วิทยาศาสตร์
สวทช. เดินหน้าหนุน SME ในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC เพิ่มยอดขายด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม


สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) จัดกิจกรรมสัมมนาไปให้ถึง 100 ล้าน ด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์แก่ผู้ประกอบการ SME ในเขตภาคตะวันออกพื้นที่ EEC ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง ท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์จากการเกษตร กว่า 150 คน เพื่อให้ความรู้และแนวทางส่งเสริมการขายโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เช่น การตลาดดิจิทัล มาตรฐาน และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ธุรกิจมีศักยภาพการแข่งขันที่สูงขึ้น ร่วมผลักดันพื้นที่ EEC ให้มีความเข้มข้นของงานวิจัยและนวัตกรรม

 


 

นายเฉลิมพล ตู้จินดา ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) สวทช. เปิดเผยว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) และเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) ดำเนินโครงการการส่งเสริมการขายด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC ได้แก่ ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ประกอบด้วย อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง ท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์จากการเกษตร เช่น ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผลิตภัณฑ์จากไม้ยางพารา โดยมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับความรู้ ความเข้าใจ และทราบถึงแนวทางส่งเสริมการขายโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เช่น การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และด้านมาตรฐาน ThaiGAP เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้น

 

 

ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือในการเพิ่มยอดขายให้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ EEC ทาง สวทช. จะดำเนินการใน 4 ส่วนหลัก ได้แก่ การสร้างกลยุทธ์บุกตลากดิจิทัลเพื่อกำหนดทิศทางและแนวทางเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อลดความเสี่ยงในการตัดสินใจและลงทุนด้านดิจิทัลเทคโนโลยี การพัฒนาบรรจุภัณฑ์เพื่อสร้างจุดเด่นของผลิตภัณฑ์และกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค การนำ ThaiGAP มาตรฐานระบบการผลิตสินค้าเกษตรที่มีความปลอดภัยของภาคเอกชน เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตผักและผลไม้ของไทย และการนำ Food Safety ที่เป็นเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร เพื่อช่วยผู้ประกอบการเพิ่มยอดขาย นอกจากนี้ ยังมีการให้คำปรึกษาเชิงลึกเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีตามโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ ที่เป็นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้าไปช่วยพัฒนาหรือแก้ปัญหาเฉพาะทางให้กับผู้ประกอบการเพื่อเพิ่มยอดขายด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยคาดหวังว่าผู้ประกอบการในพื้นที่ EEC จะได้รับความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เป็นเครื่องมือเพิ่มยอดขาย ช่วยเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน และมีช่องทางสร้างมูลค่าให้สินค้า ตลอดจนผู้ประกอบการ SME สามารถเข้าถึงการสนับสนุนของ สวทช. มากขึ้น

 


 

กิจกรรมสัมมนาไปให้ถึง 100 ล้าน ด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์ในครั้งนี้ เป็นงานสัมมนาประชาสัมพันธ์เปิดตัวโครงการการส่งเสริมการขายด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC ของ สวทช. โดยโปรแกรม ITAP และซอฟต์แวร์พาร์ค แก่ผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่ EEC โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้ในหลากหลายเรื่อง ทั้งในด้านการตลาดดิจิทัล ได้แก่ คุณซานเยห์ สัจเดว Partner of Grant Thornton ด้านออกแบบบรรจุภัณฑ์ ได้แก่ อาจารย์เอกวัฒน์ สุวันทโรจน์ Art Director บจก.Retail Store & Design Development ด้านมาตรฐาน ThaiGAP ได้แก่ ผศ.ดร.ชัยณรงค์ รัตนกรีฑากุล ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และด้านมาตฐาน Food Safety ได้แก่ คุณทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการกองควบคุมอาหาร อย. พร้อมการเสวนาไปให้ถึง 100 ล้าน ด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์โดยผู้แทนจากบริษัท SME ที่ประสบความสำเร็จการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยในการส่งเสริมการขาย ได้แก่ คุณโชคยิ่ง พิทักษากร บจก.ซี.โอ. สวนสระแก้ว และคุณกฤษณ์ แจ้งจรัส บจก.เอ็ม.วาย.อาร์. คอสเมติกส์ โซลูชั่น ตลอดจนการออกบูธคลินิกเทคโนโลยีเพื่อรับคำปรึกษาเฉพาะทางกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรงสำหรับผู้ประกอบการ

 


 

ผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่ EEC (ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา) ที่อยู่ในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องสำอาง ท่องเที่ยว และผลิตภัณฑ์จากการเกษตร ที่สนใจนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเป็นเครื่องมือในการเพิ่มยอดขาย สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ ITAP สวทช. โทร. 0 2564 7000 ต่อ 1302 หรืออีเมล itap@nstda.or.th


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 26 มี.ค. 2561 เวลา : 18:09:16
24-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 24, 2024, 5:27 am