ไอที
อะโดบีชี้ คนทำงานออฟฟิศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มองว่าเทคโนโลยีสำคัญกว่าสวัสดิการอื่นๆ ในที่ทำงาน


อะโดบีเผยผลการศึกษาล่าสุดเกี่ยวกับอนาคตของการทำงานในเอเชีย-แปซิฟิก ("The Future of Work: APAC Study") ซึ่งชี้ให้เห็นว่า เกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ของคนทำงานออฟฟิศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีมีความสำคัญมากกว่าสวัสดิการ เช่น อาหาร และการตกแต่งออฟฟิศอย่างสวยงาม  การศึกษาดังกล่าวอ้างอิงการสำรวจความคิดเห็นของพนักงานออฟฟิศเกือบ 5,000 คนใน 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (APAC) รวมถึงพนักงาน 346 คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย และตรวจสอบว่าบทบาทของบุคลากร ประสบการณ์ และอุปกรณ์ส่งผลให้สถานที่ทำงานเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง

 

 

 

เทคโนโลยีในที่ทำงานคือกุญแจสู่ความสำเร็จในตลาด

องค์กรต่างๆ ทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่ลงทุนในเทคโนโลยีสำหรับสถานที่ทำงานมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในตลาดมากกว่า  จากผลการสำรวจ พบว่าพนักงาน 89 เปอร์เซ็นต์ที่ระบุว่าบริษัทของตนมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเชื่อว่าบริษัทให้ความสำคัญกับเรื่องของเทคโนโลยี (เปรียบเทียบกับ 64 เปอร์เซ็นต์ที่ระบุว่าบริษัทของตนมีประสิทธิภาพต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย)  ที่จริงแล้ว พนักงานขององค์กรธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมีแนวโน้มมากกว่าสองเท่าที่จะระบุว่าองค์กรของตน 'ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากต่อเทคโนโลยี เมื่อเทียบกับพนักงานที่ระบุว่าบริษัทของตนมีประสิทธิภาพต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย

นายวี.อาร์ศรีวัตศาน กรรมการผู้จัดการ อะโดบี เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า"ในยุคของธุรกิจที่มุ่งเน้นประสบการณ์ องค์กรต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มตระหนักว่าประสบการณ์ที่สร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้าขึ้นอยู่กับความสามารถขององค์กรในการดึงดูดบุคลากรที่ดีที่สุด ดังนั้นองค์กรธุรกิจจึงเดินหน้าลงทุนในเทคโนโลยีสำหรับสถานที่ทำงาน เพื่อขับเคลื่อนประสิทธิภาพและผลผลิต และนำเสนอประสบการณ์ที่ดีเยี่ยมแก่พนักงาน" 

บุคลากร vs. อุปกรณ์

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence - AI) และการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ช่วยในการทำงานแบบอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น และช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม  ผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (40 เปอร์เซ็นต์เป็นกลุ่มที่มีความกังวลใจน้อยที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (46 เปอร์เซ็นต์เมื่อได้รับการสอบถามเกี่ยวกับผลกระทบของ AI และ Machine Learning ต่องานที่ทำอยู่  ทั้งนี้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 97 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามสนใจที่จะใช้ AI เพื่อทำงานออฟฟิศทั่วไป สูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งอยู่ที่ 93 เปอร์เซ็นต์

 

 

 

สร้างสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวโดยอาศัยเทคโนโลยี

ผลการศึกษาชี้ว่า เทคโนโลยีมีความสำคัญอย่างมากต่อการสร้างสมดุลระหว่างเรื่องงานและชีวิตส่วนตัวสำหรับคนทำงานออฟฟิศในเอเชีย-แปซิฟิก โดย 62 เปอร์เซ็นต์ของคนทำงานออฟฟิศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ที่มีประชากรมากกว่า 5 ล้านคน  ผู้ตอบแบบสอบถามเหล่านี้ระบุว่าระบบขนส่งสาธารณะที่หนาแน่นและเวลาเดินทางที่ยาวนานสำหรับระยะทางสั้นๆ คือปัญหาสำคัญที่สุดสำหรับการทำงานในเมืองใหญ่

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกือบสองในสามของคนทำงานออฟฟิศระบุว่าสิ่งอำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทางเลือกไลฟ์สไตล์ และความหลากหลายของตำแหน่งงาน เป็นเหตุผลสำคัญสำหรับการเลือกที่จะอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ พร้อมทั้งระบุว่าเทคโนโลยีช่วยเร่งประสิทธิภาพการทำงาน เพราะช่วยให้สามารถทำงานบนอุปกรณ์ที่หลากหลาย พร้อมใช้งานตลอดเวลา และสามารถประสานงานร่วมกับทีมงาน

"ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และมีศักยภาพสูงสำหรับการเติบโต โดยเทคโนโลยีดิจิตอลเป็นหนึ่งในปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญที่สุด  ขณะที่โอกาสต่างๆ มากมายเกิดขึ้นในเมืองสำคัญๆ เทคโนโลยีก็กลายเป็นเครื่องมือหลักที่จะช่วยให้บุคลากรมีความก้าวหน้าในอาชีพการทำงาน ควบคู่ไปกับการเอาชนะปัญหาท้าทายที่เพิ่มมากขึ้นในเมืองใหญ่นายศรีวัตศาน กล่าวเพิ่มเติม

คนรุ่นมิลเลนเนียลขับเคลื่อนนวัตกรรม

ขณะที่เทคโนโลยีเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรมในสถานที่ทำงาน คนทำงานรุ่นใหม่ก็เป็นแรงขับเคลื่อนที่ก่อให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรเช่นกัน โดยผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระบุว่า คนทำงานรุ่นใหม่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงโดยอาศัยการใช้งานและการมีส่วนร่วมในโซเชียลมีเดียอย่างแพร่หลาย โครงการที่จุดประกายความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม และการสร้างสภาพแวดล้อมที่หลากหลายและเปิดกว้าง

นายศรีวัตศาน กล่าวเสริมว่า "คนรุ่นมิลเลนเนียล (Millennials) เป็นกลุ่มบุคลากรที่มีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้น และสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวางในสถานที่ทำงานขององค์กรต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  บุคลากรรุ่นใหม่เหล่านี้มีบทบาทเป็นผู้นำในเรื่องของการสร้างสรรค์นวัตกรรม รวมถึงการผลักดันโครงการริเริ่มต่างๆ เช่น ความหลากหลาย และการใช้เทคโนโลยีในการทำงาน" 

 

ข้อมูลสำคัญอื่นๆ ที่พบจาก "การศึกษาอนาคตของการทำงานในเอเชีย-แปซิฟิกในส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีดังนี้:

 

-เงินไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่มีความสำคัญ – 94 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามจะยังคงทำงานต่อไปถึงแม้ว่าจะได้รับรางวัลจากล็อตเตอรี่ และเกือบ 60 เปอร์เซ็นต์จะยังคงทำงานเดิมต่อไป  35 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามจะใช้เงินรางวัลดังกล่าวสำหรับการทำงานในอาชีพที่ใฝ่ฝัน และมีเพียง 6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่จะหยุดทำงานอย่างสิ้นเชิง

-เหตุผลที่ทำงาน – การสนับสนุนรูปแบบชีวิตที่ต้องการและครอบครัวเป็นสองปัจจัยหลักสำหรับแรงจูงใจโดยรวมในการทำงานของผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชีย-แปซิฟิก  ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีความรู้สึกคล้ายคลึงกัน โดยระบุว่าการเลี้ยงดูครอบครัวเป็นแรงจูงใจที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำงาน รองลงมาคือการตอบสนองความต้องการด้านรูปแบบการใช้ชีวิต

แรงจูงใจในการทำงานที่องค์กรเดิม – ถัดจากเงินเดือน (54 เปอร์เซ็นต์และสวัสดิการ (43 เปอร์เซ็นต์ความก้าวหน้าในอาชีพเป็นแรงกระตุ้นสำคัญในอันดับรองลงมา (30 เปอร์เซ็นต์สำหรับคนทำงานออฟฟิศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการทำงานในตำแหน่งเดิม  และผู้ตอบแบบสอบถาม 21 เปอร์เซ็นต์ระบุว่า การศึกษาและการฝึกอบรม และการสื่อสารอย่างสม่ำเสมอจากผู้บริหารระดับสูง เป็นปัจจัยที่สำคัญเช่นกัน

-การสื่อสารคือสิ่งสำคัญ – 49 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าเทคโนโลยีสำหรับการสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานเป็นปัจจัยสำคัญสูงสุดในการสร้างสถานที่ทำงานที่เหมาะสม ตามมาด้วยการใช้งานเทคโนโลยีที่ทันสมัยในที่ทำงาน (46 เปอร์เซ็นต์และบริการอาหารและเครื่องดื่ม (34 เปอร์เซ็นต์)

นางสาว ซู-เยน หว่อง ประธานบริษัท Nera Telecommunications ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้บรรยายในงานสัมมนา Adobe APAC Think Tank: The Future of Work กล่าวว่า "ในอดีต การทำงานเป็นเรื่องของการใช้แรงงานเพื่อแลกเปลี่ยนกับค่าจ้าง แต่ปัจจุบันคุณค่ากำลังเคลื่อนย้ายไปสู่ทุน สินทรัพย์ เทคโนโลยี ดังนั้นเราจึงต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิดเกี่ยวกับการทำงาน กล่าวคือ เราควรมองว่าการทำงานเป็นเรื่องของการเลือกรูปแบบการใช้เวลาในลักษณะที่ก่อให้เกิดประโยชน์" 

งานสัมมนา The Future of Work: APAC Think Tank

ผู้นำอุตสาหกรรมร่วมแสดงความเห็นในงานสัมมนา Adobe APAC Think Tank: The Future of Work ซึ่งจัดขึ้นที่นครซิดนีย์ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม โดยมีการอภิปรายในประเด็นเรื่องเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อรูปแบบการใช้ชีวิตและการทำงานในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก  ผู้บรรยายจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ เชีย-ยิน กุก ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้อำนวยการของ The Thought Collective และซู-เยน หว่อง ประธานบริษัท Nera Telecommunications ดูวิดีโอการอภิปลายได้ที่ Watch-Video-on-Demand here.

การศึกษา The Future of Work: APAC Study

การศึกษา The Future of Work: APAC Study สำรวจความคิดเห็นของคนทำงานออฟฟิศกว่า 4,700 คนในเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งใช้คอมพิวเตอร์สำหรับการทำงานเป็นประจำทุกวัน โดยดำเนินการสำรวจตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม ถึง 13 พฤศจิกายน 2560 และครอบคลุมบุคลากรในภาคธุรกิจต่างๆ (การดูแลสุขภาพ การผลิต ธนาคาร/การเงิน เทคโนโลยี/โทรคมนาคม สื่อและความบันเทิง ฯลฯ) ใน 10 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ไทย เกาหลี จีน ฮ่องกง และไต้หวัน  หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูรายงานฉบับสมบูรณ์


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 17 ม.ค. 2561 เวลา : 20:34:15
27-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 27, 2024, 9:40 pm