อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอมฯ โชว์ศักยภาพ NMC ด้วยบริการล้ำสมัย เชื่อมโยงธุรกิจ ครอบคลุมการดูแลทุกพื้นที่กว่า 75 จังหวัด เพื่อการเชื่อมต่อและระบบจัดการเครือข่ายที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ช่วยให้ธุรกิจดำเนินได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง 365 วัน และมั่นใจยิ่งขึ้นด้วยทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์ให้ลูกค้าใช้งานได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด
นายณัฐนัย อนันตรัมพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) หรือ ITEL เปิดเผยถึงศักยภาพของบริษัทว่า ปัจจุบัน ITEL มีศูนย์ปฏิบัติการ Network Management Center หรือ NMC ที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยบริการล้ำสมัยครอบคลุมการดูแลลูกค้าทุกพื้นที่กว่า 75 จังหวัด เพื่อการเชื่อมต่อและระบบจัดการเครือข่ายที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ช่วยให้ทุกการดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นใจยิ่งขึ้นด้วยทีมงานวิศวกรผู้เชี่ยวชาญมากประสบการณ์จาก บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอม จำกัด (มหาชน) ให้ทุกการติดต่อสื่อสารกับทางศูนย์บริการลูกค้าเป็นไปอย่างราบรื่น พร้อมรองรับเทคโนโลยีการให้บริการที่ทันสมัย ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ได้สะดวก รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ
“ศูนย์ปฏิบัติการแห่งนี้มีหน้าที่ความรับผิดชอบหลักคือการดูแลคุณภาพวงจรของลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง โดยทาง NMC จะเป็นผู้ดูแลวงจรตั้งแต่เริ่มมีการส่งมอบบริการให้กับลูกค้า เฝ้าระวังก่อนเกิดเหตุเสียขึ้นกับวงจร อีกทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาเบื้องต้น ก่อนที่จะประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการแก้ไข รวมถึงคอยตรวจสอบการใช้งานการเชื่อมต่อต่างๆที่เราสร้างไว้ให้กับลูกค้าว่ามีความถูกต้องตามต้องการหรือไม่ และนำเสนอแนวทางการปรับปรุงโครงข่ายให้มีคุณภาพดีเสมอ ทำให้อินเตอร์ลิ้งค์ เทเลคอมสามารถรับประกัน SLA ให้กับลูกค้าที่ 99.99% ได้ ” นายณัฐนัย กล่าว
หัวใจสำคัญของศูนย์ปฏิบัติการ Network Management Center หรือ NMC คือ การให้บริการลูกค้าของเราด้วยการดูแลบำรุงรักษาระบบตลอดเวลา แม้จะไม่เกิดปัญหาขึ้นก็ตาม ITEL จะมีทีมงานคอยตรวจตราระบบและโครงข่ายของลูกค้าให้มีความเสถียรภาพและปลอดภัยอยู่ตลอดเวลา โดยงานหลักๆ จะเป็นการ Monitor เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นกับโครงข่ายและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้งานอยู่ในเครือข่าย ซึ่งการ Monitor จะมี 2 รูปแบบในการตรวจตรา คือ 1. ดูสถานะที่เป็นปัจจุบัน เช่น ดูกราฟการใช้งานแบนด์วิดท์โครงข่าย, ดูสถานะความพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ (Up หรือ Down) และ 2. ดูสถานะเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น ทำการกำหนดเกณฑ์เฝ้าระวังทำการแจ้งเตือนก่อนเหตุเสีย เมื่อ ตรวจสอบพบสิ่งผิดปกติก็จะทำแก้ไขทันที ก่อนที่จะเกิดผลกระทบต่อการให้บริการโครงข่าย และยังมีทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญคอยประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับรู้ถึงการปรับปรุงและแก้ไขในหน่วยงานที่เกิดขึ้นทั้งปัจจุบันและอนาคต ว่ามีผลกระทบต่อการให้บริการของลูกค้าหรือไม่ เพื่อที่จะคอยป้องกันและรักษาสภาพการใช้งานให้ลูกค้าตลอดเวลาอย่างไม่มีสะดุด
ข่าวเด่น