แบงก์-นอนแบงก์
คลัง-ธปท.หนุนแบงก์ไทยควบกิจการ


ธนาคารพาณิชย์ที่มีขนาดใหญ่  จะแข็งขันในโลกธุรกิจได้ดีกว่าธนาคารที่มีขนาดเล็กแนวคิดนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  อภิศักดิ์  ตันติวรวงศ์  ได้เคยเปิดเผยเมื่อปลายปี 2560 ที่ผ่านมา  

 


 

และล่าสุดในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่  17 เม.. ที่ผ่านมา  ได้มีมติเห็นชอบมาตรการจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยมีการควบรวมกิจการเพื่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้น   เพื่อรองรับการแข่งขันทั้งในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ โดยนายณัฐพร  จาตุศรีพิทักษ์   ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  กล่าวว่า มาตรการจูงใจให้ธนาคารพาณิชย์ควบรวมกิจการนั้น เป็นการสนับสนุนในด้านภาษีทั้งในส่วนของภาษีเงินได้   ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์   โดยมาตรการจูงใจดังกล่าว   เนื่องจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดทำแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่ 3 (2559-2563) มีนโยบายหลักด้านหนึ่ง คือ สนับสนุนการเชื่อมต่อการลงทุนในภูมิภาคเพื่อเพิ่มศักยภาพของระบบการเงินของไทยเพื่อให้สนับสนุนการขยายตัวของการลงทุนและการเชื่อมโยงของประเทศในภูมิภาค โดยมีมาตรการเพื่อสร้างความพร้อมและลดอุปสรรคของสถาบันการเงินไทยในการขยายกิจการไปต่างประเทศ

ทั้งนี้ เมื่อเทียบธนาคารพาณิชย์ไทยกับประเทศในอาเซียนแล้วพบว่าส่วนของไทยยังต้องพัฒนาทั้งในเชิงประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน  ด้านของขนาดพบว่า ธนาคารขนาดใหญ่ที่สุดของไทยมีสินทรัพย์ขนาดประมาณ 3 ล้านล้านบาท เมื่อเทียบกับมาเลเซียมีขนาด 4 ล้านล้านบาท จึงต้องมีมาตรการส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์มีการควบรวมเพื่อให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น

ซึ่งมาตรการภาษีที่ได้รับการอนุมัติครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ มาตรการเพื่อขจัดอุปสรรคของการควบรวมกิจการธนาคารพาณิชย์ไทยประกอบด้วย 1.ยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้ถือหุ้นธนาคารสำหรับ ผลประโยชน์ที่ได้จากธนาคารพาณิชย์ ดังกล่าวควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าทุน 2.ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ให้แก่ธนาคารพาณิชย์

สำหรับเงินได้พึงประเมิน รายรับ หรือการกระทำตราสารที่เกิดขึ้นหรือเนื่องมาจากการที่ธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวควบเข้ากันหรือโอนกิจการทั้งหมดให้แก่กันและ 3.ยกเว้นภาษีมูลค่า ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ ให้แก่ธนาคาร สำหรับมูลค่าของฐานภาษี รายรับ หรือกระทำตราสารที่เกิดขึ้นหรือเนื่องมาจากการที่ธนาคารพาณิชย์ดังกล่าวโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน

ส่วนที่ 2 มาตรการภาษีที่ให้ธนาคารพาณิชย์ที่เกิดจากการควบรวมทั้งหมดหรือบางส่วนสามารถหักค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายเพื่อการลงทุนหรือการเปลี่ยนแปลง หรือทำให้ดีขึ้น  ซึ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการควบเข้ากัน สามารถนำค่าใช้จ่ายมาหักลดหย่อนภาษีได้แก่ ค่าใช้จ่ายการลงทุนในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอาคารถาวรการรื้อถอนเครื่องจักรส่วนประกอบ ที่ใช้จ่ายเพื่อการลงทุนและหรือการเปลี่ยนแปลงหรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการควบเข้ากันหรือการรับโอนกิจการทั้งหมดหรือในอัตราส่วนที่กำหนด

ทั้งนี้กระทรวงการคลัง คาดว่า  มาตรการดังกล่าวจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ภาษีประมาณ600-1,400 ล้านบาทแต่จะเกิดการชดเชยด้วยการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในส่วนของการลงทุนภาคเอกชนที่เพิ่มขึ้น เช่น การลงทุนปรับปรุงระบบคอร์แบงกิ้ง และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศประมาณ 3,000-7,000 ล้านบาทต่อรายที่ควบรวมกิจการและระยะเวลาที่สามารถใช้มาตรการนี้ได้ คือนับแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้จนถึงวันที่ 31 .. 2565

ด้านนางสาวธัญญลักษณ์  วัชระชัยสุรพล ผู้ช่วย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า  มาตรการดังกล่าวถือเป็นเรื่องดี ช่วยสนับสนุนการลดภาระค่าใช้จ่ายและรองรับโมเดลแผนธุรกิจในอนาคตที่อาจมีความจำเป็นต้องควบรวมกันเพื่อการเติบโต ซึ่งในปัจจุบันธุรกิจ แบงก์พาณิชย์แข่งขันเข้มข้นขึ้น

อย่างไรก็ตาม การควบรวมธุรกิจ ยังต้องมีเหตุผลอื่นที่สำคัญประกอบด้วย เช่น จุดแข็งทางธุรกิจของแต่ละคนที่ต้องผสมผสานกันและการวางยุทธ์ศาสตร์การเติบโตในอนาคต ทั้งกลุ่มเป้าหมาย ผลิตภัณฑ์ การขยายตลาดต่างประเทศ และกลยุทธ์การธุรกิจ   ดังนั้น การควบรวมธุรกิจแบงก์พาณิชย์คงจะไม่ได้เกิดขึ้นในทันที


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 18 เม.ย. 2561 เวลา : 09:52:01
11-05-2025
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 11, 2025, 12:58 pm