เอไอเอส ปักธง ผู้นำนวัตกรรมเครือข่าย IoT เพื่อการพัฒนาประเทศ ก้าวล้ำไปอีกขั้น ประกาศเปิดตัวเครือข่ายอัจฉริยะ eMTC หรือ enhanced Machine-Type Communication ครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นรายแรกของไทย โดยพร้อมให้บริการทันที (Live Network) หลังจากที่เดือนพฤษภาคม 2561 เอไอเอสได้เปิดให้บริการเครือข่าย NB-IoT หรือNarrow Band Internet of Thing ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ เป็นรายแรกของไทย และเป็นเพียงรายเดียวที่ได้ให้บริการเชิงพาณิชย์แบบครบวงจรแล้ว กับองค์กรภาคเอกชนและภาครัฐ รวมถึงมหาวิทยาลัยและหน่วยงานวิจัยด้าน IoT แล้ว อาทิ บริษัท ปตท., พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค, โครตรอน กรุ๊ป (Krotron), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นต้น
โดยเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2561 ที่ผ่านมา GSMA สมาคมผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมที่มีสมาชิกมากกว่า 800 รายทั่วโลก ประกาศรับรองให้ เอไอเอส เป็นผู้ให้บริการ ที่มีทั้งโครงข่าย eMTC และ NB-IoT ครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นรายแรกและรายเดียวในไทย
จุดเด่นของเครือข่าย eMTC หรือ enhanced Machine-Type Communication ของเอไอเอส อาทิ
1. สามารถรับ/ส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนที่ได้ เช่น Connected Car, Tracking,
2. สามารถรับ/ส่ง ข้อความเสียง สำหรับอุปกรณ์ IoT รูปแบบใหม่ๆ ในอนาคต
3. สามารถรับ/ส่งข้อมูลขนาดใหญ่กว่าเครือข่าย NB-IoT
4. ใช้พลังงานต่ำ เมื่อเทียบกับการส่งข้อมูลด้วย 4g หรือ 3g
จุดเด่นเครือข่าย Narrow Band IoT ของเอไอเอส อาทิ
1. สนับสนุนการใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำ จึงช่วยทำให้อายุการใช้งานแบตเตอรี่ของอุปกรณ์ IoTอยู่ได้นานถึง 10 ปี
2. สามารถรองรับปริมาณอุปกรณ์ IoT ได้สูงสุดในระดับแสนตัวต่อสถานีฐาน
3. รัศมีครอบคลุมของเครือข่ายต่อสถานีฐาน กระจายได้มากกว่า 10 ก.ม. รวมถึงในตัวอาคารก็ยังรับสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. สามารถพัฒนาเครือข่ายให้เปิดบริการ IoT ได้อย่างรวดเร็ว เพราะออกแบบอุปกรณ์ให้ใช้ร่วมกับ โครงข่าย 4G ในปัจจุบันได้
นายเกรียงศักดิ์ วาณิชย์นที หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านเทคโนโลยี เอไอเอส กล่าวว่า “การขยายเครือข่าย eMTC ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ถือว่าสำเร็จลุล่วงตามแผนงานที่เราได้ประกาศไว้ว่าจะเร่งขยายเครือข่ายให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ การมีเครือข่าย eMTC จะช่วยเพิ่มศักยภาพและความแข็งแกร่งในการให้บริการ IoT ไปอีกขั้น เนื่องด้วย eMTC สามารถใช้ควบคู่กับ NB-IoT ได้ และมีคุณสมบัติมาเสริมซึ่งกันและกัน อาทิ eMTC เหมาะกับการใช้งาน IoT แบบเคลื่อนที่ เช่น Connected Car รวมถึงสามารถรับ/ส่ง ข้อความเสียงในอุปกรณ์ IoT ยุคใหม่ๆได้อีกด้วย ในขณะที่ NB-IoT จะเน้นเรื่องการประหยัดพลังงานของอุปกรณ์และสามารถสื่อสารได้ในระยะไกล
ขณะนี้เรากำลังทำงานร่วมกับภาครัฐ และ เอกชน รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อทยอยนำ IoT เข้าไปเริ่มใช้งานจริงอย่างต่อเนื่อง โดยมีทีมงานคุณภาพของเอไอเอสที่สามารถผสมผสาน ออกแบบ พัฒนารูปแบบบริการที่ตอบโจทย์ สร้างประโยชน์ให้แก่องค์กรได้อย่างแท้จริง ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของชาวเอไอเอส ที่สามารถร่วมผลักดันเทคโนโลยีนี้ให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม จนได้รับการยอมรับจาก ฟรอสต์ แอนด์ ซัลลิแวน องค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ที่ประกาศให้เอไอเอส เป็น Thailand IoT Solutions Provider of the Year 2018 หรือ องค์กรที่มีความเป็นเลิศทางด้านบริการ IoT”
นับเป็นอีกก้าวแห่งความสำเร็จครั้งใหญ่ของประเทศไทยที่มีโครงข่าย IoT ทั้ง 2 ระบบ ที่พร้อมรองรับต่อการพัฒนาและการประยุกต์ใช้งานจริง ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของเอไอเอส ในฐานะผู้นำนวัตกรรมเครือข่ายระบบสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศที่ไม่เคยหยุดพัฒนา ด้วยเจตนารมย์ที่ต้องการสร้างโครงข่าย พร้อมรองรับต่อการพัฒนาประเทศในทุกๆ ด้าน เพื่อสอดรับนโยบาย Thailand 4.0 โดยโครงข่าย IoT ถือเป็นโครงข่ายหลักที่สำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะมาสนับสนุนการบริหารจัดการของอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ เพื่อให้คนไทยทุกกลุ่มได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย เอไอเอสเดินหน้าสนับสนุน IoT Ecosystem ทุกภาคส่วนอย่างต่อเนื่อง โดยสร้างความพร้อมด้านเครือข่ายทั้งeMTC และ NB-IoT ที่รองรับบริการ IoT รูปแบบใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อจุดประกายการนำเทคโนโลยี IoT เข้าถึงระดับผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งสามารถตอบโจทย์การสร้างสรรค์ และต่อยอดบริการในระดับอุตสาหกรรม และผลักดันประเทศไทยก้าวสู่สังคม Smart City ในยุค 5G อย่างเป็นรูปธรรม
สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.gsma.com/iot/deployment-map/#deployments
ข่าวเด่น