บลจ.ธนชาต คว้ารางวัล กองทุนยอดเยี่ยมแห่งปีประเภทกองทุนรวมตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ในงานประกาศรางวัล Money&Banking Awards 2018 จากผลตอบแทนย้อนหลังที่ดีอย่างต่อเนื่อง
นายบุญชัย เกียรติธนาวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท หลักทรัพย์จัดการกองทุน ธนชาต จำกัด เปิดเผยว่า กองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (T-NFRMF) ได้รับรางวัล กองทุนยอดเยี่ยมแห่งปี ประเภทกองทุนรวมตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นครั้งที่ 2 จากงานประกาศรางวัล Money & Banking Awards 2018 ที่จัดโดย วารสารการเงินธนาคาร ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานมอบรางวัล ณ โรงแรมดิ แอทธินี โฮเทล แบงค็อก
“แม้ว่าในระยะนี้จะเป็นช่วงที่ดอกเบี้ยมีทิศทางเป็นขาขึ้น แต่กองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (T-NFRMF) ก็ยังสามารถสร้างผลตอบแทนให้เป็นบวกได้ ตั้งแต่ต้นปีทำผลตอบแทนได้ 0.67% แต่ดัชนีมาตรฐานติดลบ -0.04% (ข้อมูล ณ 5 ก.ค. 61, บลจ.ธนชาต) ที่ผ่านมากองทุน T-NFRMF ได้รับรางวัลจากสถาบันจัดอันดับระดับโลกอย่างต่อเนื่อง โดยคว้ามาแล้วกว่า 11 รางวัล ไม่ว่าจะเป็นรางวัล Morningstar Fund Awards Thailand ประเภทกองทุนรวม ตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ ตั้งแต่ปี 2556-2561 จำนวน 7 รางวัล นอกจากนั้น ยังได้รับรางวัลกองทุนรวมตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพยอดเยี่ยม จากงาน Money & Wealth LTF & RMF (Tax-Savings Funds) Awards เมื่อปี 2552 และ 2555จำนวน 2 รางวัล ล่าสุดเพิ่งคว้ารางวัลจากงาน Money & Banking Awards ปี 2561 ซึ่งจัดโดยวารสารการเงินธนาคาร ซึ่งรางวัลนี้ T-NFRMF ยังเคยได้รับมาแล้วเมื่อปี 2559 จากผลการดำเนินงานที่สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนมาโดยตลอด”
จุดเด่นสำคัญที่ทำให้กองทุน T-NFRMF ประสบความสำเร็จทั้งในแง่ผลการดำเนินงานที่สม่ำเสมอ และการได้รับรางวัลอย่างต่อเนื่อง คือ 1. การใช้กลยุทธ์การบริหารกองทุนแบบเชิงรุก (Active Management) ติดตามแนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยไทยและต่างประเทศอย่างใกล้ชิด 2. ให้ความสำคัญกับการเลือกหุ้นกู้ภาคเอกชนที่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือสูง ทำให้ลดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ 3. กำหนดสัดส่วนการลงทุนอย่างเหมาะสม เพื่อลดความผันผวนของผลตอบแทน โดยเลือกตราสารที่มีสภาพคล่องในตลาดรองสูง ทำให้สามารถสร้างผลตอบแทนจากการซื้อขายทำกำไรได้ (Trading)
“สำหรับในปีนี้ บลจ ธนชาต คาดว่าจะเป็นปีที่การลงทุนในตราสารหนี้มีความท้าทายและผันผวนสูง เพราะเชื่อว่าธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีกประมาณ 1-2 ครั้ง หลังจากได้มีการประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้ว 2 ครั้ง ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา แต่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ยังคงดำเนินมาตรการ QEรวมทั้ง
ความเสี่ยงด้านสงครามการค้าของสหรัฐกับจีนที่ยังคงยืดเยื้อต่อไป ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจทั่วโลก ทำให้
อัตราผลตอบแทนในตลาดตราสารหนี้ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน ทำให้การปรับกลยุทธ์ต้องทำอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยน Portfolio Duration การจัดสรรสัดส่วนการลงทุนในตราสารแต่ละประเภท ต้องเตรียมการสำหรับความเสี่ยงจาก
ความผันผวนรอบใหญ่ในช่วงที่สหรัฐฯ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยที่ยังมีอยู่ ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ช่วงนี้ ผู้จัดการกองทุนได้ลด Duration port ลง เพื่อลดความผันผวนของกองทุน ในช่วงที่ผ่านมาและในอนาคต อย่างไรก็ตามหาก Bond Yield/Yield Curve ชันเกินไป ก็อาจเป็นจังหวะที่เหมาะสมในการขยาย duration ของพอร์ตลงทุนได้”
กองทุนเปิดธนชาตตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (T-NFRMF) มีผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีย้อนหลังตั้งแต่ต้นปี, 3 เดือน, 6 เดือน, 1 ปี, 3 ปี, 5 ปี, 10 ปี และตั้งแต่จัดตั้งกองทุนอยู่ที่ 0.67%, 0.05%, 0.6%, 1.82%, 2.18%, 2.9%, 3.07%,3.10% ตามลำดับ ในขณะที่ดัชนีมาตรฐานอยู่ที่ -0.04%, -0.5%, -0.16%, 2.3%, 3.32%, 3.55%, 3.73%, 3.06% ตามลำดับ (ข้อมูล ณ 5 ก.ค. 61, บลจ.ธนชาต)
ข้อมูล ณ 5 ก.ค. 61, บลจ.ธนชาต
(ตารางอยู่ในไฟล์แนบค่ะ)
*เอกสารวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมฉบับนี้ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมของสมาคมบริษัทจัดการกองทุน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมพร้อมขอรับหนังสือชี้ชวนได้ในวันและเวลาทำการเสนอขายที่ บลจ. ธนชาต โทรศัพท์ 0-2126-8399 กด 0 หรือ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) โทร. 1770 หรือผู้สนับสนุนการขาย หรือรับซื้อคืนหน่วยลงทุนที่ บลจ.ธนชาต แต่งตั้ง www.thanachartfund.com
คำเตือน
· ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
· ผลการดําเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดําเนินงานในอนาคต
· กองทุนป้องกันความเสี่ยงตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/
หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
· การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจได้รับเงินลงทุน
มากกว่าหรือน้อยกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้
· ติดต่อขอรับหนังสือชี้ชวนและคู่มือการลงทุน ได้ทุกวันทำการที่ บลจ.ธนชาต หรือผู้สนับสนุนการขายทุกราย
ข่าวเด่น