ไอที
เมื่อตู้เย็นคุยกับมือถือได้ ถึงเวลาแล้วที่คุณต้องก้าวกระโดด มาดู 6 สิ่งที่คุณต้องรู้เพื่อเอาตัวรอดในโลกแห่งการ Disruption ที่เราอยู่ตอนนี้


เราจะตัดสินอนาคตจากประสบการณ์ที่ผ่านมาไม่ได้อีกต่อไปแล้ว” เจฟฟรีย์ โรเจอร์ส ผู้อำนวยการ Faculty Development จากSingularity University ประกาศในวันแรกของงาน SingularityU Thailand Summit ถือได้ว่าเป็นประโยคที่ค้านกับทุกสิ่งที่เรารู้มา ไม่ว่าจะเป็นหลักเหตุและผล ที่มาและผลที่ได้ หรือแม้แต่ความเป็นไปของโลก แต่หลังจากสองวันของการสนทนาอย่างเข้มข้น เรากลับได้เรียนรู้ว่า ประโยคนี้เป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น

 

 

การบอกว่าโลกหมุนเร็วนั้นดูจะเป็นคำกล่าวที่น้อยกว่าความเป็นจริงไปมาก “สมองของเราไม่ได้ถูกสร้างให้เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงแบบความเร็วสูงที่โลกกำลังเผชิญอยู่ตอนนี้” ปีเตอร์ ไดมอนดิส หนึ่งในผู้ก่อตั้งและประธาน Singularity University กล่าว “ซึ่งนั่นนำไปสู่ความไม่เข้าใจ เพราะสิ่งที่เราเห็นอยู่ตอนนี้ไม่ใช่การเติบโตแบบทีละก้าวอีกต่อไปแล้ว

เพื่อนำทุกคนก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ไปด้วยกัน นี่คือ 6 สิ่งที่เหล่าผู้นำอุตสาหกรรม นักประดิษฐ์ นักเศรษฐศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์ ได้บอกเราไว้ในงาน SingularityU Thailand Summit 2018.

1.     Moore’s law: ทุนถูก ทั่วถึง เท่าเทียม

จากการกำเนิดของอินเทอร์เน็ต สู่ DNA Sequencing ในราคาที่คุณเอื้อมถึงได้ เทคโนโลยีได้เข้าสู่ชีวิตของเราด้วยราคาที่ถูกลงและรวดเร็วมากขึ้น โดยมีกฎของมัวร์ส (Moore’s Law) ที่มักถูกหยิบยกขึ้นมาอธิบายปรากฎการณ์นี้ นั่นคือ ยิ่งคนใช้เทคโนโลยีมากขึ้นเท่าไหร่ ราคาของเทคโนโลยียิ่งถูกลงเท่านั้น (Demonetization) 

อนาคตของ AI คือ อนาคตของการที่คนเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างเท่าเทียมกัน (Democratization) คือ อนาคตที่ทุกคนจะมีAI อันทรงพลังอยู่ในกระเป๋า” ราเมซ นาม แห่ง Energy and Environmental Systems Faculty ของ Singularity Universityกล่าว

2.    Innovation ≠ Disruption: สองคำฮิตที่คุณใช้ผิดมาตลอด

 

ถ้าช่วงนี้คุณได้อ่านบทความหรือติดตามข่าวเกี่ยวกับเทคโนโลยี ธุรกิจ หรืออุตสาหกรรม คุณจะหนีไม่พ้นสองคำฮิตของชั่วโมงนี้ “Innovation และ Disruption” ที่หลายๆ คนมักใช้เกี่ยวเนื่อง หรือสลับกันไปมา และก็ดูจะเป็นเหตุเป็นผลกันดี เพราะเมื่อคุณสร้างนวัตกรรม (Innovation) ก็ต้องเกิดการเปลี่ยนแปลง (Disruption) อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ดังที่โบห์ดานนา เคซาล่า ศิลปินและผู้อำนวยการ International Summits แห่ง Singularity University ได้กล่าวไว้ สองคำนี้กลับมีความหมายต่างกันอย่างสุดขั้ว 

“Innovation คือ การทำสิ่งเดิมให้ดีขึ้นมานิดหน่อย” เธอกล่าว โดยมีตัวอย่างงานของศิลปินชื่อดังคนอื่นๆ ที่อยู่ร่วมสมัยกับแวน โก๊ะห์ “แต่ Disruption หมายถึง การลบสิ่งเดิมออกจากหน้าประวัติศาสตร์

ความหมายนี้ดูจะเป็นจริงในตัวอย่างอื่นๆ เช่นในทอล์ค “Spice and Ice” ของเดวิด โรเบิร์ตส แห่ง Faculty of Innovation and Disruption ของ Singularity University ที่ได้ยกตัวอย่างเรือขนส่งอัดขี้เลื่อยของเฟรดริก ทิวดอร์ ว่าเป็น “นวัตกรรม” ที่ให้สามารถขนส่งน้ำแข็งในระยะไกลได้ ในขณะที่การล่มสลายของเส้นทางการค้าเครื่องเทศ (Spice trade) จากการเข้ามาของเส้นทางการค้าน้ำแข็ง (Ice trade) ถือได้ว่าเป็น Disruption เนื่องจากน้ำแข็งได้กลายเป็นวิธีการถนอมอาหารที่ดีกว่าการใช้เครื่องเทศ

 

 

 

3.    คุณคาดเดาอะไรไม่ได้เลย

บริษัทที่ Disruptive ที่สุดไม่เคยเปลี่ยนแปลงสนามของตัวเอง” นามกล่าว “พวกเขาไปเปลี่ยนแปลงสนามของคนอื่นทั้งนั้น

หนึ่งในตัวอย่างที่ได้รับการหยิบยกมาพูดถึงมากที่สุดคือ กรณีของ Apple บริษัทคอมพิวเตอร์ที่พลิกโฉมวงการดนตรี ด้วยการนำ iPod และ iTunes เข้าตลาด Apple ได้พลิกโฉมการฟังเพลงของผู้คน จากโซนี่ วอล์คแมนที่ทำให้คนฟังเทปหรือซีดีได้ทุกที่ สู่ iPod ที่สามารถเก็บไฟล์เพลงได้หลายร้อยเพลงในเครื่องเล่นที่เล็กกว่า นอกจากนี้ บริการซื้อดนตรเป็นรายเพลงยังเป็นส่วนหนึ่งในการนำอุตสาหกรรมเข้าสู่ยุค Music streaming อีกด้วย โดยปรากฎการณ์นี้เป็นสิ่งที่สตีเวน จอห์นสัน[1] นักทฤษฎีสื่อ ได้เรียกว่า “โอกาสจากจุดร่วม” (The adjacent possible) โดยกล่าวถึง “เงาของความเป็นไปได้ในอนาคตที่ซ้อนทับกับขอบเขตของสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน อันเป็นแผนที่ของความเป็นไปได้ทั้งหมดที่สิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันจะสามารถพลิกโฉมตนเองได้

4.     AI ไม่ได้ฆ่าใคร ระบบที่ไม่เปลี่ยนไปต่างหาก คือ ผู้ร้ายตัวจริง

ในวงสนทนาเรื่องเทคโนโลยีและความก้าวหน้าแบบก้าวกระโดด หนึ่งในคำถามที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือ “AI จะมาแย่งงานเราหรือไม่” ในขณะที่คำตอบของกลุ่มนักคิดก้าวหน้าอาจพอเดาได้ แต่เหตุผลของพวกเขาจะทำให้คุณแปลกใจ เพราะ “งานของคุณต่างหากที่กำลังฆ่าตัวเอง” หรือถ้าพูดให้ชัด คือ ระบบขั้นตอนต่างๆ คือสิ่งที่ทำให้งานกำลังตายจากไป 

หากคุณต้องการหยุดนวัตกรรม จงตั้งคณะกรรมการเกี่ยวกับมันขึ้นมา” นามกล่าว และนี่ไม่ใช่ปรากฎการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นนระบบเศรษฐกิจใหม่ โดยนามได้เทียบระหว่างจีนและยุโรปในยุคโบราณ เมื่อครั้งที่จีนเป็นสังคมที่ยึดกฎเกณฑ์และระเบียบราชการเคร่งครัด ในขณะที่ยุโรปยังเป็นการรวมกลุ่มแบบกระจัดกระจายของชาติและวัฒนธรรมต่างๆ โดยจากกลุ่มความคิดที่กระจัดกระจายนี้เอง ที่ทำให้ยุโรปก้าวขึ้นนำ ด้วยการผสมผสานระหว่างแนวคิดที่ต่างกัน ทำให้สามารถเกิดวงจรของการทดลองอย่างรวดเร็ว และนำไปสู่ความสำเร็จในเวลาต่อมา 

ในสภาวะเศรษฐกิจใหม่ อำนาจในการดำเนินการและตัดสินใจด้วยตนเอง (Autonomy) ได้กลายเป็นแนวคิดใหม่ของวัฒนธรรมการทำงาน โดยเฉพาะในสายงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์สูง การมอบอำนาจและพื้นที่สำหรับการทดลองที่ปลอดภัยได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำหรับหลายบริษัทในการปรับโมเดลธุรกิจไปสู่การส่งเสริมนวัตกรรม ซึ่งจะกลายเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มโอกาสการอยู่รอดในปัจจุบัน

5.    ไม่มีเทคโนโลยีใดที่โดดเดี่ยวการผสมผสานเทคโนโลยีและ Network Effects

ในขณะที่อำนาจการตัดสินใจ (Autonomy) เป็นสิ่งจำเป็นในการฟูมฟักนวัตกรรม การผสมผสานข้ามสายพันธุ์ระหว่างเทคโนโลยีต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีนัยยะสำคัญ โดยโรเบิร์ตสได้ให้ตัวอย่างง่ายๆ ดังนี้สมัยก่อน เราเคยนำไฟฟ้าไปรวมกับสิ่งต่างๆ แล้วเรียกมันว่านวัตกรรม” เขากล่าว โดยอ้างถึงสิ่งต่างๆ จากที่โกนหนวดไฟฟ้า ถึงรถพลังงานไฟฟ้า “ตอนนี้ มันคือ AI”

แม้ว่านั่นอาจเป็นจริง จากการที่ AI ได้มาสู่เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ต่างๆ ตั้งแต่รถเทสลาที่มีเทคโนโลยี Machine learning ไปจนถึงเหล่าผู้ช่วย AI กระนั้น AI ก็ไม่ใช่ทุกสิ่งอย่าง โดยดร.แดเนียล คราฟต์ ประธาน Medicine and Neuroscience แห่ง Singularity University ได้แสดงให้เห็นด้วยตัวอย่างกล้ามเนื้อหัวใจเทียม ที่สามารถเลียนแบบจังหวะการสูบฉีดเลือดได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างแพทย์ ผู้ผลิตวัสดุภัณฑ์ และเทคโนโลยี 3D Printing อันเป็นตัวอย่างของการรวมตัวระหว่างความเชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ที่จะสามารถนำไปสู่การพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่และสังคมของมนุษย์ได้ 

ในขณะเดียวกัน สำหรับเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ Network Effects ก็ได้กลายเป็นปัจจัยชี้วัดชะตากรรมของธุรกิจ โดยนามได้ยกตัวอย่างธุรกิจ เช่น Uber และ AirBnB ในฐานะตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ “คุณจะลอกแอพมาก็ได้ แต่คุณลอกเครือข่ายคนใช้งานไม่ได้ 

6.    เทคโนโลยีตอนนี้ห่วยสุดแล้ว

เราอยู่ในช่วงเวลาที่ดีที่สุด และแย่ที่สุดในตอนนี้ ดังที่เหล่านักประดิษฐ์เห็นตรงกัน แม้กระทั่งเทคโนโลยีที่ดีและก้าวหน้าที่สุดในตอนนี้ จะกลายเป็นเวอร์ชั่นที่ห่วยที่สุดของมันในเร็วๆ นี้ “Disruption ในช่วงแรกมักมาในรูปแบบที่แย่กว่าสิ่งที่มีอยู่เสมอ” โรเบิร์ตสกล่าว “ตอนที่ไม่มีใครมองนี่แหละ ที่มันจะเริ่มเติบโตขึ้น


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 04 ก.ค. 2561 เวลา : 15:59:41
27-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 27, 2024, 5:21 am