เทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่มีราคาถูกลง หลังรัฐบาลมีนโยบายให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง เพื่อผลักดันการเป็นThailand 4.0 ที่เน้นสร้างนวัตกรรมรองรับการแข่งขันที่มีมากขึ้น แต่ก็ต้องยอมรับผลกระทบกับแรงงานที่จะถูกทดแทน
ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ทำวิจัยโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ภายใต้หัวข้อ "หุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรม :กระแสใหม่ที่แรงงานต้องกังวลจริงหรือ"เพื่อดูแนวโน้มและผลกระทบต่อแรงงานไทย นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ยอมรับว่า แนวโน้มการใช้หุ่นยนต์ในภาคการผลิตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมีความเสี่ยงที่แรงงานไทย 3 ล้านคน จากแรงงานทั้งหมด 6 ล้านคนจะถูก แทนที่ด้วยหุ่นยนต์ในช่วง 10 ปีข้างหน้า
นายดอน กล่าวว่า การใช้เทคโนโลยี หุ่นยนต์ในการผลิต ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจ เพราะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของประเทศ ทำให้เศรษฐกิจเติบโตได้ดี และช่วยตอบโจทย์ปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศที่กำลังเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ ทำให้ประชากรวัยทำงาน ลดลงในช่วง 10 ปีข้างหน้า
นางสาวนันทนิตย์ ทองศรี เศรษฐกรฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวว่า ภาคการผลิตของไทยมีแนวโน้นนำ หุ่นยนต์มาใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง จากปัจจุบันไทยมีจำนวนหุ่นยนต์ที่ใช้ในภาคการผลิตมากเป็นอันดับ 10 ของโลก ซึ่งในอนาคตมีความเสี่ยงที่หุ่นยนต์จะเข้ามาแทนแรงงานมากขึ้น
โดยแรงงานที่มี่ความเสี่ยงถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีนี้ เป็นกลุ่มแรงงานที่ทำงานในลักษณะซ้ำๆมีแบบแผน และมีรูปแบบการตัดสินใจที่แน่นอน เช่น แรงงานในสายการผลิต หรือพนักงานคิดเงิน ซึ่งปัจจุบันเริ่มได้รับผลกระทบดังกล่าวแล้ว โดยเด็กจบใหม่มีอัตราการว่างงานสูงขึ้น และใช้เวลาในการหางานนานขึ้น โดยเฉพาะการหางานในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต สวนทางกับทิศทางของการส่งออกและการผลิตที่ปรับตัวดีขึ้น
ทั้งนี้ประเทศไทยเริ่มมีการนำหุ่นยนต์มาใช้ในการผลิตมากว่า 5 ปีแล้ว โดยเริ่มเห็นบริษัทเอกชนขนาดใหญ่ลงทุนจัดหาหุ่นยนต์มาใช้ตั้งแต่หลังวิกฤติอุทกภัย และการขึ้นค่าแรง 300 บาท โดยการใช้หุ่นยนต์ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ใน 3 อุตสาหกรรมหลัก คือ อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมยางและพลาสติก และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่มีการจ่ายค่าแรงสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับความสามารถของหุ่นยนต์เหมาะกับงานในกลุ่มนี้ที่ต้องใช้ทั้งความแม่นยำ ความเสถียร รวมถึงเป็นงานที่มีความอันตราย เช่นงานเชื่อมเหล็ก ขึ้นรูปพลาสติก และงานที่มีการสัมผัสกับสารเคมี
ขณะที่ น.ส.สุธิดา กาญจนกันติกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาวะวิกฤตด้านแรงงานของไทยเริ่มเห็นชัดตั้งแต่ปี 2560 ที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นปีแรกที่จำนวนประชากรเด็กเกิดใหม่มีน้อยกว่าจำนวนผู้สูงอายุ และมีแนวโน้มเผชิญภาวะขาดแคลนแรงงานเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันไทยจะเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบใน 7 ปีข้างหน้า ซึ่งจะส่งผลต่อขีดความสามารถ ในด้านการผลิต คุณภาพ และทักษะของแรงงาน
ข่าวเด่น