วิทยาศาสตร์
เปิดศักราชใหม่ พบกับ 'จันทร์ใหญ่ใกล้โลก' อีกครั้ง 2 มกราคมนี้


สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยจันทร์เต็มดวงใกล้โลกอีกครั้ง 2 มกราคมนี้ เป็น "ซูเปอร์ฟูลมูน" แห่งปี ใกล้ที่สุดในรอบปี 2561 ห่างประมาณ 356,595 กิโลเมตร ใกล้และใหญ่กว่าครั้งที่ผ่านมา ตั้งจุดสังเกตการณ์หลัก 4 ภูมิภาคเช่นเคยที่เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา ชวนคนไทยร่วมชมจันทร์เต็มดวงโตเต็มตาผ่านกล้องโทรทรรศน์ เห็นชัดทั้งหลุมและภูเขาบนดวงจันทร์ พร้อมเก็บภาพความประทับใจผ่านมือถือ ดึงโรงเรียนเครือข่ายอีกกว่า 260 แห่ง   ตั้งกล้องส่องจันทร์พร้อมกันทั่วประเทศ

 

 

 

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า ในคืนวันที่ 2 มกราคม 2561 ดวงจันทร์เต็มดวงจะปรากฏในตำแหน่งใกล้โลกมากที่สุดอีกครั้ง หรือเรียกว่า ซูเปอร์ฟูลมูน (Super Full Moon) ที่ระยะห่างประมาณ 356,595 กิโลเมตร ซึ่งเข้าใกล้และมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าคืนวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมาเล็กน้อย และครั้งนี้ถือว่าใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2561 อีกด้วย หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ จะมีขนาดใหญ่กว่า 7% และสว่างกว่า 16% สังเกตได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:00 . เป็นต้นไป  ผู้สนใจสามารถเฝ้ารอชมและเก็บภาพความสวยงามของดวงจันทร์ได้ในคืนดังกล่าว รวมถึงครูโรงเรียนต่าง ที่มีกล้องโทรทรรศน์ยังสามารถใช้โอกาสนี้จัดกิจกรรมดาราศาสตร์ในโรงเรียนและชุมชน สร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนไทยสนใจศึกษาดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์จากปรากฏการณ์ในครั้งนี้ได้อีกด้วย

สำหรับคืนวันที่ 2 มกราคม 2561 สดร. จัดสังเกตการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี 4 จุดหลัก ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา พร้อมโรงเรียนเครือข่ายในโครงการกระจายโอกาสเรียนรู้ดาราศาสตร์ฯ อีกกว่า 260 แห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่เวลา 17.00-22.00 .  เชิญชวนประชาชนร่วมส่องจันทร์ดวงโตชัดเต็มตาด้วยกล้องโทรทรรศน์หลายรูปแบบ และร่วมบันทึกภาพหลุมอุกกาบาตและภูเขาบนดวงจันทร์ผ่านมือถือ จุดสังเกตการณ์หลัก ได้แก่

เชียงใหม่    ลานน้ำพุ ศูนย์การค้าเมญ่า ไลฟ์สไตล์ ช้อปปิ้ง เซ็นเตอร์

                       สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 053-121268-9 ต่อ 305, 081-8854353

นครราชสีมา     หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา 

                       ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี .เมือง .นครราชสีมา

                       สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 044-216254, 086-4291489

ฉะเชิงเทรา       หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา  .วังเย็น .แปลงยาว .ฉะเชิงเทรา

                        สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 084-0882264

สงขลา             ลานชมวิวนางเงือก หาดสมิหลา .สงขลา

                        สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 095-1450411

ดร.ศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเป็นรูปวงรี 1 รอบใช้ระยะเวลาประมาณ 1 เดือน ดังนั้น แต่ละเดือนจะมีตำแหน่งที่ดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุดเรียกว่า เปริจี (Perigee) มีระยะทางเฉลี่ย 356,400 กิโลเมตรและตำแหน่งที่ไกลโลกที่สุดเรียกว่า อะโปจี (Apogee) มีระยะทางเฉลี่ยประมาณ 406,700 กิโลเมตร การที่ผู้คนบนโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงที่โตกว่าปกติเล็กน้อยในคืนที่ดวงจันทร์โคจรเข้ามาใกล้โลก นับเป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์  และแม้ว่าดวงจันทร์จะมีตำแหน่งโคจรเข้าใกล้โลกทุกเดือน แต่ดวงจันทร์ไม่ได้ปรากฏเต็มดวงทุกครั้ง ซึ่งครั้งต่อไปตรงกับวันที่ 21 มกราคม 2562 ที่ระยะห่างประมาณ 357,706 กิโลเมตร

 


 

 

 

ภาพแสดงตำแหน่งดวงจันทร์ใกล้โลกที่สุด (Perigee) และ ตำแหน่งดวงจันทร์ไกลโลกที่สุด (Apogee)

 

 

 

 

ภาพเปรียบเทียบขนาดปรากฏของดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี (ซ้าย) กับ ดวงจันทร์เต็มดวงปกติ (ขวา)


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 02 ม.ค. 2561 เวลา : 10:58:31
24-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 24, 2024, 4:18 am