ไอที
อนาคตประเทศไทย พัฒนายั่งยืน Digital Transformation Program


ศักยภาพกำลังคนภาครัฐเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาประเทศสู่ดิจิทัลอย่างยั่งยืน การอบรมกำลังคนภาครัฐให้มีทักษะด้านดิจิทัลที่เหมาะสม สามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญในการเปลี่ยนผ่านสู่รัฐบาลดิจิทัล ตามที่ได้รับมอบหมายจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงเกิดขึ้นภายใต้โปรแกรม Digital Transformation Program

 

 

 

 

วันนี้ แม่ทัพสำคัญอย่าง ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA ให้แนวคิดที่น่าสนใจถึงเส้นทางจากอดีตที่ผ่านมาว่า โครงสร้างการทำงานที่ชัดเจนอันเป็นประโยชน์ต่อภาคสังคมโดยรวมในโลกแห่งรัฐบาลดิจิทัลนั้น จากตัวอย่างของรัฐบาลออสเตรเลียที่ได้จัดตั้งหน่วยงานที่ชื่อว่าDigital Transformation Agency ขึ้นตรงกับสำนักนายก เพื่อเป็นการเปลี่ยนโฉมการทำบริการดิจิทัลในแบบใหม่ มุ่งเน้นที่ผู้ใช้เป็นสำคัญ หนึ่งในโครงการของหน่วยงานนี้ คือ โครงการพัฒนาบริการดิจิทัลในรูปแบบใหม่ที่เอาแนวความคิดที่บริษัทที่เกี่ยวข้องกับสตาร์ตอัปต่าง เอามาใช้ โดยเรียกแนวทางเหล่านี้นี้ว่า Government as a Startup

 

Startup (สตาร์ตอัปต่าง หรือ แตกต่างจากที่หน่วยงานรัฐอย่างไรกล่าวคือ การพัฒนาบริการในยุคดิจิทัลต้องเอาความต้องการผู้ใช้เป็นหลัก ภาครัฐมักจะเอากฎ ระเบียบ เป็นที่ตั้ง ซึ่งทำให้รูปแบบบริการดิจิทัล เป็นเพียงแค่เปลี่ยนจากวิธีการใช้กระดาษมาเป็นการกรอกแบบฟอร์มออนไลน์ ไม่ค่อยได้คำนึงถึงความสามารถของระบบดิจิทัลว่าสามารถทำอะไรได้เยอะกว่านี้ โดยเฉพาะส่วนที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ (User Interface) ที่ยุคนี้ได้พัฒนาการไปเป็นรูปแบบที่เรียกว่า User Experience

 

 

Startup (สตาร์ตอัป) ได้เปลี่ยนวิธีในการพัฒนา คือ ไม่จำเป็นต้องทำให้เสร็จในคราวเดียว แล้วค่อยเริ่มเปิดให้บริการ แต่ค่อย เปิดบริการในแบบเป็นเวอร์ชั่น โดยที่เวอร์ชั่นแรก อาจจะไม่ต้องครบถ้วนสมบูรณ์ โดยจุดมุ่งหมายคือการทดลองการออกแบบในลักษณะต่างๆ เพื่อรองรับความต้องการของผู้ใช้หรือผู้บริโภค มีการตรวจสอบ ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง สามารถใส่ในเวอร์ชั่นต่อไป การทำแบบนี้ คือ การทำใส่หลักการของการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในที่สุดเราก็จะได้บริการที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้จริง

ดร.ศักดิ์ เสกขุนทด ให้แนวคิดในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน ก้าวแห่งอนาคตว่าภาครัฐต้องเริ่มจากการเปลี่ยนวิธีการพัฒนาไปอย่างสิ้นเชิง จากการที่เริ่มจากเขียนขั้นตอนของระบบ โดยไม่มีขั้นตอนของการระดมสมองของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เริ่มจากการทำประชุมเชิงปฏิบัติการของทุกฝ่าย ออกแบบต้นแบบบริการที่เขียนออกมาในกระดาษ ผ่านกระบวนการกลั่นกรอง สู่กระบวนการ ทดลองการใช้งาน ปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของการรูปแบบของบริการอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งได้ต้นแบบที่พอเพียงที่จะพัฒนาเป็นเวอร์ชั่นแรก หรือ ขั้นตอนแรก จากนั้นจึงค่อยพัฒนาออกมาเป็นบริการดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบ

วันนี้ ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีว่าที่สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐ (Thailand Digital Government Academy: TDGA) ภายใต้สำนักงานพัฒนาดิจิทัล (องค์การมหาชน) หรือ DGA ที่ได้มีการนำร่องการพัฒนาในแบบนี้ในภาครัฐไทยแล้ว ภายใต้โครงการ Digital Transformation Program ซึ่งเป็นโปรแกรมการอบรมเชิงปฏิบัติการที่นำโจทย์จากการบริการจริงมาร่วมปฏิบัติการค้นหาความต้องการของผู้บริโภค ร่วมกันคิดค้นคำตอบและร่วมทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายจริง โดยอาศัยกระบวนการเปลี่ยนผ่านภาครัฐ มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ (Outcome-driven Transformation)ที่มีการปรับเปลี่ยนองค์กรแบบครบวงจร (End to-end Transformation) โดยใช้หลักการของ Service Design และ Agile Development โดยริ่มนำร่องกับ หน่วยงาน ดังนี้ กรมสรรพากร กรมการจัดหางาน กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานหลักประกันสุขภาพ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน : การอนุมัติให้การส่งเสริมแบบอัตโนมัติ

โดยหวังว่าจะสามารถนำไปสู่มาตรฐานการให้บริการดิจิทัลภาครัฐที่นำหลักการที่สตาร์ตอัปใช้กันมาประยุกต์ใช้กับบริบทของภาครัฐเพื่อจะนำไปสู่บริการดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์กลับสู่ภาคประชาชนอย่างแท้จริง


บันทึกโดย : Adminวันที่ : 30 ส.ค. 2561 เวลา : 12:12:02
27-11-2024
Feed Facebook Twitter More...

อัพเดทล่าสุดเมื่อ November 27, 2024, 1:21 am