุปสงค์จากภาคครัวเรือนในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักและกลุ่มอาเซียนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศจีนที่มีนโยบายกระจายรายได้ ก็จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภคจากไทยขยายตัวได้สูงต่อเนื่องจากปี 2017 อย่างไรก็ดี ภาคการส่งออกในระยะต่อไปอาจถูกกระทบจากราคาน้ำมันที่จะไม่ได้มีอัตราการเติบโตที่สูงมากนัก ทำให้สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนราว17% ของการส่งออกทั้งหมด มีแนวโน้มเติบโตชะลอลง ในขณะเดียวกัน สินค้าโภคภัณฑ์ก็อาจถูกกดดันจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์บางประเภทที่มีแนวโน้มหดตัว และค่าเงินบาทที่แข็งค่ากว่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาค ซึ่งอาจกระทบความสามารถในการแข่งขันทางด้านราคาของผู้ส่งออก ทั้งนี้ การส่งออกไทยในปี 2018 ที่อาจเติบโตชะลอลงจากปี 2017 สอดคล้องกับแนวโน้มการเติบโตของภาคส่งออกในเอเชีย (ไม่รวม ญี่ปุ่นในปี 2018 ที่คาดว่าจะขยายตัวราว 5.1% ชะลอลงจากปี 2017 ที่เติบโตราว 7.1% จากผลสำรวจการคาดการณ์ของ Asia Pacific Consensus  เดือน ..2017

อีไอซีคาดว่ามูลค่าการนำเข้าทั้งปี 2018 จะขยายตัวที่ 7.2% โดยเติบโตตามความต้องการสินค้าวัตถุดิบและสินค้าทุน ซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวตามการลงทุนในประเทศที่คาดว่าจะฟื้นตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงอาจถูกกดดันจากราคาน้ำมันที่จะไม่ได้มีอัตราการเติบโตที่สูงมากนักเมื่อเทียบกับปี 2017


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 22 ธ.ค. 2560 เวลา : 12:17:20
28-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 28, 2024, 7:22 am