เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
ธปท.-แบงก์เตือนผู้ส่งออกป้องกันความเสี่ยงแม้บาทอ่อนค่า


ความผันผวนของค่าเงินบาทยังคงมีอย่างต่อเนื่อง  นับตั้งแต่ที่ธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 7  นับตั้งแต่การขึ้นดอกเบี้ยในเดือน ธันวาคม  2558  ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศ 

 

        

 

นายวิรไท   สันติประภพ   ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า   ธปท. จะติดตามสถานการณ์เงินทุนไหลออก และสถานการณ์ค่าเงินในปัจจุบันอย่างใกล้ชิด โดยที่ผ่านมา การดำเนินนโยบายการเงินของประเทศอุตสาหกรรมหลัก ที่จะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ   ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลเกี่ยวกับสถานะของประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เพราะส่วนใหญ่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่มีการก่อหนี้ในระดับสูงช่วงที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดการเงินโลกอยู่ในระดับต่ำ แต่พออัตราดอกเบี้ยเริ่มอยู่ในระดับสูงขึ้น ทำให้อาจส่งผลต่อความสามารถในการชำระหนี้ได้        

ซึ่งในปีนี้คาดว่า  ไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 40,000 ล้านดอลลาร์ฯ หรือประมาณ 8-9% ของจีดีพี ขณะที่สถานการณ์ค่าเงินบาท นักลงทุนจะต้องให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนต่อเนื่อง  โดยผู้ประกอบการจะต้องคำนึงว่า ธนาคารกลางไม่สามารถฝืนกลไกตลาดได้ แต่ทำได้เพียงการช่วยไม่ให้ค่าเงินเคลื่อนไหวเร็วจนกระทบกับผู้ประกอบการเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ค่าเงินบาทของไทยยังเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับสกุลเงินอื่นในภูมิภาค

ด้านนายบัณฑิต นิจถาวร  กรรมการผู้อำนวยการสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)และอดีตรองผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไป เพราะในที่สุดคงไม่สามารถต้านแนว โน้มดอกเบี้ยขาขึ้นของทั่วโลกได้ และธนาคารกลางประเทศในเอเชียหลายแห่งเริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยแล้ว แต่เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวดี อัตราเงินเฟ้อยังต่ำ กนง.จึงยังไม่จำเป็นต้องรีบปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเหมือนกับประเทศอื่น   

..รุ่ง  สงวนเรือง  ผู้อำนวยการ ผู้บริหารกลุ่มวิจัยและวิเคราะห์ตลาดการเงิน ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจและกำกับดูแลโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเมื่อวันที่  21 มิ.. ปิดตลาดเคลื่อนไหวอ่อนค่าสุดแตะระดับ 32.97 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ  ซึ่งเป็นการอ่อนค่าสุดในรอบ 7 เดือน นับจาก 15 .. 60 ที่ค่าเงินบาทอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ   เป็นผลมาจากเงินทุนต่างชาติยังไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ รวมถึงตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่วันที่ 15 มิ..ถึง 20 มิ..ที่ผ่านมาต่างชาติขายหุ้นไทย 16,000 ล้านบาท   และขายพันธบัตร 27,000 ล้านบาท ขณะที่ค่าเงินยูโรยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวก็ยิ่งเป็นแรงกดดันเงินในสกุลภูมิภาคอ่อนค่าลง

สำหรับธนาคารกลางในภูมิภาค เช่น อินโดนีเซียเตรียมแก้ปัญหาค่าเงินที่อ่อนรูเปียห์ด้วยการปรับขึ้นดอกเบี้ยในรอบ 1 เดือน ส่วนฟิลิปปินส์ได้ปรับขึ้นดอกเบี้ยเมื่อวันที่ 20 มิ..61  เป็นรอบที่ 2 ของปี ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ของไทยคงดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% และยังไม่ส่งสัญญาณการขึ้นดอกเบี้ยชัดเจน 

อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นแม้ว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลง แต่แนวโน้มในช่วงไตรมาส 3 หรือไตรมาส 4 ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่า  หากกนง.ปรับขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งผู้ประกอบการส่งออกและนำเข้าต้องป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เพราะค่าเงินมีความผันผวนมาก 

ส่วนการอ่อนค่าของสกุลเงินในภูมิภาคตั้งแต่วันที่ 15 มิ..- ปัจจุบันพบว่า บาท-ไทยอ่อนค่ามากสุด 1.62%  วอน-เกาหลีใต้ 1.3%  รูเปียห์-อินโดนีเซีย 1.2% ดอลลาร์-ไต้หวัน 1% หยวน-จีน 1%  ดอลลาร์-สิงคโปร์ 0.8% และริงกิต-มาเลเซีย 0.7%


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 22 มิ.ย. 2561 เวลา : 12:40:33
28-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 28, 2024, 5:48 pm