ข่าวประชาสัมพันธ์
NIDA Poll 'มาตรการป้องกันอุบัติภัยของไทย'


ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพลสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่องมาตรการป้องกันอุบัติภัยของไทยทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3 – 5 กรกฎาคม 2561 โดยสอบถามความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศกระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,268 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับมาตรการป้องกันอุบัติภัยของไทย การสำรวจอาศัย การสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของนิด้าโพลด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูล ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความน่าเชื่อถือของมาตรการป้องกันอุบัติภัยของไทย พบว่า ประชาชน ร้อยละ 8.28 ระบุว่า มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด ร้อยละ 66.40 ระบุว่า มีความน่าเชื่อถือมาก โดยผู้ที่ระบุว่า เชื่อถือมาก - มากที่สุด ได้ให้เหตุผลว่า มาตรการป้องกันอุบัติภัยของไทย มีประสิทธิภาพและมีมาตรฐาน รวดเร็ว สามารถให้ความช่วยเหลือได้ทันเวลา และมีจุดมุ่งหมายชัดเจน ร้อยละ 20.27 ระบุว่า ไม่มี ความน่าเชื่อถือ ร้อยละ 2.76 ระบุว่า ไม่มีความน่าเชื่อถือเลย โดยผู้ที่ระบุว่า ไม่น่าเชื่อถือ - ไม่เชื่อถือเลย ให้เหตุผลว่า มาตรการป้องกันอุบัติภัยของไทยยังไม่มีความรัดกุมเท่าที่ควร ไม่มีมาตรฐาน ยังขาดอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ และร้อยละ 2.29 ระบุว่า ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

 

 

ระดับความเร่งด่วนในการเพิ่มมาตรการความปลอดภัยตามแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 30.76 ระบุว่า เร่งด่วนที่สุด ร้อยละ 55.60 ระบุว่า เร่งด่วน โดยผู้ที่ระบุว่า เร่งด่วน - เร่งด่วนที่สุด ได้ให้เหตุผลว่า จะได้มีแนวทางการแก้ไข และป้องกันได้ทันเหตุการณ์ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน และสามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ร้อยละ 12.06 ระบุว่า ไม่เร่งด่วน ร้อยละ 0.79 ระบุว่า ไม่เร่งด่วนเลย โดยผู้ที่ระบุว่า ไม่เร่งด่วน - ไม่เร่งด่วนเลย ให้เหตุผลว่า กฎ ข้อบังคับมีอยู่แล้วแต่ไม่ปฏิบัติตาม ขณะที่บางส่วน ระบุว่า ยังมีวาระอื่น ที่ต้องแก้ไขเร่งด่วนกว่านี้ และร้อยละ 0.79 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

สำหรับประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเข้าช่วยเหลือเหตุอุบัติภัย พบว่า ประชาชน ร้อยละ 37.22 ระบุว่า มีประสิทธิภาพมากที่สุด ร้อยละ 57.18 ระบุว่า มีประสิทธิภาพมาก โดยผู้ที่ระบุว่า มีประสิทธิภาพมาก - มากที่สุด ได้ให้เหตุผลว่า ปฏิบัติงาน ได้ดี รวดเร็ว และเต็มความสามารถ เพราะเจ้าหน้าที่มีทักษะ ความรู้ ความสามารถเฉพาะอยู่แล้ว ร้อยละ 4.50 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 0.55 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย โดยผู้ที่ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพ - ไม่มีประสิทธิภาพเลย ให้เหตุผลว่า ไม่มีความพร้อม ล่าช้าในการปฏิบัติงาน ขาดเครื่องมืออุปกรณ์ที่ทันสมัย และร้อยละ 0.55 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงมาตรการป้องกันอุบัติภัยตามแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.68 ระบุว่า มีการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้การเอาตัวรอดเมื่อประสบภัย รองลงมา ร้อยละ 51.42 ระบุว่า เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยตามสถานที่ท่องเที่ยว ร้อยละ 49.84 ระบุว่า ติดป้ายเตือนอุบัติเหตุ/อุบัติภัย ร้อยละ 23.90 ระบุว่า จัดทีมสำรวจศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติเพื่อเก็บข้อมูลอย่างละเอียด ร้อยละ 23.42 ระบุว่า จัดทำแผนที่เส้นทางการท่องเที่ยว ร้อยละ 12.46 ระบุว่า จำกัดอายุนักท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ ร้อยละ 2.21 ระบุอื่น ได้แก่ มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และบทลงโทษที่ชัดเจน ปิดการให้บริการในช่วงที่อันตราย มีการติดตั้งระบบเตือนภัย มีอุปกรณ์ที่พร้อมใช้งานเมื่อเกิดอุบัติเหตุ/อุบัติภัย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าจะเชื่อและปฏิบัติตามหรือไม่ และร้อยละ 1.18 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 9.70 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 24.76 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.30 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.20 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.04 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 53.47 เป็นเพศชาย ร้อยละ 46.37 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.16 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 5.99 มีอายุไม่เกิน 25 ปี ร้อยละ 16.32 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 20.11 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 36.12 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 19.72 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.74 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 91.80 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.31 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.18 นับถือศาสนาคริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ ไม่นับถือศาสนาใด และร้อยละ 3.71 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 18.53 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 72.48 สมรสแล้ว ร้อยละ 5.05 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 3.94 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 29.57 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 28.79 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.92 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 25.47 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.15 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.10 ไม่ระบุการศึกษา



ตัวอย่างร้อยละ 11.36 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 13.09 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.43 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.93 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.51 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 17.27 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.52 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.24 เป็นพนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 4.65 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 14.12 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 25.08 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.29 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.60 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.60 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 11.59 ไม่ระบุรายได้

1. ท่านคิดว่ามาตรการป้องกันอุบัติภัยของไทยมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด

2. ท่านคิดว่าการเพิ่มมาตรการความปลอดภัยตามแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติควรจัดเป็นวาระเร่งด่วนมากน้อยเพียงใด

ระดับความเร่งด่วนในการเพิ่มมาตรการความปลอดภัยตามแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ร้อยละ

เร่งด่วนที่สุด 30.76

เร่งด่วน 55.60

ไม่เร่งด่วน 12.06

ไม่เร่งด่วนเลย 0.79

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 0.79

รวม 100.00

3. ในฐานะประชาชน ท่านคิดว่าการทำงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเข้าช่วยเหลือเหตุอุบัติภัยมีประสิทธิภาพหรือไม่

ประสิทธิภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเข้าช่วยเหลือเหตุอุบัติภัย ร้อยละ

มีประสิทธิภาพมากที่สุด 37.22

มีประสิทธิภาพมาก 57.18

ไม่มีประสิทธิภาพ 4.50

ไม่มีประสิทธิภาพเลย 0.55

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 0.55

รวม 100.00

4. ท่านอยากให้มีมาตรการป้องกันอุบัติภัยตามแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอย่างไรบ้าง

มาตรการป้องกันอุบัติภัยตามแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ร้อยละ

มีการประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้การเอาตัวรอดเมื่อประสบภัย 52.68

เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัยตามสถานที่ท่องเที่ยว 51.42

ติดป้ายเตือนอุบัติเหตุ/อุบัติภัย 49.84

จัดทีมสำรวจศึกษาสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติเพื่อเก็บข้อมูลอย่างละเอียด 23.90

จัดทำแผนที่เส้นทางการท่องเที่ยว 23.42

จำกัดอายุนักท่องเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติ 12.46

อื่น ได้แก่ มีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และบทลงโทษที่ชัดเจน ปิดการให้บริการในช่วงที่อันตราย มีการติดตั้งระบบเตือน

ภัย มีอุปกรณ์ที่พร้อมใช้งานเมื่อเกิดอุบัติเหตุ/อุบัติภัย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าจะเชื่อและปฏิบัติ

ตามหรือไม่ 2.21

ไม่ระบุ /ไม่แน่ใจ 1.18

ความน่าเชื่อถือของมาตรการป้องกันอุบัติภัยของไทย ร้อยละ

มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด 8.28

มีความน่าเชื่อถือมาก 66.40

ไม่มีความน่าเชื่อถือ 20.27

ไม่มีความน่าเชื่อถือเลย 2.76

ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ 2.29

รวม 100.00

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค

ภูมิภาค จำนวน ร้อยละ

กรุงเทพฯ 123 9.70

ปริมณฑลและภาคกลาง 314 24.76

ภาคเหนือ 232 18.30

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 421 33.20

ภาคใต้ 178 14.04

รวม 1,268 100.00

ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

เพศ จำนวน ร้อยละ

ชาย 678 53.47

หญิง 588 46.37

เพศทางเลือก 2 0.16

รวม 1,268 100.00

ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

อายุ จำนวน ร้อยละ

ไม่เกิน 25 ปี 76 5.99

26 – 35 ปี 207 16.32

36 – 45 ปี 255 20.11

46 – 59 ปี 458 36.12

60 ปีขึ้นไป 250 19.72

ไม่ระบุ 22 1.74

รวม 1,268 100.00

ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา

ศาสนา จำนวน ร้อยละ

พุทธ 1,164 91.80

อิสลาม 42 3.31

คริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด 15 1.18

ไม่ระบุ 47 3.71

รวม 1,268 100.00

ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส

สถานภาพการสมรส จำนวน ร้อยละ

โสด 235 18.53

สมรส 919 72.48

หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

64 5.05

ไม่ระบุ 50 3.94

รวม 1,268 100.00

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง (ต่อ)

ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา จำนวน ร้อยละ

ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า 375 29.57

มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า 365 28.79

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า 75 5.92

ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 323 25.47

สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 78 6.15

ไม่ระบุ 52 4.10

รวม 1,268 100.00

ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก

อาชีพหลัก จำนวน ร้อยละ

ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 144 11.36

พนักงานเอกชน 166 13.09

เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ 259 20.43

เกษตรกร/ประมง 202 15.93

รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน 184 14.51

พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน 219 17.27

นักเรียน/นักศึกษา 32 2.52

พนักงานองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร 3 0.24

ไม่ระบุ 59 4.65

รวม 1,268 100.00

ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

รายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน ร้อยละ

ไม่มีรายได้ 179 14.12

ไม่เกิน 10,000 318 25.08

10,001 – 20,000 308 24.29

20,001 – 30,000 136 10.72

30,001 – 40,000 71 5.60

40,001 ขึ้นไป 109 8.60

ไม่ระบุ 147 11.59

รวม 1,268 100.00


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 09 ก.ค. 2561 เวลา : 09:34:39
15-05-2025
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ May 15, 2025, 7:20 am