นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้มอบหมายให้ นางกุลณี อิศดิศัยอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แถลงข่าวการจดทะเบียนธุรกิจและการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2561 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ผลการจดทะเบียนธุรกิจเดือนกุมภาพันธ์
|
• จำนวนธุรกิจจัดตั้งใหม่ มีผู้ประกอบธุรกิจยื่นขอจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัทจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 จำนวน 6,356 ราย เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2561 จำนวน 6,965 ราย ลดลงจำนวน 609 ราย คิดเป็นร้อยละ 9 และเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 5,751 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 605 ราย คิดเป็น ร้อยละ 11
• ประเภทธุรกิจจัดตั้งใหม่สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 613 ราย คิดเป็นร้อยละ 10 รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 349 ราย คิดเป็นร้อยละ 5 และธุรกิจการขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมถึงคนโดยสาร จำนวน 166 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ตามลำดับ
• มูลค่าทุนธุรกิจจัดตั้งใหม่ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 17,636 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2561 จำนวน 17,940 ล้านบาท ลดลงจำนวน 304 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2 และเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 26,989 ล้านบาท ลดลงจำนวน 9,353 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 35
• ธุรกิจจัดตั้งใหม่แบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจจัดตั้งใหม่ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท มีจำนวน 6,264 ราย คิดเป็นร้อยละ 98.55 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท มีจำนวน 81 ราย คิดเป็นร้อยละ 1.27 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.17 โดยมีธุรกิจที่ทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท มีจำนวน 1 ราย ประกอบธุรกิจโฮลดิ้ง
ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่
• ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่ทั้งสิ้น (ณ วันที่ 28 ก.พ.61) ธุรกิจที่ยังคงดำเนินกิจการอยู่ทั่วประเทศ จำนวน691,227 ราย มูลค่าทุน 17.24 ล้านล้านบาท จำแนกเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด / ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล จำนวน183,357 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.53 บริษัทจำกัด จำนวน 506,693 ราย คิดเป็นร้อยละ 73.30 และบริษัทมหาชนจำกัด จำนวน 1,177 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.17
• ธุรกิจดำเนินกิจการอยู่แบ่งตามช่วงทุน ธุรกิจส่วนใหญ่มีช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท จำนวน 610,117 ราย คิดเป็นร้อยละ 88 รวมมูลค่าทุน 0.99 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 6 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 66,856 ราย คิดเป็นร้อยละ 10 รวมมูลค่าทุน 1.80 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท จำนวน 14,254 ราย คิดเป็นร้อยละ 2 รวมมูลค่าทุน 14.45 ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84ตามลำดับ
ธุรกิจเลิกประกอบกิจการ
• จำนวนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 810 ราย เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2561 จำนวน 1,350 ราย ลดลงจำนวน 540 ราย คิดเป็นร้อยละ 40 และเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 657 ราย เพิ่มขึ้นจำนวน 153 ราย คิดเป็นร้อยละ 23
• ประเภทธุรกิจเลิกประกอบกิจการสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป จำนวน 88 ราย คิดเป็นร้อยละ 11 รองลงมา คือ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 62 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 และธุรกิจภัตตาคาร / ร้านอาหาร จำนวน 27 ราย คิดเป็นร้อยละ 3 ตามลำดับ
• มูลค่าทุนธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีจำนวนทั้งสิ้น 9,785 ล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2561 จำนวน 5,563 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 4,222 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 76 และเมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2560 จำนวน 2,565 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 7,220 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 281
• ธุรกิจเลิกประกอบกิจการแบ่งตามช่วงทุน โดยช่วงทุนที่มีจำนวนรายธุรกิจเลิกประกอบกิจการ ทั่วประเทศมากที่สุด ได้แก่ ช่วงทุนไม่เกิน 5 ล้านบาท จำนวน 767 ราย คิดเป็นร้อยละ 94.69 รองลงมา คือช่วงทุนมากกว่า 5-100 ล้านบาท จำนวน 35 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.32 และช่วงทุนมากกว่า 100 ล้านบาท มีจำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.99
การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเดือน กุมภาพันธ์ 2561
|
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เริ่มให้บริการจดทะเบียนนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด) ผ่านระบบ จดทะเบียนนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) โดยการนำเทคโนโลยีมาให้บริการจดทะเบียนนิติบุคคล ได้อย่างครบวงจร เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมในการประกอบธุรกิจให้ง่ายและสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น โดยตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2560 เป็นต้นมา จนถึง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 มีผู้สมัครลงทะเบียน จำนวน 33,823 ราย ได้รับการอนุมัติและเข้าไปยืนยันการใช้ระบบ (Activate) จำนวน 18,276 ราย และมีการรับจดทะเบียนนิติบุคคล ทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Registration) จำนวน 4,867 ราย
หมายเหตุ : - เริ่มเปิดให้บริการลงทะเบียนเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2560
- เริ่มเปิดให้บริการยื่นจดทะเบียนเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2560
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดให้บริการนำส่งงบการเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ประชาชนและ นิติบุคคลทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2558 เป็นต้นมา จนถึง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 มีสถิติผู้สมัครลงทะเบียน จำนวน 588,281 ราย แสดงตัวตนต่อเจ้าหน้าที่และได้รับอนุมัติ จำนวน 556,904 ราย โดยในปี 2559 มีผู้นำส่งงบการเงิน จำนวน 506,093 ราย แบ่งเป็นส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) จำนวน 444,222 ราย และส่งในรูปแบบกระดาษ จำนวน 61,871 ราย สำหรับงบการเงินในรอบบัญชี 2560 กรมได้กำหนดแนวทางในการขับเคลื่อนให้นิติบุคคลนำส่งงบการเงินผ่านทาง DBD e-Filing ครบ 100%
โดยเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2561 กรมได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการรับและนำส่งข้อมูลงบการเงินให้กรมสรรพากรสำหรับผู้ประกอบการที่ยื่นงบการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e-Filing) ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าและยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกรมสรรพากร โดยงบการเงินที่ยื่นผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ DBD e-Filing กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะเชื่อมไปยังกรมสรรพากรโดยอัตโนมัติซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการภาคธุรกิจ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ลดภาระของผู้ประกอบการที่มีหน้าที่ต้องยื่นงบการเงินกับทั้งสองหน่วยงาน อีกทั้งจะเป็นการสร้างมาตรฐานงบการเงินของไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศต่อไป
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงขอประชาสัมพันธ์ให้นิติบุคคล เร่งนำส่งงบการเงินและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นรอบบัญชี 2560 ผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (DBD e -Filing) ที่เว็บไซต์ www.dbd.go.th สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 0 2543 4377 , 0 2547 4390 - 91 หรือสายด่วน 1570
การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และได้รับเครื่องหมาย DBD Registered เพื่อยืนยันการมีตัวตนของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบันมีผู้ได้รับเครื่องหมาย DBD Registered (ณ ปี 46 – ก.พ.61) จำนวน 30,456 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน (ม.ค.61) จำนวน 1,172 ราย คิดเป็นร้อยละ 4 ประกอบด้วยนิติบุคคล จำนวน6,980 ราย คิดเป็นร้อยละ 23 บุคคลธรรมดา จำนวน 23,476 ราย คิดเป็นคิดเป็นร้อยละ 77 และมีร้านค้าออนไลน์ ที่ได้รับเครื่องหมาย DBD Registered จำนวน 33,466 ร้านค้า เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน (ม.ค.61) จำนวน 1,231 ร้านค้า คิดเป็นร้อยละ 4 ธุรกิจที่ได้รับเครื่องหมาย DBD Registered สูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ธุรกิจการแพทย์ สุขภาพ ยา สมุนไพร สปา จำนวน 5,818 ร้านค้า รองลงมาธุรกิจแฟชั่น/เครื่องแต่งกาย/เครื่องประดับ จำนวน 5,026 ร้านค้า และธุรกิจคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ไอทีและซอฟแวร์ จำนวน 2,946 ร้านค้า ตามลำดับ
DBD e - Service Application
|
การให้บริการตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคล ด้วยการค้นหาจากรายชื่อหรือเลขทะเบียนนิติบุคคล โดยสามารถตรวจสอบข้อมูลทั่วไป งบการเงิน รายชื่อร้านค้าออนไลน์ที่จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลสมาคมการค้า และหอการค้า ข้อมูลการจดทะเบียนหลักประกันธุรกิจ เพื่อใช้ในการตรวจค้นข้อมูลการจดทะเบียนหลักประกัน เช่นค้นหาตามทรัพย์สิน ลูกหนี้ และผู้ให้หลักประกัน เป็นต้น รวมทั้งมีบริการข่าวสาร กิจกรรม โครงการต่างๆ และสถานที่ให้บริการของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าผ่านมือถือ (Application: DBD e-Service) สามารถใช้งานได้ทั้งระบบปฏิบัติการ iOS และ Android โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2557 เป็นต้นมา เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถตรวจสอบข้อมูลนิติบุคคลได้ด้วยตนเอง สถิติผู้เข้าใช้บริการระบบสะสมจนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 รวมทั้งสิ้น 6,065,610 ครั้ง โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีผู้ใช้บริการ จำนวน 436,429 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน (ม.ค.57 - ม.ค. 61 = 5,629,181 ครั้ง) คิดเป็นร้อยละ 8
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้เปิดให้บริการขอหนังสือรับรอง รับรองสำเนา และถ่ายเอกสารผ่านทาง Internet หรือ e – Service ในปี 2549 เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการรับเอกสารทางทะเบียนนิติบุคคล งบการเงินและรายชื่อผู้ถือหุ้น โดยร่วมมือกับธนาคารพาณิชย์ให้ผู้ใช้บริการสามารถขอเอกสารผ่านช่องทาง ดังนี้
- ช่องทางการชำระเงิน ได้แก่ Internet Banking / ตู้ ATM / เคาน์เตอร์ธนาคาร
- ช่องทางการรับเอกสาร ได้แก่ Walk in / EMS / Delivery
โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 มีผู้ใช้บริการขอหนังสือรับรอง รับรองสำเนา และถ่ายเอกสารทั่วประเทศ จำนวน 14,540 ราย แบ่งเป็น กรุงเทพฯ ร้อยละ 82 และส่วนภูมิภาค ร้อยละ 18 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2560 มีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น จำนวน 1,102 ราย คิดเป็นร้อยละ 8 และช่องทางการรับเอกสารที่ผู้ใช้บริการใช้มากที่สุด คือ ช่องทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมา ช่องทางพนักงานกรมจัดส่ง (Delivery) คิดเป็นร้อยละ 22 และช่องทางรับด้วยตนเอง (Walk in) คิดเป็นร้อยละ 18 ตามลำดับ
กรมได้เปิดให้บริการออกหนังสือรับรองและรับรองสำเนาเอกสารนิติบุคคลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Certificate) ผ่านธนาคาร ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2555 โดยให้บริการผ่านธนาคาร 7 ธนาคาร ได้แก่ กรุงเทพ กรุงไทย ออมสิน กสิกรไทย ไทยพาณิชย์ ธนชาต และมิซูโฮ มีสาขารวมกันทั้งสิ้น จำนวน 3,995 สาขา จนถึง ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 มีสถิติผู้ใช้บริการ จำนวน 783,495 ราย ให้บริการหนังสือรับรอง จำนวน 744,589 ฉบับ และรับรองสำเนาเอกสาร จำนวน 338,237 แผ่น
แนวโน้มการขยายตัวของผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เปิดให้บริการจนถึงปัจจุบัน และในปี 2561 เดือนกุมภาพันธ์ มีผู้ใช้บริการ จำนวน 17,646 ราย โดยแบ่งเป็นให้บริการหนังสือรับรอง จำนวน 16,724 ฉบับ และรับรองสำเนาเอกสาร จำนวน 7,446 แผ่น เฉลี่ยการให้บริการ จำนวน 882 รายต่อวัน มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น จำนวน 5,262 ราย คิดเป็นร้อยละ 16 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา เนื่องจากธนาคารได้เพิ่มการประชาสัมพันธ์และรวมบริการ e-Certificate ควบคู่ไปกับบริการอื่นๆ ของธนาคาร โดยกรมได้จัดอบรมการให้บริการหนังสือรับรองนิติบุคคลทางอเล็กทรอนิกส์ (e-Certificate) ให้เจ้าหน้าที่ธนาคารที่เข้าร่วมโครงการใหม่ 2 ธนาคาร คือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการให้บริการหนังสือรับรองต่อไป
ข่าวเด่น