ข่าวประชาสัมพันธ์
นักวิจัย สจล. เผยภาพพยากรณ์อากาศ 3 วัน พื้นที่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จากแอป WMApp ชี้ อาจมีฝนตกตลอดคืน พร้อมเตือน หลังบ่าย 29 นี้ เสี่ยงฝนตกตลอดทั้งวัน


นักวิจัย สจล. เผยภาพพยากรณ์อากาศ 3 วัน พื้นที่ถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน จากแอป WMApp ชี้ อาจมีฝนตกตลอดคืน พร้อมเตือน หลังบ่าย 29 นี้ เสี่ยงฝนตกตลอดทั้งวัน

 


 

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) เผย ข้อมูลการพยากรณ์สภาพภูมิอากาศ บริเวณพื้นที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย พบว่า วันที่ 27 มิถุนายน 2561 ตั้งแต่เวลา 20.00 . ถึง เที่ยงคืน สภาพภูมิอากาศปลอดโปร่ง ไม่มีฝน วันที่ 28 มิถุนายน 2561 ช่วง 01.00 . ถึง 07.00 . พบ กลุ่มฝนเบาบาง ตั้งแต่ 07.00 – 11.00 . ภูมิอากาศปลอดโปร่ง ไม่มีฝน และตั้งแต่ 12.00 . ถึง เที่ยงคืน พบ กลุ่มฝนตลอดวัน โดยจะมีฝนตกหนัก ช่วง 13.00 – 20.00 . วันที่ 29 มิถุนายน 2561 ช่วง 00.00 - 08.00 . สภาพภูมิอากาศปลอดโปร่ง และ ตั้งแต่ 09.00 . ถึง เที่ยงคืน พบกลุ่มฝนตลอดทั้งวัน โดยจะมีฝนตกหนักตั้งแต่เวลา 12.00 – 21.00 .

ทั้งนี้ ผลพยากรณ์ดังกล่าว เป็นข้อมูลจากระบบพยากรณ์สภาพอากาศ ด้วย "WMApp" แอปพลิเคชันพยากรณ์อากาศที่มีความถูกต้อง และแม่นยำสูงถึง 85 % ซึ่งมีความแม่นยำสูงสุดในปัจจุบัน

 

 

ผศ.ดร.ชินวัชร์ สุรัสวดี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)กล่าวว่า จากผลพยากรณ์สภาพอากาศ บริเวณพื้นที่วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ด้วยระบบการพยากรณ์อากาศที่มีความละเอียดสูง ผ่าน"WMApp" พบว่า

- วันที่ 27 มิถุนายน 2561 ตั้งแต่เวลา 20.00 . ถึง 24.00 . สภาพภูมิอากาศปลอดโปร่ง ไม่พบกลุ่มฝนบริเวณดังกล่าว

- วันที่ 28 มิถุนายน 2561 ตั้งแต่เวลา 01.00 . ถึง 07.00 . พบกลุ่มฝนเบาบาง ตั้งแต่ 07.00 – 11.00 . ภูมิอากาศปลอดโปร่ง ไม่มีฝน และตั้งแต่ 12.00 ถึง เที่ยงคืน พบ กลุ่มฝนในพื้นที่ตลอดทั้งวัน โดยจะมีฝนตกชุก ช่วง 13.00 – 20.00 . ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยราว 2 มิลลิเมตร ต่อ ชั่วโมง

- วันที่ 29 มิถุนายน 2561 ช่วง 00.00 - 08.00 . สภาพภูมิอากาศปลอดโปร่ง และตั้งแต่ 09.00 ถึง เที่ยงคืน พบกลุ่มฝนตลอดทั้งวัน โดยพบมีฝนตกหนักตั้งแต่เวลา 12.00 – 21.00 . ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยราว 2 มิลลิเมตร ต่อ ชั่วโมง

ผลการพยากรณ์ดังกล่าว เป็นข้อมูลจากระบบการพยากรณ์อากาศ ผ่าน "WMApp" โดยทีมพัฒนาจาก สจล. ซึ่งมีความละเอียดสูงสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยใช้อัลกอริทึมประมาณค่าหยาดน้ำฟ้า เชื่องโยงกับการสังเกตจากดาวเทียม ซึ่งมีความถูกต้อง และแม่นยำสูงถึงร้อยละ 85 ซึ่งนับว่าแม่นยำสูงที่สุดในปัจจุบัน ผศ.ดร.ชินวัชร์ กล่าวสรุป

ทั้งนี้ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา สจล. ขอส่งกำลังใจ ให้เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างราบรื่น และช่วยเหลือเยาวชนทั้งหมด 13 คน ให้สามารถเดินทางกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 28 มิ.ย. 2561 เวลา : 11:34:28
15-05-2025
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 15, 2025, 10:02 am