นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมของรัฐวิสาหกิจตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 – พฤษภาคม 2561 มีจำนวน 132,447 ล้านบาท ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 61 เมื่อเทียบกับผลเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมในช่วงเดียวกันของปี 2560 โดยเป็นผลมาจากการเร่งลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ อาทิเช่น โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ - ขอนแก่นและโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ของการรถไฟแห่งประเทศไทย โครงการถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรีและโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แห่งประเทศไทย โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยายระบบประปาของการประปาส่วนภูมิภาค รวมถึงการเพิ่มทุน บริษัทในเครือของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนให้เศรษฐกิจขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
นายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการ สคร. ในฐานะโฆษก สคร. กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมของรัฐวิสาหกิจตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 - พฤษภาคม 2561 มีจำนวน 150,724 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 113 ของแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสม โดยรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการตามปีงบประมาณเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – พฤษภาคม 2561 จำนวน 62,840 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 90 ของแผนการเบิกจ่าย งบลงทุนสะสม และรัฐวิสาหกิจที่ดำเนินการตามปีปฏิทินเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมตั้งแต่เดือนมกราคม 2561 – พฤษภาคม 2561 จำนวน 87,883 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 138 ของแผนการเบิกจ่ายลงทุนสะสม
ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจสะสมถึงเดือนพฤษภาคม 2561 (ตุลาคม 2560 – พฤษภาคม 2561)
รัฐวิสาหกิจ แผนลงทุนทั้งปี แผนเบิกจ่ายสะสม ผลเบิกจ่ายสะสม %เบิกจ่ายสะสม/แผนสะสม
1. ปีงบประมาณ จำนวน 34 แห่ง (8 เดือน) 144,720 70,151 62,840 90%
1.1 การรถไฟแห่งประเทศไทย 52,468 26,340 22,276 85%
1.2 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 32,463 15,691 18,145 116%
1.3 การประปาส่วนภูมิภาค 13,200 3,505 3,360 96%
1.4 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) 12,815 6,556 4,390 67%
1.5 การเคหะแห่งชาติ 6,371 4,002 3,872 97%
1.6 การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 4,527 860 905 105%
ผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจสะสมถึงเดือนพฤษภาคม 2561(มกราคม 2561 – พฤษภาคม 2561)
รัฐวิสาหกิจ แผนลงทุนทั้งปี แผนเบิกจ่ายสะสม ผลเบิกจ่ายสะสม %เบิกจ่ายสะสม/แผนสะสม
2. ปีปฏิทิน จำนวน 11 แห่ง (5 เดือน) 337,761 63,796 87,883 138%
2.1 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 195,374 19,167 47,373 247%
2.2 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 58,040 16,504 15,724 95%
2.3 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค* 32,325 8,572 8,437 98%
2.4 การไฟฟ้านครหลวง 20,443 3,903 4,074 104%
2.5 บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)* 15,369 11,105 8,896 80%
2.6 บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 6,300 1,434 1,194 83%
2.7 บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) 5,264 1,532 1,109 72%
2.8 บริษัท ไปรษณีย์ จำกัด (มหาชน) 2,983 944 889 94%
2.9 รัฐวิสาหกิจแห่งอื่นๆ จำนวน 3 แห่ง 1,663 635 189 30%
รวม 45 แห่ง 482,481 133,947 150,724 113%
* รัฐวิสาหกิจที่อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงกรอบการเบิกจ่ายงบลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่มา: สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)
นายประภาศ คงเอียด ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวสรุปว่า การลงทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือ ที่สำคัญของรัฐบาลในการขับเคลื่อนนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้น สคร. ซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจได้นำกลไกต่างๆ มาใช้ในการติดตามและเร่งรัดการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ เช่น การรายงานภาพรวมข้อมูลการลงทุน การติดตามผลการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ รวมถึงการประสานและการจัดส่งข้อมูลดังกล่าว ให้กรรมการรัฐวิสาหกิจ กรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ และผู้บริหารสูงสุด ของรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ กลไกดังกล่าวสามารถช่วยให้รัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการได้ตามแผนการลงทุน อันจะช่วยผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศได้อย่างต่อเนื่อง
ข่าวเด่น