เศรษฐกิจ-บทวิจัยเศรษฐกิจ
อีไอซี ชี้โอกาสของผู้ส่งออกเหล็กไทยจากมาตรการโควตาภาษีของ EU


สหภาพยุโรป (EU) ได้ประกาศใช้มาตรการปกป้องการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กเป็นการชั่วคราว โดยเป็นผลสืบเนื่องจากความกังวลถึงปริมาณเหล็กจำนวนมากที่อาจทะลักเข้ามายังตลาด EU จากการเรียกเก็บภาษีนำเข้า (safeguard) ภายใต้มาตรา 232 ของสหรัฐฯ ที่มีผลมาตั้งแต่วันที่ 23 มี.. 2018 ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวของ EU จะอยู่ในรูปแบบของมาตรการโควตาภาษี (tariff quota) ที่ครอบคลุมการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กทั้งสิ้น 23 กลุ่ม1 และจะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 200วัน นับจากวันที่ 19 .. 2018 ที่ผ่านมา

 

 

 

 

1 ประกอบด้วย 1) Hot Rolled Coil/Sheet 2) Cold Rolled Coil/Sheet 3) Electrical Sheet 4) Metallic Coated Sheet 5) Organic Coated Sheet 6) Tin Mill product 7) Quarto plate 8) Stainless Hot Rolled Coil/Sheet 9) Stainless Cold Rolled Coil/Sheet 10) Merchant bars and light section 11) Rebars 12) Stainless bars 13) Stainless wire rod 14) Wire rod 15) Angles, shapes and sections 16) sheet piling 17) Gas pipes 18) Hollow sections 19) Seamless stainless tubes 20) Bearing tubes and pipes 21) Large welded tubes 22) Other welded pipes และ 23) Non allow wire

มาตรการโควตาภาษี (tariff quota) ของ EU มุ่งเน้นไปที่การป้องกันการนำเข้าเหล็กที่สูงเกินมากกว่าการลดปริมาณนำเข้าเหมือนอย่างกรณีของสหรัฐฯ โดยมาตรการ tariff quotaของ EU จะกำหนดปริมาณสูงสุดหรือโควตาในการนำเข้าเหล็กแต่ละผลิตภัณฑ์โดยไม่ต้องเสียภาษี (ประมาณ 55% จากปริมาณเหล็กแต่ละผลิตภัณฑ์ที่นำเข้ามายัง EUเฉลี่ยระหว่างปี 2015-2017) และหากมีการนำเข้าในปริมาณสูงกว่าที่โควตากำหนดจะต้องเสียภาษีในอัตรา 25% ของCIF ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการ safeguard ของสหรัฐฯ ที่ทำการเรียกเก็บภาษีการนำเข้าเหล็กตั้งแต่ตันแรก จะเห็นได้ว่ามาตรการ tariff quotaของ EU นั้นมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อป้องกันการทะลักเข้ามาของปริมาณเหล็กที่สูงเกินผิดปกติ

อีไอซีคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะส่งผลบวกต่อการส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กของไทยสู่ตลาด EU เนื่องจากไทยมีรายชื่ออยู่ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาซึ่งได้รับการยกเว้นจากมาตรการ tariff quotaทั้งนี้ อีไอซีประเมินว่าแผ่นเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมชนิดรีดเย็น (HS: 7219.33)และลวดเหล็ก (HS: 7217) จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการไทยจะได้รับประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว เนื่องจากเหล็กทั้ง 2 ประเภทเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ประกอบการไทยมีการทำตลาดใน EU อยู่ก่อนแล้ว และเป็นผลิตภัณฑ์ที่EU ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากเกาหลีใต้ สหรัฐฯ แคนาดา จีน และอินเดีย เป็นหลัก ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นประเทศที่จะไม่ได้รับการยกเว้นจากมาตรการtariff quota

ในทางกลับกัน อีไอซีประเมินว่าผลิตภัณฑ์เหล็กจากประเทศต่างๆ ที่ไม่สามารถนำเข้าไปทำตลาดใน EU ได้นั้นมีโอกาสที่จะถูกส่งออกเข้ามายังไทย โดยเฉพาะเหล็กแผ่นชุบหรือเคลือบสังกะสี (HS: 7210.49) จากจีน และเหล็กแผ่นรีดเย็น (HS: 7209)จากอินเดีย ที่ในปัจจุบัน ไทยไม่มีมาตรการป้องกันทางการค้ากับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ขณะที่เหล็กแผ่นรีดร้อน (HS: 7208) เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ EUนำเข้าจากอินเดียและเกาหลีใต้สูงกว่าปีละ 2.6 ล้านตัน แต่        อีไอซีคาดว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะไม่ถูกนำเข้ามาไทยในปริมาณมากนักเนื่องจากไทยมีใช้ safeguard อยู่แล้วในปัจจุบัน

อีไอซีแนะผู้ผลิตแผ่นเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมชนิดรีดเย็น (HS: 7219.33) และลวดเหล็ก (HS: 7217) ไทยควรพิจารณาการขยายตลาดส่งออกไปยัง EU โดยเฉพาะการส่งออกไปยังอิตาลี เบลเยียม และโปแลนด์ เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่มีการขยายตัวของการนำเข้าแผ่นเหล็กกล้าไม่เป็นสนิมชนิดรีดเย็น และลวดเหล็กอย่างต่อเนื่องกว่าปีละ 6% และ 4% ในช่วงระยะเวลา 5 ปีหลังสุด นอกจากนี้ ทั้ง 3ประเทศยังพึ่งพาการนำเข้าจาก สหรัฐฯ เกาหลีใต้ อินเดีย และจีน เป็นหลัก ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการ tariff quota ดังนั้น   จึงถือเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทยที่จะขยายตลาดส่งออกเหล็กไปยังกลุ่มประเทศดังกล่าว 


LastUpdate 20/07/2561 17:53:10 โดย : Admin
28-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 28, 2024, 8:51 pm