เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
เอกชนเสนอเลื่อนใช้ มาตรฐานบัญชี IFRS9 เป็นปี 65


การปฎิบัติตามมาตรฐานบัญชีใหม่(IFRS9)  แม้จะสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันการเงิน  แต่ก็ส่งผลต่อการตั้งสำรอง  และอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเข้าถึงสินเชื่อของSMEs

 

 

ซึ่งรายละเอียดมาตรฐานบัญชีใหม่นี้  ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ ข้อกำหนดด้านการจัดประเภทรายการและการวัดมูลค่าทรัพย์สินทางการเงิน, การรายงานเรื่องการด้อยค่าของสินทรัพย์  และการจัดทำบัญชีปกป้องความเสี่ยงในงบการเงิน

ภาคเอกชน  3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (...) สภาหอการค้าแห่งประเทศ และสมาคมธนาคารไทย   ได้แสดงความคัดค้าน และเตรียมทำหนังสือ  เพื่อขอให้พิจารณาเลื่อนการบังคับใช้มาตรฐานการบัญชี IFRS9  ที่จะประกาศใช้ในวันที่ 1 ..2562 ออกไป เป็นวันที่ 1 ..2565 

 


 

นายสุพันธ์ุ  มงคลสุธี  ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(...) กล่าวว่า สาเหตุที่ กกร.เสนอให้เลื่อนการใช้มาตรฐานบัญชี IFRS9ออกไปก่อน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อภาคเอกชนโดยตรง   รวมถึงเสนอให้ภาครัฐตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาผลกระทบเพื่อพิจารณาข้อดีและข้อเสียอย่างรอบด้าน โดยให้ตัวแทนจากกระทรวงการคลังทำหน้าที่ประธาน  และกรรมการต้องครอบคลุมจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจลิสซิ่ง เช่าซื้อ  ตัวแทนจากสมาคมบริษัทจดทะเบียน เป็นต้น     

และในหลายประเทศยังชะลอการประกาศใช้มาตรฐานบัญชีดังกล่าวออกไปก่อน เช่นในญี่ปุ่นที่เปิดโอกาสให้เอกชนเลือกว่าจะใช้มาตรฐานการบัญชี IFRS9 หรือไม่ ขณะที่จีนยังชะลอการประกาศใช้ออกไปอีกหลายปี   ซึ่งหากประเทศไทยรีบประกาศใช้ก็อาจจะมีปัญหาเกิดขึ้นได้   เนื่องจากเศรษฐกิจไทยกำลังเติบโตประกอบกับสภาพตลาดเงินระบบการปล่อยกู้ให้กับเอสเอ็มอียังไม่ดีนัก  จึงไม่อยากให้เกิดปัญหาขึ้น  ดังนั้นจึงควรศึกษาผลกระทบให้มีความชัดเจนก่อนบังคับใช้  เพื่อจะได้กำหนดแนวทางในการนำมาตรฐานมาใช้งานให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย 

 

         

 

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย  ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า มาตรฐานบัญชีใหม่จะส่งผลกระทบต่อทุกธนาคาร  ส่วนแบงก์รัฐเองคาดว่า จะเริ่มใช้มาตรฐานนี้ประมาณปี 2562-2563  ธนาคารได้เตรียมความพร้อมไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่ในช่วงนี้ยังไม่ต้องตั้งสำรองเพิ่ม  แต่หากเปลี่ยนระบบเมื่อใด ก็พร้อมที่จะสำรองเพิ่ม  ด้วยกำไรที่มีอยู่กว่า 3 หมื่นล้านบาท  เพียงพอที่จะรองรับได้

นางสาวธัญญลักษณ์  วัชระชัยสุรพล รองกรรมการผู้จัดการ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า  หากมีการเลื่อนใช้มาตรฐานบัญชีIFRS9ออกไป  ไม่เพียงส่งผลดีต่อธุรกิจธนาคารเท่านั้น แต่ยังส่งผลดีต่อธุรกิจอื่นๆ ที่จะต้องใช้มาตรฐานบัญชีนี้เช่นเดียวกัน เพราะความจริงแบงก์มีการปรับตัวรองรับมาต่อเนื่อง แต่ธุรกิจอื่นๆอาจจะยังไม่พร้อมโดยเฉพาะเรื่องการลงบัญชีที่จะต้องสะท้อนFair Value ซึ่งในบางธุรกิจไม่ได้ประเมินบ่อยๆ หรือไม่เคยมีการประเมินมาก่อน   

 

     

 

นายอาทิตย์ มาสถิรกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริหารความเสี่ยง ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า หากเลื่อนบังคับใช้มาตรฐานบัญชี IFRS9 ออกไปจากกำหนดเดิมเดือน .. 2562 ในระยะสั้นจะเป็นประโยชน์สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการเข้าถึงสินเชื่อได้  เพราะธนาคารพาณิชย์ยังมีความสามารถในการสนับสนุนสินเชื่อได้โดยไม่ต้องกังวลกับการตั้งสำรองที่เปลี่ยนไป        

แต่เมื่อมาตรฐานบัญชีใหม่มีผลบังคับใช้  จะทำให้เอสเอ็มอีเข้าถึงสินเชื่อได้ยากขึ้น เนื่องจากธนาคารมีภาระในการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นตามความเสี่ยง ซึ่งการตั้งสำรองเป็นต้นทุนของการปล่อย   สินเชื่อก็อาจส่งผลให้การกำหนดดอกเบี้ยของเอสเอ็มอี (Pricing) แพงขึ้นด้วย    และหากเลื่อนระยะเวลาการใช้ออกไปนาน อาจไม่เป็นผลดี เพราะหากไทยไม่ทำตามมาตรฐานโลก อาจกระทบกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (เรตติ้ง) ของธนาคารไทย  ที่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในสายตานักลงทุน ในด้านหนี้เสียที่อาจจะเพิ่มขึ้นในอนาคต

 


 

ขณะที่นางฐิติมา  รุ่งขวัญศิริโรจน์  กรรมการผู้จัดการ บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท (บสส.) มองว่า  มาตรฐานบัญชี IFRS 9    จะส่งผลต่อการตั้งสำรองหนี้เสียของแต่ละธนาคาร  โดยคาดว่า  แนวโน้มการขายหนี้เสีย หรือ NPLs ในระบบปีนี้ จะมียอดขายออกมาไม่ต่ำกว่าปีก่อนที่สูงถึง 120,000 ล้านบาท   นอกจากนี้ธนาคารส่วนใหญ่ได้เตรียมความพร้อมใช้มาตรฐานบัญชีใหม่  โดยหนี้ที่ขายออกมาส่วนใหญ่เป็นหนี้เอสเอ็มอี และรายย่อย   


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 08 พ.ค. 2561 เวลา : 10:31:33
28-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 28, 2024, 2:57 pm