กระทรวงพาณิชย์รายงานว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มิ.ย. ลดลงมาอยู่ที่ 1.38% จาก 1.49% ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากราคาอาหารสดที่ลดลงเนื่องจากมีผลผลิตเข้าสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ช่วยลดแรงกดดันเงินเฟ้อในขณะที่ราคาพลังงานยังอยู่ในระดับสูง
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นเป็น 0.83% จาก 0.8% ในเดือนก่อนหน้า สะท้อนเศรษฐกิจภาพรวมที่กำลังซื้อในประเทศเริ่มแข็งแกร่งขึ้น สอดคล้องกับมุมมองของ ธปท. ที่มีการปรับคาดการณ์ไปเมื่อ 20 มิ.ย. โดยปรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2018 เพิ่มขึ้นเป็น 1.1% จากเดิม 1.0% และ GDP เป็น 4.4% จากเดิม 4.1%
สงครามการค้ามีความเข้มข้นมากขึ้น หลังจากทั้งสหรัฐฯ และจีนประกาศเก็บภาษีนำเข้า 25% บนสินค้ามูลค่ากว่า 3.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งจะเริ่มเก็บภาษีจริง 6 ก.ค. นี้
สงครามการค้าอาจส่งผลทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอลงได้ 2 ช่องทางด้วยกัน ช่องทางแรกคือการทำให้ราคาสินค้านำเข้าลดลง โดยสินค้าที่จีนขายไปสหรัฐฯ ได้น้อยลง เช่น สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก และอลูมิเนียม เป็นต้น อาจลดราคาเข้ามาตีตลาดในไทย ช่องทางที่สองคือการทำให้ราคาสินค้าที่ผลิตในประเทศลดลงเนื่องจากส่งออกได้น้อยลง เช่น แผงโซลาร์ หรือสินค้าใน supply chain อิเล็กทรอนิกส์ของจีน
ดังนั้น สงครามการค้าเป็นปัจจัยพื้นฐานที่อาจให้ Bond Yield ไม่สามารถขึ้นไปยืนในระดับสูงได้ต่อเนื่อง
Click บนรูปเพื่อเข้าไปลองใช้ visualization ซึ่งจะสามารถเลือกการดูองค์ประกอบสำคัญของเงินเฟ้อในเดือนอื่นๆ ได้
ข่าวเด่น